เข้ารับราชการฝ่ายใน ของ สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี

ครั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ และประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 ขณะนั้นพระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดีมีพระชันษา 16 ปี ไม่มีผู้อุปถัมภ์บำรุงเหมือนสมเด็จพระอัยกาธิราชเจ้าซึ่งเสด็จสวรรคตแล้ว พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางต่างสงสารและเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระผนวชมา 27 พรรษา ยังไม่มีพระอัครมเหสีผู้เป็นพระขัตติยนารี ซึ่งจะได้มีพระราชโอรสสมสืบราชสันตติวงศ์ จึงพร้อมใจกันใคร่ให้มีความสัมพันธ์ระหว่างสองพระองค์ กระทั่งมีการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2394 (ปฏิทินสากลคือ พ.ศ. 2395) และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ในที่สมเด็จพระนางนาฏบรมอัครราชเทวี[1] ซึ่งถือเป็นพระอัครมเหสีพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[6]ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษา 47 พรรษา ส่วนพระองค์มีพระชนมายุ 17 พรรษา และมีพระนามาภิไธยต่อมาว่า สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระอัครมเหสี

ใกล้เคียง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก