เส้นทาง ของ สถานีสนามหลวง

โครงการช่วงตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางกะปิ - มีนบุรี) (กำลังก่อสร้าง)

ช่วงที่ 1 : ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางกะปิ

เป็นเส้นทางที่เกิดขึ้นครั้งแรกในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 โดยเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางบางกะปิ - ราษฎร์บูรณะของสายสีส้มเดิม เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่มีความสำคัญมากเพราะเป็นเส้นทางเข้าสู่พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยที่ใช้ร่วมกับสายเฉลิมรัชมงคล และยังเป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมต่อการคมนาคมจากแหล่งที่พักอาศัยขนาดใหญ่ย่านบางกะปิเข้ากับสายเฉลิมรัชมงคล ที่กำหนดให้เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าวงแหวนรอบกรุงเทพฯ

เส้นทางส่วนนี้เป็นเส้นทางใต้ดินทั้งหมด เริ่มต้นจากจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จากนั้นวิ่งตามแนวถนนวัฒนธรรม ออกสู่ถนนพระราม 9 ที่บริเวณหน้าที่ทำการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก ผ่านแยกพระราม 9 - ประดิษฐ์มนูธรรม แล้วเข้าสู่ถนนรามคำแหง บริเวณแยกรามคำแหง ผ่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง, ราชมังคลากีฬาสถาน ไปสิ้นสุดเส้นทางที่แยกลำสาลีในย่านบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว - สำโรง) รวมระยะทางทั้งสิ้น 9 กิโลเมตร[2][3]

ช่วงที่ 2 : บางกะปิ - มีนบุรี

เป็นเส้นทางที่เกิดขึ้นครั้งแรกในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 โดยเป็นส่วนต่อขยายของเส้นทางบางกะปิ - ราษฎร์บูรณะของสายสีส้มเดิม แต่ได้แยกออกมาเป็นรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล[4] เมื่อปี พ.ศ. 2548 และมีการปรับแผนแม่บทฯ รวมเอาเส้นทางสายสีน้ำตาลกลับเข้ามาเป็นสายสีส้มอีกครั้งในปี พ.ศ. 2552

เป็นเส้นทางยกระดับเกือบทั้งหมดตามแนวถนนรามคำแหง (สุขาภิบาล 3) เริ่มต้นจากโครงสร้างอุโมงค์ใต้ดินที่แยกลำสาลี ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับเส้นทางช่วงก่อนหน้านี้ ผ่านจุดตัดถนนศรีบูรพา จากนั้นจึงเริ่มยกระดับตามแนวเกาะกลางถนนเข้าสู่สถานีสัมมากร ที่ความสูง 10-12 เมตรจากผิวดิน จากนั้นยกระดับขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงความสูงปกติที่ 15 เมตร ผ่านหมู่บ้านสัมมากร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ยกข้ามทางแยกต่างระดับรามคำแหงจุดตัดถนนกาญจนาภิเษก ผ่านแยกลาดบัวขาว ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนมีนพัฒนา ผ่านเคหะรามคำแหง ไปสิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณก่อนถึงแยกสุวินทวงศ์ ในพื้นที่แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี รวมระยะทางทั้งสิ้น 11 กิโลเมตร

สัญญาการก่อสร้าง

สัญญาการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางกะปิ - มีนบุรี จะประกอบไปด้วยสัญญาการก่อสร้างของ รฟม. ควบคู่สัญญาการก่อสร้างท่อร้อยไฟฟ้าใต้ดินของ การไฟฟ้านครหลวง เนื่องจากเป็นการก่อสร้างแบบควบคู่ทั้งโครงการ

สัญญาที่เนื้องานมูลค่า
(ล้านบาท)
ผู้ชนะการประมูลความคืบหน้า
(ภาพรวม 74.37 % เร็วกว่าแผน 0.78 %
ณ สิ้นเดือน ธันวาคม 2563[5])
1งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างโครงสร้างส่วนใต้ดิน ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-รามคำแหง 12
ระยะทาง 6.29 กม. (3.91 ไมล์)
20,698กิจการร่วมค้าซีเคเอสที
(บมจ. ช.การช่าง และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น)
84.07 %
2งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างโครงสร้างส่วนใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 12-รามคำแหง 34
ระยะทาง 3.4 กม. (2.11 ไมล์)
21,57271.14 %
3งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างโครงสร้างส่วนใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 34-คลองบ้านม้า
ระยะทาง 4.04 กม. (2.51 ไมล์)
18,589.66บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเม้นท์73.00 %
4งานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ ช่วงคลองบ้านม้า-แยกร่มเกล้า
ระยะทาง 8.8 กม. (5.47 ไมล์)
9,999บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชัน63.56 %
5งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง และอาคารจอดแล้วจร4,901กิจการร่วมค้าซีเคเอสที
(บมจ. ช.การช่าง และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น)
77.22 %
6งานวางระบบราง3,750บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชัน71.27 %
7งานระบบรถไฟฟ้า (ตลิ่งชัน-สุวินทวงศ์)คณะกรรมการ รฟม. มีมติให้รวมงานเดินรถเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาการก่อสร้างของโครงการส่วนตะวันตก

โครงการช่วงตะวันตก (บางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) (อยู่ระหว่างการประมูล)

เป็นเส้นทางที่เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 มาสู่แผนแม่บทฯ พ.ศ. 2547 โดยต่อขยายแนวเส้นทางช่วงสามเสน (ซังฮี้) - ศูนย์วัฒนธรรมฯ - บางกะปิ ของเส้นทางสายสีส้มเดิมมาเป็นบางบำหรุ - ศูนย์วัฒนธรรมฯ - บางกะปิ ใน พ.ศ. 2553 ได้มีการแก้ไขเส้นทางโดยสลับกับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนช่วงโครงข่ายในเมือง ที่ได้เปลี่ยนจากช่วงตลิ่งชัน-มักกะสัน มาเป็นบางบำหรุ-มักกะสัน ทำให้เส้นทางสายสีส้มส่วนนี้ต้องเปลี่ยนจาก บางบำหรุ - ศูนย์วัฒนธรรมฯ มาเป็น ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ใน พ.ศ. 2554 ก็ได้มีการแก้ไขแบบแผนเป็นครั้งที่ 3 โดยตัดเส้นทางจากเดิมที่จะไปสิ้นสุดที่ตลิ่งชัน ให้มาสิ้นสุดที่แยกจรัญสนิทวงศ์เนื่องจากเส้นทางทั้งหมดทับซ้อนกับสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน - ศิริราช ทำให้แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีส้มเหลือเพียงแค่ บางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมฯ ใน พ.ศ. 2557 เกิดการคัดค้านการเวนคืนที่ดินหลายจุด เนื่องจากชุมชนประชาสงเคราะห์ไม่ยินยอมให้เวนคืนเพราะเป็นการทำรถไฟฟ้าใต้ดินที่จะจัดทำถนนขนาด 4 เลนตามแนวรถไฟฟ้าทำให้มีผู้เดือดร้อนจำนวนมาก ทำให้มีการเปลี่ยนแนวเส้นทางเป็นครั้งที่ 4 จากเดิมช่วงดินแดง - ศูนย์วัฒนธรรมฯ เป็น ดินแดง - พระราม 9 แทน ทำให้เส้นทางสายสีส้มตะวันตกกลายเป็น บางขุนนนท์ - พระราม 9 แต่หลังจากการประชุมของคณะรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตามแนวเส้นทางเดิมตามแผนแม่บท พ.ศ. 2554 เนื่องจากเส้นทางเดิมส่วนใหญ่ผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และประชาชนรับทราบกันมาตั้งแต่ออกแผนแม่บทนี้เรียบร้อยแล้ว

แนวเส้นทางในส่วนตะวันตกเป็นเส้นทางใต้ดินทั้งหมด เริ่มต้นจากบริเวณด้านใต้สถานีบางขุนนนท์ ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ในแนวตัดขวางกับถนนจรัญสนิทวงศ์ จากนั้นวิ่งเข้าอาคารรักษาพยาบาล และสถานีรถไฟร่วมศิริราช โรงพยาบาลศิริราช จากนั้นลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่เขตพื้นที่อนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์ และลอดใต้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครเข้าสู่แนวถนนราชดำเนินกลาง ผ่านสนามหลวง และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ที่สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ผ่านสะพานผ่านฟ้าลีลาศเข้าสู่แนวถนนหลานหลวง ผ่านตลาดมหานาค เข้าสู่แนวถนนเพชรบุรีที่แยกยมราช ผ่านแยกอุรุพงษ์ แยกเพชรพระราม มาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีราชเทวี เลี้ยวซ้ายที่แยกประตูน้ำมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือตามแนวถนนราชปรารภ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่สถานีราชปรารภ เบี่ยงขวาที่แยกสามเหลี่ยมดินแดงเข้าสู่ถนนดินแดง เลี้ยวซ้ายเข้าถนนวิภาวดีรังสิต และเลี้ยวขวาลอดใต้โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี เข้าสู่ชุมชนประชาสงเคราะห์ ทะลุออกสู่ถนนรัชดาภิเษก ด้วยการลอดใต้ศูนย์การค้าเอสพลานาด รัชดาภิเษก และมาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลอีกครั้งที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

สัญญาการก่อสร้าง

สัญญาการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มช่วงตะวันตกจะเป็นการมอบสัมปทานทั้งโครงการใหักับเอกชนผู้ประมูลงานทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว โดยรวมงานเดินรถทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันภายใต้สัญญาฉบับเดียวด้วย โดยมีระยะเวลาสัมปทาน 33 ปี 6 เดือน แบ่งเนื้องานเป็นสองระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การจัดหาระบบรถไฟฟ้า และระบบที่เกี่ยวข้อง 42 เดือน (3 ปี 6 เดือน) และการออกแบบควบคู่การก่อสร้าง 6 ปี อันเป็นการดำเนินการแบบควบคู่กัน และระยะที่ 2 ดำเนินงานรถไฟฟ้า ซ่อมบำรุง และบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ 30 ปี โดยมีรายละเอียดสัญญาดังนี้

ลำดับที่เนื้องาน
ระยะที่ 1 - ออกแบบและก่อสร้างงานโยธา รวมถึงจัดหาระบบรถไฟฟ้า
ก.งานออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง และทดสอบระบบรถไฟฟ้า ระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบสื่อสาร ระบบจัดเก็บค่าโดยสาร ระบบประตูกั้นชานชาลา
และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และทดลองการเดินรถไฟฟ้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก
ระยะเวลา 42 เดือน (3 ปี 6 เดือน) นับตั้งแต่วันที่แจ้งให้เริ่มงาน
ข.งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างโครงสร้างใต้ดินช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางขุนนนท์ ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร
งานวางรางวิ่ง ระบบไฟฟ้า การจัดหา ผลิต ติดตั้ง และทดสอบระบบรถไฟฟ้า ระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบสื่อสาร ระบบจัดเก็บค่าโดยสาร ระบบประตูกั้นชานชาลา
และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และทดลองการเดินรถไฟฟ้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก
ระยะเวลา 6 ปี นับตั้งแต่วันที่แจ้งให้เริ่มงาน
ระยะที่ 2 - งานเดินรถไฟฟ้า และการซ่อมบำรุง
2.1งานเดินรถไฟฟ้ารวมการซ่อมบำรุงเป็นระยะเวลา 30 ปี นับตั้งแต่วันที่ รฟม. กำหนดให้มีการเดินรถของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกอย่างเป็นทางการ จนสิ้นสุดสัญญาการร่วมลงทุน

ผู้เข้าร่วมยื่นข้อเสนอการลงทุน

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้เปิดให้เอกชนที่สนใจเข้าซื้อเอกสารประกวดราคาสำหรับเข้าร่วมประมูลโครงการตั้งแต่วันที่ 10 - 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ก่อนเปิดรับข้อเสนอในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยมีเอกชนที่สนใจเข้าร่วมประมูล 10 ราย จาก 2 ประเทศ และมีเอกชนยื่นซองเข้าร่วมประมูลโครงการ 2 ราย ดังต่อไปนี้

ชื่อบริษัทฯผลการยื่นข้อเสนอ
คุณสมบัติทั่วไปข้อเสนอทางเทคนิคข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน
(เงินที่รัฐฯ ร่วมลงทุนในโครงการ)
(ล้านบาท)
ข้อเสนอพิเศษเพิ่มเติม
บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ประกอบด้วย
บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

งบประมาณ

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม มีมูลค่ารวม 143,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรัฐฯ ลงทุนเฉพาะค่าจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน 15,000 ล้านบาท เอกชนลงทุนในส่วนของงานโยธาทั้งระบบ 96,000 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า 32,000 ล้านบาท โดยรัฐฯ จะชำระค่างานโยธาทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยคืนให้ในระยะเวลา 10 ปีหลังเปิดดำเนินการ

ใกล้เคียง

สถานี สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีกลางบางซื่อ สถานีกรุงเทพ สถานีอวกาศนานาชาติ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีบางหว้า สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน