ตัวอย่าง ของ สมบัติการแจกแจง

  • การคูณของจำนวนแจกแจงได้บนการบวก ซึ่งใช้ได้กับจำนวนหลายชนิดตั้งแต่จำนวนธรรมชาติไปจนถึงจำนวนเชิงซ้อนและจำนวนเชิงการนับ (cardinal number)
  • ในทางตรงข้าม การคูณของจำนวนเชิงอันดับที่ (ordinal number) แจกแจงทางซ้ายได้อย่างเดียวบนการบวก ไม่แจกแจงข้างขวา
  • การคูณเมทริกซ์แจกแจงได้ทั้งข้างซ้ายและข้างขวาบนการบวก แต่ผลที่ได้ไม่เท่ากัน (สลับที่ไม่ได้)
  • ยูเนียนของเซตแจกแจงได้บนอินเตอร์เซกชัน และอินเตอร์เซกชันก็แจกแจงได้บนยูเนียน นอกจากนั้นอินเตอร์เซกชันก็แจกแจงได้บนผลต่างสมมาตรของเซต (symmetric difference)
  • ในทางตรรกศาสตร์ การเลือก (disjunction "or") แจกแจงได้บนการเชื่อม (conjunction "and") และการเชื่อมก็สามารถแจกแจงได้บนการเลือก นอกจากนั้นการเชื่อมก็แจกแจงได้บนการเลือกเฉพาะ (exclusive disjunction "xor")
  • สำหรับจำนวนจริงหรือเซตอันดับทุกส่วน (totally ordered set) การหาค่าสูงสุดแจกแจงได้บนการหาค่าต่ำสุด และการหาค่าต่ำสุดแจกแจงได้บนการหาค่าสูงสุด max ( a , min ( b , c ) ) = min ( max ( a , b ) , max ( a , c ) ) {\displaystyle \max(a,\min(b,c))=\min(\max(a,b),\max(a,c))\,} min ( a , max ( b , c ) ) = max ( min ( a , b ) , min ( a , c ) ) {\displaystyle \min(a,\max(b,c))=\max(\min(a,b),\min(a,c))\,}
  • สำหรับจำนวนเต็ม การหาตัวหารร่วมมากแจกแจงได้บนการหาตัวคูณร่วมน้อย และการหาตัวคูณร่วมน้อยแจกแจงได้บนการหาตัวหารร่วมมาก gcd ⁡ ( a , lcm ⁡ ( b , c ) ) = lcm ⁡ ( gcd ⁡ ( a , b ) , gcd ⁡ ( a , c ) ) {\displaystyle \operatorname {gcd} (a,\operatorname {lcm} (b,c))=\operatorname {lcm} (\operatorname {gcd} (a,b),\operatorname {gcd} (a,c))\,} lcm ⁡ ( a , gcd ⁡ ( b , c ) ) = gcd ⁡ ( lcm ⁡ ( a , b ) , lcm ⁡ ( a , c ) ) {\displaystyle \operatorname {lcm} (a,\operatorname {gcd} (b,c))=\operatorname {gcd} (\operatorname {lcm} (a,b),\operatorname {lcm} (a,c))\,}
  • สำหรับจำนวนจริง การบวกสามารถแจกแจงได้บนการหาค่าสูงสุดและการหาค่าต่ำสุด a + max ( b , c ) = max ( a + b , a + c ) {\displaystyle a+\max(b,c)=\max(a+b,a+c)\,} a + min ( b , c ) = min ( a + b , a + c ) {\displaystyle a+\min(b,c)=\min(a+b,a+c)\,}