การเจรจา ของ สนธิสัญญาเบาว์ริง

จอห์น เบาว์ริง

เมื่อทราบว่าพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ใหม่ทรงแสดงความต้องการจะทำสนธิสัญญาด้วย รัฐบาลอังกฤษก็ได้ส่งจอห์น เบาว์ริงเข้ามาทำสนธิสัญญาฉบับใหม่ใน พ.ศ. 2398 โดยปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมไทย ให้ทูตเชิญพระราชสาส์นสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียเข้ามาถวายพระเจ้าแผ่นดินไทย จึงได้รับการต้อนรับดีกว่าทูตตะวันตกที่ผ่านมาทั้งหมด[12]

จอห์น เบาว์ริง อยู่ในกรุงสยาม 1 เดือน และใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์เจรจากับ “ผู้สำเร็จราชการฝ่ายสยาม” 5 พระองค์และคน คือ[15]

จอห์น เบาว์ริงกล่าวยกย่องผู้แทนรัฐบาลไทยสองท่าน ว่ามีความเห็นสอดคล้องกับตน ได้แก่ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) และพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท สำหรับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์นั้นได้ตำหนิระบบผูกขาดและการทุจริตของชนชั้นสูงอย่างรุนแรง และออกปากจะช่วยทูตอังกฤษในการแก้ไขสนธิสัญญา ถึงกับทำให้เบาว์ริงสงสัยว่าจะพูดไม่จริง แต่สุดท้ายก็ยอมรับว่าเป็นคนพูดจริงทำจริง และได้สรรเสริญว่าเป็นบุคคลที่ฉลาดยิ่งกว่าคนอื่นที่พบปะมาแล้ว[16]

ส่วนอีกด้านหนึ่ง เบาว์ริงได้ตำหนิสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ ผู้มีความคิดในการค้าผูกขาด และคัดค้านข้อเสนอของทูตอังกฤษอยู่เสมอ เบาว์ริงเห็นว่า ทั้งสองคนนี้เองที่ทำให้การเจรจาขอแก้ไขหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีในช่วงปลายรัชกาลที่ 3 ไม่ประสบความสำเร็จ[17]

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783) สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาอึลซา