การเมือง ของ สตรีในประเทศไทย

ถึงแม้ว่าจะไม่มีข้อจำกัดทางกฎหมาย ก็ยังมีปัจจัยอีกหลายประการที่ทำให้ผู้หญิงไม่สามารถมีบทบาททางการเมืองได้อย่างเต็มที่ ซึ่งได้แก่ การกีดขวางทางโครงสร้าง อุปสรรคทางวัฒนธรรม รวมทั้งมีคุณวุฒิ สถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจที่ต่ำกว่า[4][5] วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2492 อรพินท์ ไชยกาล (ภรรยาเลียง ไชยกาล อดีตรัฐมนตรีและสมาชิสภาผู้แทนราษฎร) เป็นสตรีไทยคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งเข้าไปทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร[2]ในรัฐสภาไทย[3] ต่อมาวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี[6] ซึ่ง เลอศักดิ์ สมบัติศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ วิมลศิริ ชำนาญเวช รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย เป็นสตรีไทยสองคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม แม้เวลาจะล่วงมาถึงพุทธทศวรรษ 2540 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นหญิงยังมีไม่ถึงร้อยละ 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด[7] โดยเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28 อย่างเป็นทางการ ซึ่งนับว่าเป็นสตรีไทยคนแรก ที่ขึ้นดำรงตำแหน่งประมุขฝ่ายบริหารของไทย

ใกล้เคียง

สตรีในประเทศไทย สตรีในประเทศญี่ปุ่น สตรีในประเทศอาร์มีเนีย สตรีในประเทศอัฟกานิสถาน สตรีในประเทศยูเครน สตรีในประเทศออสเตรเลีย สตรีในประเทศสิงคโปร์ สตรีใส่เสื้อสีน้ำเงินยืนอ่านจดหมาย สตรีศักดิ์สิทธิ์อิทธิฤทธิ์สารพัดอย่าง สตรีทไฟเตอร์ V

แหล่งที่มา

WikiPedia: สตรีในประเทศไทย http://www.nytimes.com/2007/08/12/world/asia/12iht... http://news.sanook.com/908128-100-%E0%B8%9B%E0%B8%... http://www.l3nr.org/posts/257327 http://www.onlinewomeninpolitics.org/womensit/thai... http://www.lu.se/images/Syd_och_sydostasienstudier... http://home.kku.ac.th/dararat/files/womenponsawada... http://service.nso.go.th/nso/data/02/02_5_files/tw... http://web.nso.go.th/eng/en/stat/gender/gender00.h... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2519/A/... http://www.tdri.or.th/library/quarterly/text/d98_2...