บทบาทและสถานภาพของสตรีในประวัติศาสตร์ ของ สตรีในประเทศไทย

ภาพวาดวีรกรรมสมเด็จพระศรีสุริโยทัย (โดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์)

สังคมไทยในอดีตเป็นแบบ "ผัวเดียวหลายเมีย" หมายความว่า ชายมีสถานะเหนือหญิงในทุกด้าน[7] ในสมัยสุโขทัย ตำหนิชายที่มีชู้กับภรรยาคนอื่น แต่ไม่ห้ามชายมีภรรยาหลายคน ต่อมา ในสมัยอยุธยา กฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ. 1904 ยังได้แบ่งภรรยาออกเป็น 3 ประเภท และชายจะมีภรรยากี่คนก็ได้ ทั้งยังมีภาษิตที่ว่า "ผู้หญิงเป็นควาย ผู้ชายเป็นคน"[9] ซึ่งต่อมารัชกาลที่ 4 ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าไม่ยุติธรรม ให้ยกเสีย เนื่องจากกรณีถวายฎีกาของอำแดงเหมือน จนกระทั่ง พ.ศ. 2478 จึงมีกฎหมายให้ชายมีภรรยาได้เพียงคนเดียว[7]

โสเภณีในประวัติศาสตร์มีมาแต่สมัยใดไม่ทราบได้ แต่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีการตั้งโรงหญิงนครโสเภณีเป็นการผูกขาด และเก็บอากรโสเภณี อยู่ในย่านที่เรียกว่า "สำเพ็ง" (ต่อมาเมื่อเข้าสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็เรียกย่านโสเภณีว่าสำเพ็งเหมือนกัน) ในสมัยรัชกาลที่ 4 อากรโรงโสเภณีเก็บได้ปีละ 50,000 บาท ในสมัยนั้นมีหญิงลักลอบค้าประเวณีกันทำให้อาณาจักรขาดรายได้ จึงออกประกาศ "ห้ามอย่าให้ไทย มอญ ลาว ลักลอบไปซ่องเสพเมถุนธรรมด้วย แขก ฝรั่ง อังกฤษ คุลา มลายู" หากจับได้มีโทษประหารชีวิต บรรดาญาติพี่น้องก็ถูกลงโทษหนักเบาด้วยเพราะไม่ตักเตือน[10]:213–4

สำหรับบทบาทด้านการเมือง สตรีสมัยอยุธยามีบทบาททางการเมืองอยู่ไม่มากก็น้อย ซึ่งพงศาวดารอยุธยาเน้นว่าการเข้าสู่อำนาจของหญิงนำมาซึ่งความเสื่อมเสียและความยุ่งยาก ดังเช่นกรณีท้าวศรีสุดาจันทร์[7] ในกฎหมายอยุธยา หญิงเป็นสมบัติของชายเสมอ เริ่มจากเป็นสมบัติของบิดา แล้วเป็นสมบัติของสามี และเป็นสมบัติของเจ้าของ (กรณีตกเป็นทาส) นอกจากนี้ ยังมีตำนานว่า สมเด็จพระศรีสุริโยทัยและท้าวสุรนารีเป็นวีรสตรีผู้สร้างวีรกรรมในประวัติศาสตร์

หญิงเริ่มมีบทบาททางเศรษฐกิจและสังคมยิ่งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยหญิงได้เป็นกำนันตลาดหรือนายอากรตลาดในรัชกาลที่ 2 มีผลงานสร้างสรรค์บทกวี และบางคนได้เรียนหนังสือ[7] พระราชบัญญัติเรื่อง "ผัวขายเมีย บิดามารดาขายบุตร พ.ศ. 2410" ห้ามไม่ให้สามีขายภรรยาหากภรรยาไม่ยินยอม หลังจากนั้นก็มีการเรียกร้องสิทธิสตรีขึ้น มีหนังสือพิมพ์สตรีเกิดขึ้นหลายฉบับ[7]

สถานภาพของหญิงในสังคมดีขึ้นเป็นลำดับโดยเฉพาะหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 รัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกได้ให้สิทธิแก่ชายและหญิงในการเลือกตั้ง หญิงได้รับเลือกเป็นผู้ปกครองส่วนท้องถิ่นครั้งแรกใน พ.ศ. 2478[7] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513[11] จำนวนสตรีในประเทศไทยที่แต่งงานกับชาวต่างชาติมีมากขึ้นเนื่องจากสตรีในประเทศไทยมีความต้องการได้สัญชาติของคนต่างชาติ

พ.ศ. 2525 มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเปิดโอกาสให้หญิงเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านได้

สตรีมีบทบาทในทางเศรษฐกิจค่อนข้างมาก โดยอัตราการมีงานทำของสตรีอยู่ที่ร้อยละ 44.1 ใน พ.ศ. 2547 ทำงานในภาคเกษตรกรรมสูงสุด (ร้อยละ 40.4) ตามมาด้วยภาคบริการและอุตสาหกรรม (ร้อยละ 40.2 และ 19.5 ตามลำดับ)[12] สถิติสตรีเป็นนายจ้าง ลูกจ้าง และประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้างเพิ่มขึ้น และช่วยเศรษฐกิจในครัวเรือนโดยไม่ได้รับค่าจ้างลดลง[12] สตรีมีการศึกษาระดับอุดมศึกษาสูงกว่าชาย สตรียังมีสถิติทำงานในแวดวงราชการสูงกว่าชายโดยอยู่ที่ร้อยละ 60.1[12]

ใกล้เคียง

สตรีในประเทศไทย สตรีในประเทศญี่ปุ่น สตรีในประเทศอาร์มีเนีย สตรีในประเทศอัฟกานิสถาน สตรีในประเทศยูเครน สตรีในประเทศออสเตรเลีย สตรีในประเทศสิงคโปร์ สตรีใส่เสื้อสีน้ำเงินยืนอ่านจดหมาย สตรีศักดิ์สิทธิ์อิทธิฤทธิ์สารพัดอย่าง สตรีทไฟเตอร์ V

แหล่งที่มา

WikiPedia: สตรีในประเทศไทย http://www.nytimes.com/2007/08/12/world/asia/12iht... http://news.sanook.com/908128-100-%E0%B8%9B%E0%B8%... http://www.l3nr.org/posts/257327 http://www.onlinewomeninpolitics.org/womensit/thai... http://www.lu.se/images/Syd_och_sydostasienstudier... http://home.kku.ac.th/dararat/files/womenponsawada... http://service.nso.go.th/nso/data/02/02_5_files/tw... http://web.nso.go.th/eng/en/stat/gender/gender00.h... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2519/A/... http://www.tdri.or.th/library/quarterly/text/d98_2...