การควบคุมอาศัยปัจจัยนอกร่างกาย ของ สารยับยั้งกำเนิดหลอดเลือด

อาหาร

ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: อาหารกับโรคมะเร็ง

องค์ประกอบอาหารมนุษย์ที่สามัญ ก็มีฤทธิ์ยับยั้งกำเนิดหลอดเลือดอย่างอ่อน ๆ และดังนั้น จึงได้เสนอใช้ในการป้องกันกำเนิดหลอดเลือด คือป้องกันการแพร่กระจายของมะเร็งผ่านการยับยั้งกำเนิดเส้นเลือดโดยเฉพาะก็คือ อาหารต่อไปนี้มีสารยับยั้งในระดับสำคัญ และได้เสนอให้เป็นส่วนของอาหารสุขภาพเพื่อประโยชน์นี้และอื่น ๆ

ยา

การวิจัยและพัฒนาในเรื่องนี้โดยมากเป็นไปเพื่อการรักษามะเร็งที่ดีขึ้นเนื้องอกจะไม่สามารถใหญ่กว่า 2 มม. โดยไม่มีเส้นเลือดงอกใหม่นักวิทยาศาสตร์หวังว่า การยุติการงอกของเส้นเลือดจะกำจัดวิธีที่เนื้องงอกสามารถได้สารอาหารแล้วแพร่กระจายต่อไป

ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: Anti-vascular endothelial growth factor therapy

นอกจากใช้เป็นยารักษามะเร็ง ยายับยั้งกำเนิดหลอดเลือดยังได้ตรวจสอบเพื่อเป็นสารต้านความอ้วน เพราะเส้นเลือดในไขมันยังจะไม่โตเต็มที่ และดังนั้น จึงสามารถทำลายได้ด้วยยา[29]สารยับยั้งการเกิดหลอดเลือดยังใช้รักษาจุดภาพชัดเสื่อมแบบเปียกโดยระงับฤทธิ์ของ VEGF สารยับยั้งสามารถทำให้หลอดเลือดผิดปกติในจอตาหดลง และทำให้เห็นได้ดีขึ้น เมื่อฉีดยาเข้าไปในวุ้นตาโดยตรง[30]

ภาพรวม

สารยับยั้งกลไก
bevacizumab (Avastin)จับกับ VEGF
itraconazoleยับยั้งปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชันของหน่วยรับ คือ VEGFR, ยับยั้งกระบวนการ glycosylation, การส่งสัญญาณผ่าน mTOR, การเพิ่มจำนวนและการย้ายที่ของของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง, การเกิดช่อง lumen, และกำเนิดหลอดเลือดที่เกี่ยวกับเนื้องอก[31][32][33]
carboxyamidotriazoleยับยั้งการเพิ่มจำนวนและการย้ายที่ของของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
TNP-470 (เป็นสารแอนะล็อกของ fumagillin)
CM101ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันออกฤทธิ์
IFN-α (interferon alpha)ลดการแสดงออกของตัวกระตุ้นกำเนิดหลอดเลือด และยับยั้งการย้ายที่ของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
IL-12 (interleukin 12)กระตุ้นการสร้างสารยับยั้งกำเนิดหลอดเลือด
platelet factor-4ยับยั้งตัวกระตุ้นกำเนิดหลอดเลือด
suramin
SU5416
thrombospondin
สารต้าน VEGFR
สเตอรอยด์ต้านกำเนิดหลอดเลือด + เฮพารินยับยั้งการแตกสลายของเยื่อฐาน
Cartilage-Derived Angiogenesis Inhibitory Factor
matrix metalloproteinase inhibitors
angiostatinยับยั้งเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรงไม่ให้เพิ่มจำนวนและชักนำให้เกิดอะพอพโทซิส
endostatinยับยั้งการย้ายที่ การเพิ่มจำนวน และการรอดชีวิตของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
2-methoxyestradiolยับยั้งการเพิ่มจำนวนกับการย้ายที่ของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง และชักนำให้เกิดอะพอพโทซิส
tecogalanยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
tetrathiomolybdateทำให้เกิดคีเลชันกับทองแดงซึ่งยับยั้งการงอกหลอดเลือด
thalidomideยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
thrombospondinยับยั้งการย้ายที่ การเพิ่มจำนวน การยึดเซลล์ และการรอดชีวิตของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
prolactinยับยั้ง bFGF และ VEGF
สารยับยั้ง αVβ3ชักนำให้เกิดอะพอพโทซิสของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
linomideยับยั้งการย้ายที่ของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
ramucirumabยับยั้ง VEGFR2[34]
tasquinimodไม่ชัดเจน[35]
ranibizumabยับยั้ง VEGF[36]
sorafenib (Nexavar®)ยับยั้ง kinases
sunitinib (Sutent®)
pazopanib (Votrient®)
everolimus (Afinitor®)
กลไกการออกฤทธิ์ของสารยับยั้งกำเนิดหลอดเลือด - Bevacizumab จะจับกับ VEGF ซึ่งยับยั้งไม่ให้มันจับแล้วเริ่มการทำงานของหน่วยรับ VEGFส่วน Sunitinib และ Sorafenib ยับยั้งหน่วยรับ VEGFSorafenib ยังออกฤทธิ์ต่อลำดับการส่งสัญญาณต่อ ๆ ไปอีกด้วย

Bevacizumab

ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: Bevacizumab

ผ่านการจับกับหน่วยรับ คือ VEGFR และหน่วยรับ VEGF อื่น ๆ ในเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง VEGF สามารถจุดชนวนการตอบสนองของเซลล์หลายอย่าง เช่น โปรโหมตการอยู่รอดของเซลล์ ป้องกันอะพอพโทซิส เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง cytoskeleton ซึ่งทั้งหมดล้วนโปรโหมตกำเนิดหลอดเลือดBevacizumab (ชื่อการค้า Avastin) ดักจับ VEGF ให้อยู่ในเลือด ลดการจับของ VEGF กับหน่วยรับของมันซึ่งมีผลลดการทำงานในวิถีกำเนิดหลอดเลือด ดังนั้น จึงยับยั้งการงอกหลอดเลือดใหม่ในเนื้องอก[8]

หลังจากการทดลองทางคลินิกหลายระยะในปี 2004 ยา Avastin ก็ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ กลายเป็นยาต้านกำเนิดหลอดเลือดแรกที่วางขายในตลาดแม้ต่อมาองค์การจะได้ถอนอนุมัติให้ใช้ยารักษามะเร็งเต้านมเมื่อปลายปี 2011[37]

Thalidomide

แม้ยาต้านกำเนิดหลอดเลือดจะมีฤทธิ์ในการรักษา แต่ก็สามารถเป็นอันตรายเมื่อใช้ไม่ถูกต้องตัวอย่างหนึ่งก็คือ thalidomideซึ่งเป็นยาที่ให้กับหญิงมีครรภ์เพื่อรักษาอาการแพ้ท้องแต่เมื่อกินยาต้านกำเนิดหลอดเลือด ทารกในครรภ์จะไม่สามารถสร้างหลอดเลือดได้อย่างสมควร ดังนั้น จึงยับยั้งพัฒนาการที่สมควรของแขนขาและระบบหลอดเลือดในปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 และต้นทศวรรษ 1960 เด็กเป็นพัน ๆ เกิดออกมาพิการ โดยเฉพาะแขนขาพิการ (phocomelia) เนื่องจากการใช้ยา thalidomide[38]

Cannabinoids

ตามงานศึกษาปี 2004 cannabinoids ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ในกัญชา สามารถระงับการงอกเส้นเลือดใหม่ใน gliomas (เนื้องอกสมอง) ที่ปลูกใต้ผิวหนังของหนู โดยยับยั้งการแสดงออกของยีนที่จำเป็นเพื่อสร้าง VEGF[39]

ผลข้างเคียงสามัญ

เลือดออก

อาการเลือดออกเป็นผลข้างเคียงที่จัดการได้ลำบากที่สุด โดยเป็นผลตามธรรมชาติของฤทธิ์ยาBevacizumab ได้แสดงว่า เป็นยาที่มีโอกาสมากสุดในการก่อภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับเลือดออกแม้กลไกของสารต้าน VEGF ที่ทำให้เลือดออก จะซับซ้อนและยังไม่เข้าใจอย่างสมบูรณ์แต่สมมติฐานที่ได้การยอมรับมากที่สุด ก็คือ VEGF อาจโปรโหมตการรอดชีวิตของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง และความแข็งแรงของหลอดเลือด ดังนั้น การยับยั้งมันจึงอาจลดสมรถถภาพในการฟื้นสภาพของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรงที่เสียหาย[40]

เพิ่มความดันโลหิต

งานศึกษาปี 2009 แสดงว่า มีการเพิ่มความดันโลหิตโดยเฉลี่ย 8.2 mm Hg บน และ 6.5 mm Hg ล่างภายใน 24 ชม. แรกที่คนไข้ได้ยา sorafenib ซึ่งเป็นยายับยั้งวิถีการทำงานของ VEGF สำหรับผู้ที่ได้ยาเป็นครั้งแรก[41]

ผลข้างเคียงที่สามัญน้อยกว่า

เพราะยาออกฤทธิ์ต่อหลอดเลือด จึงมักมีผลข้างเคียงต่อกระบวนการเกี่ยวกับหลอดเลือดนอกจากการตกเลือดและความดันโลหิตสูง ผลข้างเคียงที่สามัญน้อยกว่ารวมทั้งผิวหนังแห้งและคัน อาการที่มือเท้า (คือ มีส่วนบวมนิ่มที่ผิวหนัง บางครั้งพร้อมกับอาการพองที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า) ท้องร่วง ล้า และเม็ดเลือดต่ำยายับยั้งกำเนิดหลอดเลือดอาจรบกวนการหายแผล และทำให้แผลเปิดหรือเลือดออกถึงน้อยครั้ง แต่ลำไส้ก็อาจทะลุได้ด้วย[40]

ใกล้เคียง

สารยับยั้งกำเนิดหลอดเลือด สารยับยั้งเอซีอี สารยับยั้งโปรตีเอสชนิดพึ่งโปรตีนแซด สารยับยั้งการนำเซโรโทนินโดยเฉพาะไปใช้ใหม่ สารที่ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน สายัณห์ สัญญา สารัช อยู่เย็น สารพันปัญหาวุ่นวาย ของยัยแวมไพร์ขี้จุ๊ สารกันเลือดเป็นลิ่ม สายัณห์ จันทรวิบูลย์

แหล่งที่มา

WikiPedia: สารยับยั้งกำเนิดหลอดเลือด http://www.cancernetwork.com/prostate-cancer/conte... http://www.spandidos-publications.com/or/article.j... http://www.cancer.gov/cancertopics/factsheet/Thera... http://www.fda.gov/newsevents/newsroom/pressannoun... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2361714 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2756980 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2781774 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2842052 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3206167 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10625665