รูปแบบสถานี ของ สถานีกลางบางซื่อ

สถานีกลางบางซื่อ ออกแบบให้เป็นอาคารผู้โดยสารขนาดใหญ่ ความสูง 4 ชั้น พื้นที่รวม 274,192 ตารางเมตร มีชานชาลาทั้งหมด 12 เกาะ 24 ชานชาลา ความยาว 596.6 เมตร รองรับขบวนรถไฟและรถไฟฟ้าได้พร้อมกันถึง 26-40 ขบวนในคราวเดียว ตัวอาคารแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วนหลัก ๆ ได้แก่ส่วนบริการผู้โดยสารซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของสถานี ส่วนบริการรถไฟซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของสถานี

ส่วนบริการผู้โดยสารจะมีพื้นที่ทั้งหมด 4 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นใต้ดิน เป็นลานจอดรถ 1,100 คัน รองรับการจอดรถทั้งระยะสั้นและระยะยาว ชั้น 1 เป็นโถงต้อนรับผู้โดยสารทั้งขาขึ้นและขาล่อง ในชั้นนี้ยังมีจุดจำหน่ายบัตรโดยสารของขบวนรถทางไกลให้บริการ และยังมีศูนย์อาหารพื้นที่ 7,740 ตารางเมตร และร้านค้าให้บริการ ชั้น 2 เป็นพื้นที่ร้านค้า และจุดบริการผู้โดยสาร โดยมีทางเชื่อมระหว่างอาคารโถงหลัก กับอาคารโถงรองให้สามารถเดินข้ามฝั่งกันได้ และชั้น 3 เป็นพื้นที่รองรับแขกวีไอพี และยังเป็นสำนักงานให้เช่าของผู้ให้บริการรถไฟฟ้าความเร็วสูง รวมถึงเป็นสำนักงานและศูนย์ควบคุมการเดินรถของสายสีแดง สำนักงานย่อยของการรถไฟแห่งประเทศไทย และสำนักงานของผู้ดูแลและบริหารสถานี

ส่วนบริการรถไฟจะมีพื้นที่ทั้งหมด 4 ชั้นเช่นกัน ประกอบไปด้วยชั้นใต้ดิน เป็นพื้นที่เชื่อมต่อกับสถานีบางซื่อ ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ชั้น 1 เป็นพื้นที่จำหน่ายบัตรโดยสารและพื้นที่ตรวจบัตรโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีแดง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และรถไฟฟ้าความเร็วสูง รวมถึงยังเป็นโถงพักคอยของผู้โดยสารทุกระบบ และมีจุดจำหน่ายบัตรโดยสารของขบวนรถทางไกลให้บริการ ชั้น 2 เป็นชั้นชานชาลาของรถไฟทางกว้าง 1 เมตร ประกอบไปด้วยชานชาลาของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง 2 เกาะ 4 ชานชาลา ซึ่งแยกทางขึ้นต่างหากจากรถไฟทางไกล และชานชาลาของขบวนรถไฟทางไกล 4 เกาะ 8 ชานชาลา ซึ่งสามารถขึ้นได้จากบริเวณโถงพักคอยผู้โดยสารรถทางไกล ที่อยู่ทางทิศเหนือของสถานี ชั้น 3 เป็นชั้นชานชาลาของรถไฟทางกว้าง 1.435 เมตร ประกอบไปด้วยชานชาลาของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 1 เกาะ 2 ชานชาลา ที่จะแยกโซนขาดจากกัน ชานชาลาของรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน 2 เกาะ 4 ชานชาลา รถไฟความเร็วสูงสายเหนือ 1 เกาะ 2 ชานชาลา และรถไฟความเร็วสูงสายใต้ 2 เกาะ 4 ชานชาลา ซึ่งทุกชานชาลายกเว้นชานชาลาของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สามารถเดินเชื่อมถึงกันได้จากทางเชื่อมบริเวณทิศใต้ของสถานี

แต่ด้วยกายภาพของสถานีที่มีระบบปรับอากาศเพียงแค่ชั้น 1 ชั้นเดียว การปล่อยผู้โดยสารขึ้นชานชาลา จะใช้วิธีการให้ขบวนรถเทียบชานชาลาแล้วปล่อยผู้โดยสารขาเข้าลงให้เรียบร้อยก่อน จากนั้นถึงเรียกผู้โดยสารขาออกจากชั้น 1 ขึ้นสู่ชานชาลาที่กำหนด เมื่อผู้โดยสารขึ้นหมดแล้ว จะปล่อยขบวนรถออกจากสถานีทันทีโดยไม่มีการจอดพักคอยผู้โดยสารเพิ่มเติม โดยที่วิธีการดังกล่าว จะถูกใช้สำหรับรถไฟทางไกล และรถไฟความเร็วสูงทั้งหมด ยกเว้นรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ที่อนุญาตให้ผู้โดยสารขึ้นไปรอขบวนรถที่ชานชาลา เนื่องจากเป็นระบบเดียวที่มีความถี่การเดินรถสูง

นอกจากนี้ ร.ฟ.ท. จะปรับปรุงสถานีชุมทางบางซื่อเดิมไว้ให้บริการเป็นชานชาลาที่ 25-28 ของสถานีกลางบางซื่อ โดยชานชาลาดังกล่าวมีไว้สำหรับขบวนรถทางไกลแบบดีเซล รถไฟชั้น 3 รวมถึงรถไฟทุกขบวนที่มาจากหรือมุ่งหน้าไปสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เนื่องจากขบวนรถดังกล่าวยังไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นอาคารหลักในช่วงที่สายสีแดงเปิดทำการ เพราะต้องรอการเปลี่ยนหัวลากให้รองรับระบบไฟฟ้า หรือปรับตู้จ่ายไฟฟ้าให้เป็นแบบใหม่เสียก่อน กระบวนการดังกล่าวจะใช้เวลาไม่เกิน พ.ศ. 2570 ถึงจะสามารถอนุญาตให้รถทุกขบวนขึ้นอาคารหลักได้ทั้งหมด

ชานชาลา

รายชื่อชานชาลาและสายและจุดหมายสำคัญของแต่ละสายของการรถไฟแห่งประเทศไทย

1, 2 SRT ตะวันออกเฉียงเหนือ ปลายทาง สถานีหนองคาย, อุบลราชธานี
3, 4 สายสีแดงเข้ม ปลายทาง สถานีปากท่อ, สถานีบ้านภาชี
5, 6 SRT เหนือ ปลายทาง สถานีเชียงใหม่, สถานีเชียงของ
7, 8 SRT ตะวันออก ปลายทาง สถานีด่านพรมแดนบ้านคลองลึก, สถานีระยอง
9, 10 สายสีแดงอ่อน ปลายทาง สถานีนครปฐม, สถานีฉะเชิงเทรา
11, 12 SRT ใต้ ปลายทาง สถานีกันตัง, สถานีนครศรีธรรมราช, สถานีปาดังเบซาร์, สถานีสุไหงโก-ลก
13, 14 สายเชื่อมท่าอากาศยาน ปลายทาง สุวรรณภูมิ, อู่ตะเภา
15, 16HSR สายอีสาน (กำลังก่อสร้าง)ปลายทาง นครราชสีมา
17, 18HSR สายอีสาน (กำลังก่อสร้าง)ปลายทาง นครราชสีมา
19, 20HSR สายเหนือ (แผนงาน)ปลายทาง เชียงใหม่
21, 22HSR สายใต้ (แผนงาน)ปลายทาง สุราษฎร์ธานี
23, 24HSR สายใต้ (แผนงาน)ปลายทาง สุราษฎร์ธานี
25, 26, 27, 28 SRT ตะวันออกเฉียงเหนือ   SRT เหนือ   SRT ใต้ ปลายทาง สถานีหัวลำโพง, สถานีหนองคาย, สถานีอุบลราชธานี, สถานีเชียงใหม่, สถานีปาดังเบซาร์ (ไทย)
(เฉพาะขบวนรถดีเซลและขบวนรถไฟชั้น 3 ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นเทียบชานชาลาในอาคารหลัก)

ใกล้เคียง

สถานี สถานีกลางบางซื่อ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีกรุงเทพ สถานีบางหว้า สถานีอวกาศนานาชาติ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีวงเวียนใหญ่