สะอ์ดี
สะอ์ดี

สะอ์ดี

อะบูมุฮัมหมัด มุชริฟุดดีน มุศเลี้ยะห์ บิน อับดิลลา บิน มุชัรริฟ เรียกสั้น ๆ กันว่า สะอ์ดี (ปี ฮ.ศ. 606-690) เป็นนักกวีและนักเขียนภาษาเปอร์เซียที่มีชื่อเสียงชาวอิหร่าน บรรดานักอักษรศาสตร์ให้ฉายานามท่านว่า ปรมาจารย์นักพูด กษัตรย์นักพูด ผู้อาวุโสที่สูงส่ง และเรียกขานทั่วไปกันว่า อาจารย์ ท่านศึกษาใน นิซอมียะฮ์แห่งเมืองแบกแดด ซึ่งถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางวิชาการของโลกอิสลามในยุคนั้น หลังจากนั้นท่านก็ได้เดินทางไปตามเมืองต่างๆ เช่นเมืองชาม และฮิญาซ ในฐานะนักบรรยายธรรม แล้วสะอ์ดีก็ได้เดินทางกลับมายังมาตุภูมิของท่านที่เมืองชีรอซและใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นจนกระทั่ววาระสุดท้ายของชีวิต สุสานของท่านอยู่ที่เมืองชีรอซ ซึ่งถูกรู้จักกันว่า สะอ์ดียะฮ์ท่านใช้ชีวิตอยู่ในยุคการปกครองของSalghurids ในเมืองชีรอซ ช่วงการบุกของมองโกลยังอิหร่านอันเป็นเหตุให้การปกครองต่างๆ ในยุคนั้นล่มสลายลง เช่น Khwarazmian dynasty และอับบาซี ทว่ามีเพียงดินแดนฟอร์ซ รอดพ้นจากการบุกของพวกมองโกล เพราะยุทธศาสตร์ของอะบูบักร์ บิน สะอด์ ผู้ปกครองที่เลืองชื่อแห่งSalghurids และอยู่ในศัตวรรษที่หกและเจ็ดซึ่งเป็นยุคการเจริญรุ่งเรืองของแนวทางซูฟีในอิหร่าน โดยเห็นได้จากอิทธิพลทางความคิดและวัฒนธรรมของยุคนี้ได้จากผลงานของสะอ์ดี นักค้นคว้าส่วนใหญ่เชื่อว่าสะอ์ดีได้รับอิทธิพลจากคำสอนของมัซฮับชาฟิอีและอัชอะรี จึงมีแนวคิดแบบนิยัตินิยม อีกด้านหนึ่งก็ท่านเป็นผู้ที่มีความรักต่อครอบครัวท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อีกด้วย ก่อนหน้านั้นสะอ์ดี เป็นผู้ที่ยึดมั่นในจริยธรรมบนพื้นฐานของปรัชญาจริยะ เป็นนักฟื้นฟู ฉะนั้นท่านจึงไม่ใช่ผู้ที่ฝักไฝ่การเชื่ออย่างหลับหูหลับตาตามที่กล่าวอ้างกัน กลุ่มIranian modern and contemporary art ถือว่าผลงานของท่านไร้ศีลธรรม ไม่มีคุณค่า ย้อนแย้งและขาดความเป็นระบบสะอ์ดีมีอิทธิพลต่อภาษาเปอร์เซียอย่างมาก ในลักษณะที่ว่าภาษาเปอร์เซียปัจจุบันมีความใกล้เคียงกับภาษาของสะอ์ดีอย่างน่าสนใจ ผลงานของท่านถูกนำมาใช้สอนในโรงเรียน และหอสมุดในฐานะตำราอ้างอิงการเรียนการสอนภาษาและไวยากรณ์ภาษาเปอร์เซียอยู่หลายยุคหลายสมัย คำพังเพยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอิหร่านปัจจุบันก็ได้มาจากผลงานของท่าน แนวการเขียนของท่านแตกต่างไปจากนักเขียนร่วมสมัยหรือนักเขียนก่อนหน้าท่านโดยท่านจะใช้ภาษาที่ง่าย สั้นและได้ใจความ กระทั่งมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วในยุคของท่าน ผลงานของสะอ์ดีเรียกกันว่าง่ายแต่ยาก มีทั้งเกล็ดความรู้ มุกขำขันที่ซ่อนอยู่หรือกล่าวไว้อย่างเปิดเผยผลงานของท่านรวบรวมอยู่ในหนังสือ กุลลียอเตสะอ์ดี ซึ่งครอบคลุมทั้ง ฆุลิสตอนที่มีฉันทลักษณ์แบบนัษร์ หนังสือ บูสตอนที่มีฉันทลักษณ์แบบมัษนะวี และฆอซลียอต นอกจากนั้นท่านยังมีผลงานด้านร้อยกรองที่มีฉันทลักษณ์อื่นๆ อีก เช่น กอซีดะฮ์ ก็อฏอะฮ์ ตัรญีอ์บันด์ และบทเดี่ยวทั้งที่เป็นภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ ส่วนมากฆอซลียอเตสะอ์ดีจะพูดถึงเรื่องของความรัก แม้ว่าท่านจะกล่าวถึงความรักในเชิงรหัสยะ (อิรฟาน) ก็ตาม ฆุลิสตอนและบูสตอน เป็นตำราจริยธรรม ซึ่งมีอิทธิต่อชาวอิหร่านและแม้แต่นักวิชาการตะวันตกเองก็ตาม เช่น วอลแตร์ และ โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอสะอ์ดี มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นอย่างมากในยุคของท่าน ผลงานของท่านที่เป็นภาษาเปอร์เชียหรือที่แปลแล้วไปไกลถึงอินเดีย อานาโตเลีย และเอเชียกลาง ท่านเป็นนักกวีชาวอิหร่านคนแรกที่ผลงานของท่านถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ แถบยุโรป นักกวีและนักเขียนชาวอิหร่านต่างก็ลอกเลียนแบบแนวของท่าน ฮาฟิซก็เป็นนักกวีท่านหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลการเขียนบทกวีมาจากท่านสะอ์ดี นักเขียนยุคปัจจุบัน เช่น มุฮัมหมัด อาลี ญะมอลซอเดะฮ์ และอิบรอฮีม ฆุลิสตอน ก็ได้รับอิทธิพลมาจากท่านเช่นกัน ต่อมาผลงานของสะอ์ดีถูกถ่ายทอดออกเป็นคีตะ ซึ่งมีนักขับร้องที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น ทอจ อิศฟะฮอนี , มุฮัมหมัดริฎอ ชะญะริยอน และฆุลามฮุเซน บะนอน อิหร่านได้ให้วันที่ 1 เดือนอุรเดเบเฮชต์ วันแรกของการเขียนหนังสือฆุลิสตอน เป็นวันสะอ์ดี เพื่อเป็นการเทิดเกียรติท่าน

สะอ์ดี