การยกเลิก ของ สนธิสัญญาเบาว์ริง

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีความพยายามเจรจาเพื่อยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของคนในบังคับอังกฤษ โดยเอ็ดเวิร์ด เอช. สโตรเบล ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินชาวอเมริกัน เสนอให้ไทยแลกหัวเมืองมลายู พร้อมกับขอกู้เงิน 4 ล้านปอนด์ ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อนำไปสร้างทางรถไฟสายใต้ โดยมีการลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2451 โดยรัฐบาลไทยยอมยกสี่รัฐมาลัย (ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส) ตลอดจนเกาะใกล้เคียงให้แก่อังกฤษ ฝ่ายอังกฤษให้คนในบังคับตนที่ลงทะเบียนไว้กับกงสุลก่อนหน้านี้ขึ้นกับศาลต่างประเทศ และให้คนในบังคับหลังทำสนธิสัญญาฉบับนี้ขึ้นกับศาลไทย โดยมีที่ปรึกษากฎหมายชาวยุโรปร่วมพิจารณาคดี แต่ศาลกงสุลยังมีอำนาจนำคดีไปพิจารณาได้[41]

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติ รัฐบาลสยามพยายามเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมในด้านสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและภาษีศุลกากร ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี โดยมีเงื่อนไขว่าสยามจะต้องบังคับใช้ประมวลกฎหมายตามแบบสมัยใหม่ และบางประเทศได้ขอสิทธิพิเศษเพิ่มเติมอีกในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ภายใน พ.ศ. 2470 ประเทศต่าง ๆ นับสิบประเทศก็ยินยอมลงนามแก้ไขสนธิสัญญาดังกล่าว[42]

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783) สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาอึลซา