ยุคสะอ์ดี ของ สะอ์ดี

สถานการณ์การเมือง

เส้นทางของมองโกลเข้าบุกดินแดนต่างๆซึ่งกินระเวลายาวนานตั้งแต่ ค.ศ. 1206-1221

เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่เจ็ด คือ มองโกลบุกโจมตีอิหร่าน การบุกโจมตีของมองโกลเกิดขึ้นในปี ฮ.ศ. 616 โดยเจงกีสข่านและในปี ฮ.ศ. 656 ฮูลากูข่านก็สามารถยึดดินแดนส่วนใหญ่ของอิหร่านและอิรักได้สำเร็จ การบุกโจมตีครั้งนี้ได้ทำลายล้างเมืองต่างๆ เผาหอสมุดยึดทรัพย์สินและเข่นฆ่าประชาชน ผู้คนหลายล้านคนถูกฆ่าจากการบุกโจมตีของมองโกล เมืองต่างๆ ถูกทำลายล้างราบเป็นหน้ากลอง เมืองแรกที่ถูกบุกโจมตีคือ ฟะรอรูด เป็นเหตุให้ผู้คนอพยพไปยังเมือง ฟอร์ส์ อิศฟาฮาน อินเดีย และอานาโตเลีย[2]

สะอ์ดี อยู่ในยุคการปกครองของSalghurids หรือเรียกว่า "ซัลฆุรยอน" การปกครองนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี ฮ.ศ. 543 และปกครองยาวนานกว่า 150 ปี กล่าวคือสิ้นอำนาจในปี ฮ.ศ. 685 ผู้ปกครองคนที่หกที่มีชื่อเสียงดังของการปกครองนี้คือ อะบูบักร์ บิน สะอ์ด ที่ขึ้นปกครองในปี ฮ.ศ. 623 ในวัย 35 ปี บิดาของเขาคือ สะอ์ด บิน ซันฆี มีเชื้อสายมาจาก สุลต่าน มุฮัมหมัด โครัมชอฮ์ ดินแดนฟอร์สได้รับความปลอดภัยจากการบุกของมองโกลเป็นเพราะการบริหารของอะบูบักร์สะอ์ด เขายอมจำนนต่อ เจงกีสข่าน และอนุญาตให้ปกครองในฟอร์สโดยออคไดข่าน ต่อมาฮุลากูข่านก็รับรองการปกครองของเขาในฟอร์ส ในปี ฮ.ศ. 656 ได้ส่งกองหนุนให้แก่ฮูลากูข่านในการยึดแบกแดด การบุกแบกแดดโดยฮูลากูข่านทำให้การปกครองของราชวงศ์อับบาซีล่มสลายและมุสตะอ์ซอม ซึ่งเป็นคอลีฟะฮ์คนสุดท้ายของราชวงส์อับบาซีถูกสังหาร แต่อะบูบักร์ บิน สะอ์ด เสียชีวิตที่เมืองชีรอซ ในปี ฮ.ศ. 658 ส่วนบุตรชายชองเขา สะอ์ด บิน อะบูบักร์ ก็เสียชีวิตระหว่างการเดินทางกลับจากการไปพักผ่อนที่อีลีคอนในแถบตัฟริช ต่อมาฮูลากูก็ถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดินแดนฟอร์ส[3]

วัฒนธรรมและวรรณกรรม

ศตวรรษที่หกและเจ็ด แห่งฮิจเราะฮ์ เป็นยุคที่ซูฟี เจริญรุ่งเริือง ซึ่งปูทางมาตั้งแต่ศตวรรษที่ห้าแห่งฮิจเราะฮ์ที่ อะบูฮามิด มุฮัมหมัด ฆอซซาลี ได้ตอบข้อสงสัยต่างๆ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบทบัญญัติกับแนวซูฟีได้อย่างลงตัว ในยุคนี้เกิดบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิแนวทางซูฟีขึ้นอย่างมาก เช่น อับดุลกอเดร ฆีลานี และ ชะฮาบุดดีน อุมัร สะฮ์วัรดี และเกิดสำนักคิดในแนวทางซูฟีขึ้น เช่น กอดิรียะฮ์ สะฮ์รวัรดียะฮ์ กิบร์วียะฮ์ มีการสร้างอาศรมของชาวซูฟีขึ้นมากมาย ผู้ปกครอง เช่น มุสตันซิร อับบาซี , ฏอฆรอลสัลญูกี และคอเญะฮ์ นิซอมุดดีน อัลมะลิก ต่างก็ให้การยอมรับบรรดาผู้รู้ของชาวซูฟี จึงเห็นได้ว่ามีแนวซูฟีเข้าในบทกวีของอิหร่าน และบทกวีที่ดีที่สุดคือ ฮะดีเกาะฮ์สะนาอี ต่อมาก็เป็นบทกวีของอัฏฏอร และเมาละวี ในช่วงปลายศตวรรษที่หกและช่วงต้นศตวรรษที่เจ็ด สะฮ์รวัรดี ได้วางรากฐานของปรัชญาแนวอิชรอกขึ้นโดยใช้ประโยชน์จากผลงานต่างๆ ของซูฟีและแหล่งข้อมูลปรัชญากรีกและฮิกมัตโคสระวอนี ปรัชญาอิชรอก เป็นปรัชญาแนวการใช้เหตุผลผนวกกับการจาริกแนวอิรฟาน ท่านเข้ารับอิสลามและมหากาพย์แห่งพะฮ์ละวีก็จบลงด้วยมหากาพย์แห่งอิรฟาน คือหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคนี้อีกด้วย[4]

การขึ้นปกครองของราชวงศ์เซลจุคหลังจากนั้นก็จักรวรรดิข่านอิน ซึ่งไม่ค่อยหลงใหลในบทกวีมากนัก จึงทำให้นักกวีลดน้อยลงและบทกวีที่ใช้อ่านกันในยุคก่อนก็เริ่มไม่ค่อยมีความสำคัญ ในทางกลับกันบทกวีฆ็อซล์ เป็นบทกวีที่เหมาะสำหรับอธิบายความหมายด้านอิรฟานและความรัก จึงเกิดนักกวีบทกวีฆ็อซล์ขึ้น จึงทำให้บทกวีแนวฆ๊อซล์เป็นที่ได้รับความนิยม สะนออี คือนักกวีคนแรกที่เขียนบทกวีแนวฆ็อซล์แบบอิรฟานและเกี่ยวกับความรักซึ่งเป็นการปูทางให้กับบรรดานักกวีในยุคต่อมา เช่น อัฏฏอร , คอกอนี ,นิซอมี ,สะอ์ดี , เมาละวี และฮาฟิซ[5]

อีกด้านหนึ่งยุคสะอ์ดีก็เป็นยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวอิรอกีในภาษาเปอร์เซีย แนวอิรอกีได้รับความนิยมในช่วงปลายศตวรรษที่หกแห่งฮิจเราะฮ์ศักราชพร้อมกับการกลับมาของพวกเซลจุค ในยุคนี้บรรดานักปรัชญามากมายได้อพยพเข้ามายังส่วนกลางและทางใต้ของอิหร่าน ซึ่งถูกรู้จักกันว่าอิรักอะญัม การบุกโจมตีของมองโกลยิ่งเร่งการอพยพนี้เข้าสู่อิหร่านมากขึ้น จึงส่งผลต่อการใช้ภาษาเปอร์เซียแถบส่วนกลางและทางใต้ของอิหร่าน(รู้จักกันว่าแนวโคราซาน) ในยุคนั้นภาษาอาหรับเข้ามามีอิทธิพลต่อภาษาเปอร์เซียอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้คำ การประกอบรูปประโยคในบทกวีของภาษาเปอร์เซีย หนังสือ มะกอมอต ฮะมีดี ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งจากอิทธิพลนี้ ในศตวรรษที่หกภาษาอาหรับมีอิทธิพลต่อภาษาเปอร์เซียมากยิ่งขึ้นกระทั่งนักเขียนเปอร์เซียได้เขียนผลงานของตนเป็นภาษาอาหรับ หรือหากเขียนเป็นภาษาเปอร์เซียก็จะมีการใช้คำภาษาอาหรับและเรียงรูปประโยคตามภาษาอาหรับ เป็นยุคที่ผลงานการเขียนบทกวีที่ใช้ภาษาอาหรับและการยกเหตุผลด้วยอัลกุรอาน นักเขียนในยุคนี้เริ่มนำคำที่ไม่คุ้นชินมาใช้ในการเขียนบทกวี ทำให้คุณสมบัติหลักของการเขียนบทกวีที่ต้องการจะสื่อความหมายกับผู้อ่านนั้นไม่เข้มข้นเท่าที่ควร[6]

ปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่เจ็ด เนื่องจากผู้ปกครองอาณาจักรข่านอินให้ความสำคัญกับการบันทึกประวัติศาสตร์ จึงเป็นเหตุให้มีการบันทึกประวัติศาสตร์ ซึ่งผลงานที่โดดด่นได้แก่ ญามิอุตะวารีค และ ทอรีเค ญะฮอนฆุชอ