กลไกการออกฤทธิ์ ของ สารยับยั้งกำเนิดหลอดเลือด

เมื่อเนื้องอกกระตุ้นให้งอกเส้นเลือดใหม่ นี่เป็นการเปิดสวิตช์กำเนิดเส้นเลือดตัวกระตุ้นหลักในการเปิดสวิตช์ดูเหมือนจะเป็นการขาดออกซิเจน แม้ตัวกระตุ้นอื่น ๆ เช่นการอักเสบ การกลายพันธุ์ที่ก่อเนื้องอก และแรงกดแรงดึงก็อาจมีบทบาทการเปิดสวิตช์ทำให้เนื้องอกแสดงออกแฟกเตอร์ที่โปรโหมตกำเนิดหลอดเลือด แล้วเพิ่มเส้นเลือดในเนื้องอก[5]

โดยเฉพาะก็คือ เซลล์เนื้องอกจะหลั่งแฟกเตอร์ไปยังเซลล์ข้าง ๆ ซึ่งโปรโหมตกำเนิดเส้นเลือด แฟกเตอร์รวมทั้ง angiogenin, vascular endothelial growth factor (VEGF), fibroblast growth factor (FGF), และ transforming growth factor-β (TGF-β)แฟกเตอร์เหล่านี้กระตุ้นการงอกขยาย, การย้ายที่, การรุกแทนที่ของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง (endothelial cell) ซึ่งมีผลเป็นเส้นเลือดใหม่ ๆ ที่งอกจากเส้นเลือดที่อยู่ใกล้ ๆ โมเลกุลที่เป็นตัวยึดเซลล์ เช่น integrin เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เพื่อย้ายและยึดเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรงเข้ากับเมทริกซ์นอกเซลล์[5]

การยับยั้งวิถีการส่งสัญญาณของ VEGF

การยับยั้งกำเนิดเส้นเลือดต้องใช้การรักษาด้วยแฟกเตอร์ต้านกำเนิดเส้นเลือด หรือยาที่ลดการผลิตแฟกเตอร์โปรโหมตกำเนิดเส้นเลือด หรือป้องกันไม่ให้มันจับกับหน่วยรับของมัน หรือระงับฤทธิ์ของมันการยับยั้งวิถีการส่งสัญญาณของ VEGF ได้กลายเป็นประเด็นงานวิจัยในเรื่องกำเนิดเส้นเลือด เพราะเนื้อร้ายประมาณ 60% แสดงออก VEGF ที่ความเข้มข้นสูงกลยุทธ์เพื่อยับยั้งวิถีสัญญาณ VEGF รวมทั้งสารภูมิต้านทานที่ออกฤทธิ์ต้าน VEGF หรือต้านหน่วยรับ VEGF (VEGFR), หน่วยรับลูกผสม VEGFR/VEGFR ที่ละลายได้ (ซึ่งล่อจับ VEGF แทนหน่วยรับของเซลล์), และสารยับยั้งเอนไซม์ tyrosine kinase[5][6]

สารยับยั้ง VEGF ที่ใช้แพร่หลายที่สุดในปัจจุบันคือ Bevacizumab[ต้องการอ้างอิง]ซึ่งจับกับ VEGF เป็นการยับยั้งไม่ให้มันจับกับหน่วยรับ VEGF ของเซลล์[7]

ใกล้เคียง

สารยับยั้งกำเนิดหลอดเลือด สารยับยั้งเอซีอี สารยับยั้งโปรตีเอสชนิดพึ่งโปรตีนแซด สารยับยั้งการนำเซโรโทนินโดยเฉพาะไปใช้ใหม่ สารที่ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน สายัณห์ สัญญา สารัช อยู่เย็น สารพันปัญหาวุ่นวาย ของยัยแวมไพร์ขี้จุ๊ สารกันเลือดเป็นลิ่ม สายัณห์ จันทรวิบูลย์

แหล่งที่มา

WikiPedia: สารยับยั้งกำเนิดหลอดเลือด http://www.cancernetwork.com/prostate-cancer/conte... http://www.spandidos-publications.com/or/article.j... http://www.cancer.gov/cancertopics/factsheet/Thera... http://www.fda.gov/newsevents/newsroom/pressannoun... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2361714 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2756980 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2781774 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2842052 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3206167 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10625665