งานวิจัย ของ ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีส่วนงานที่มีวัตถุประสงค์หลักในการก่อตั้งเพื่อเป็นสถาบันวิจัยในศาสตร์สาขาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

หน่วยงานที่สนับสนุนการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ อีก ได้แก่ ศูนย์บริการวิชาการ (Unisearch)[99] มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยนำผลการศึกษาวิจัยออกสู่สังคมและหน่วยงานนอกมหาวิทยาลัย ส่วนหน่วยงานสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผลงานศึกษาวิจัยได้พัฒนาและนำไปสู่การจดสิทธิบัตรประเภทต่าง ๆ นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังสนับสนุนทุนสำหรับการสร้างหน่วยปฏิบัติการวิจัย (RU) และศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (CE) ปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีหน่วยปฏิบัติการวิจัยมากกว่า 100 หน่วย และมีศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางทั้งในระดับชาติและมหาวิทยาลัยมากกว่า 20 ศูนย์[100]

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กำหนดให้มีกลุ่มวิจัยหลักซึ่งเป็นการรวมศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางและนักวิชาการที่มีเฉพาะเรื่องเข้ามาบูรณาการให้เป็นการวิจัยแบบสหศาสตร์ รวมทั้ง เน้นการบริหารจัดการการวิจัยที่เป็นองค์รวม มีการติดตามและประเมินผลแบบอัตโนมัติ[100] โดยแบ่งออกเป็น 10 กลุ่มวิจัยหลัก[101] ได้แก่

  • กลุ่มวิจัยด้านพลังงาน
  • กลุ่มวิจัยด้านอาหารและน้ำ
  • กลุ่มวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • กลุ่มวิจัยด้านสุขภาพ
  • กลุ่มวิจัยด้านสังคมผู้สูงวัย

  • กลุ่มวิจัยวัสดุขั้นสูง
  • กลุ่มวิจัยความมั่นคงมนุษย์
  • กลุ่มวิจัยด้านพัฒนาสังคม
  • กลุ่มวิจัยด้านอาเซียนศึกษา
  • กลุ่มวิจัยด้านการจัดการภัยพิบัติ

ปี พ.ศ 2559 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทยจากการจัดอันดับของ Nature Index ซึ่งจัดโดยวารสารในเครือ Nature Publishing Group ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงชั้นนำของโลก[102]

ใน พ.ศ. 2558 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติในฐานข้อมูล Web of Science ของสถาบัน ISI บริษัท Thomson Reuters จำนวน 1,567 เรื่อง[103] และผลงานตีพิมพ์ฐานข้อมูล Scopus ของบริษัท Elsevier B.V. จำนวน 1988 เรื่อง[104]

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยระดับนานาชาติของประเทศไทยในหลายด้าน เช่น องค์การอนามัยโลก เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN) และ สมาคมสถาบันการศึกษาชั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL)[105]

ศูนย์ความร่วมมือขององค์การอนามัยโลกที่ตั้งอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีดังนี้

ใกล้เคียง

ศูนย์ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกในประเทศไทย ศูนย์การค้า ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์การบินทหารบก