พระราชกรณียกิจ ของ สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี

ในสมัยรัชกาลที่ 4 แต่แรกยังไม่มีละครหลวง สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดีทรงฝึกหัดคณะละครส่วนพระองค์ และทรงฟื้นฟูละครหลวงขึ้น[8] เนื่องจากละครหลวงเลิกเสียเมื่อรัชกาลที่ 3 เพราะพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่โปรดละคร แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงรังเกียจการเล่นละครเหมือนอย่างพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดีจึงทรงหัดละครเด็กผู้หญิง ในพระบรมมหาราชวังขึ้นชุดหนึ่ง แต่ยังไม่ทันจะได้ออกโรง พระองค์ก็สวรรคตเสียก่อนเมื่อพ.ศ. 2395 ครั้นถึงพ.ศ. 2396 มีช้างเผือกแรกมาคู่พระบารมี คือพระวิมลรัตนกิริณี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงปรารภถึงการที่เคยมีละครหลวงสมโภชช้างเผือก เมื่อในสมัยรัชกาลที่ 2 จึงโปรดให้รวมละครของสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ฝึกหัดเป็นละครหลวง จึงทันออกโรงเล่นสมโภชช้างเผือกที่ 2 คือพระวิสุทธรัตนกิริณี เมื่อปีพ.ศ. 2397[9] จึงได้มีละครหลวงขึ้นในรัชกาลที่ 4 แต่นั้นมา โดยคณะละครของพระองค์มีละครหญิงที่สำคัญเช่นเจ้าจอมมารดาเขียน[10] เจ้าจอมมารดาวาด[11] ซึ่งได้กลายมาเป็นครูละครที่สำคัญในเวลาต่อมา

ใกล้เคียง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก