บทบาทหลังการรัฐประหาร ของ สพรั่ง_กัลยาณมิตร

หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 พล.อ.สพรั่งภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และได้รับการพิจารณาให้เป็นประธานบอร์ดการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยยังเป็นที่ถกเถียงในเรื่องของความเหมาะสมในการนำทหารที่ไม่มีประสบการณ์ มาบริหารงานรัฐวิสาหกิจ การปลดนายวุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ เนื่องจากคัดค้านการอนุมัติงบ 800 ล้านบาทของบริษัท ทีโอที ให้กองทัพ และการอนุมัติงบประมาณเกินความจำเป็นให้ตนเองพวกพ้อง ทำให้เป็นที่วิพากวิจารณ์กันอย่างมากถึงความเหมาะสม

  • กรณีงบลับ 800 ล้านบาท และปลดปลดนายวุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ ออกจากรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ และกรรมการบริษัท ทีโอที ซึ่งคัดค้านกรณีสนับสนุนงบประมาณ 800 ล้านบาทให้กองทัพ

โดยเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน บอร์ดทีโอทีได้ให้ความเห็นชอบโครงการขอรับการสนับสนุนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับความมั่นคงมูลค่า 800 ล้านบาท เนื่องจากเกี่ยวข้องกับความมั่นคงประเทศ

ด้านนายวุฒิพงษ์ อดีตรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า "หากบอร์ดทีโอทีไม่ให้ทำงานก็พร้อม และไม่รู้สึกหนักใจอะไร เพราะได้ทำงานอย่างเต็มที่ เมื่อสู้กับอำนาจไม่ได้ ก็ต้องเป็นอย่างนี้" [1]

ทั้งนี้ หลังบอร์ดทีโอทีมีมติปลด ได้มีหนังสือชี้แจง ลงชื่อนายวุฒิพงษ์ ต่อเรื่อง ดังกล่าวว่า

1.หากโครงการนี้มีความจำเป็น ทางด้านความมั่นคงในระดับคอขาดบาดตายจริง ทำไมจึงต้องมาใช้เงินของทีโอที ซึ่งงบสำคัญขนาดนี้น่าจะปรากฏงบของกองทัพหรือกลาโหม ซึ่งมีทั้งงบปกติและงบลับจำนวนมหาศาลอยู่แล้ว

2.โครงการนี้มิได้ใช้แค่อุปกรณ์ แต่ต้องมีการเตรียมบุคลากรจำนวนมากเพื่อปฏิบัติการ ถ้าไม่มีการเตรียมเจ้าหน้าที่อย่างพร้อมมูล อุปกรณ์ก็กลายเป็นเศษเหล็กไม่เกิดประโยชน์อะไร แต่หากได้มีการตระเตรียมบุคลากรมาอย่างพร้อมพรั่งสมบูรณ์ดีแล้ว มูลค่าอุปกรณ์ก็น่าจะถูกรวมไว้ในงบประมาณด้านความมั่นคงเรียบร้อยแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องพึ่งเงินบริจาคของทีโอที

3.ถ้ามีความสำคัญอย่างที่กล่าวอ้างจริง ทำไมถึงไม่มีจดหมายจากหน่วยงานหลัก เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ อาทิ คณะมนตรีความมั่นคง หรือ คมช. กองทัพบก สภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในประเทศ หรือ กอ.รมน. หรือกระทรวงกลาโหม แต่กลับออกมาจากหน่วยงานภายในของกองทัพ/กลาโหม ซึ่งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

นอกจากนั้น ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องวิธีการเบิกจ่ายผู้รับเงิน วิธี จัดซื้อจัดจ้าง ตลอดจนถึงรูปแบบของความช่วยเหลือ ว่าจะเป็นเงินสดหรืออุปกรณ์

4.ทีโอทีไม่ได้มีสถานะทางการเงินที่เข้มแข็งแต่ประการใด งบประมาณจำนวน 800 ล้านบาท จะเป็นตัวเลขที่ถ่วงผลประกอบการของบริษัท

5.ถ้าเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าวรั่วไหลสู่สาธารณะ ซึ่งเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก จะส่งผลเสียต่อความเชื่อมั่นของพนักงาน และประชาชน ที่มีต่อกรรมการบริษัท ในการกวาดล้างคอร์รัปชันและสร้างความโปร่งใสให้กับ ทีโอที โดยเฉพาะต่อ พล.อ.สพรั่งซึ่งเป็นบุคคลที่มีตำแหน่งสำคัญในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช.

  • กรณีเงิกงบประมาณไปดูงานต่างประเทศของบอร์ดทอท.ไปดูงานอังกฤษ เยอรมนี ตั้งงบพิเศษ 12 ล้าน ให้วอร์รูม คมช. ที่มีคนในตระกูล “กัลยาณมิตร” เป็นผู้ใช้เงิน "ตัวเลขไม่ใช่เรื่องสำคัญ สำคัญที่เจตนา ลงทุนบาทเดียว ไม่คุ้ม ก็น่าตำหนิ การเดินทางไปครั้งนี้ไม่ต้องชี้แจงประธาน คมช. เพราะท่านอนุมัติให้เดินทางไปตั้งแต่ต้นแล้ว และการที่พูดอยู่นี้ก็ชี้แจงต่อสาธารณชนอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือเพราะไม่ใช่จำเลย เราวีรบุรุษ" [2] พล.อ.สพรั่ง เมื่อถูกถามว่า เงินจำนวน 7 ล้าน ที่ไปทำงาน ถือว่าคุ้มไหม