การควบคุมภายในร่างกาย ของ สารยับยั้งกำเนิดหลอดเลือด

กำเนิดหลอดเลือดในร่างกายจะควบคุมด้วยสารกระตุ้นและสารยับยั้งที่มีตามธรรมชาติซึ่งมีบทบาทในกระบวนการควบคุมการเกิดเส้นเลือดใหม่ที่มีวันต่อวันและบ่อยครั้งเป็นสารอนุพันธ์จากโปรตีนที่เมทริกซ์นอกเซลล์หรือที่เยื่อฐาน (basement membrane) ซึ่งทำงานโดยกวนการสร้างและการย้ายที่ของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง กวนกำเนิดสัณฐานของหลอดเนื้อเยื่อบุโพรง (endothelial tube morphogenesis) และลดการแสดงออกของยีนที่เซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง

ในช่วงที่เนื้องอกเจริญเติบโต ฤทธิ์ของตัวกระตุ้นกำเนิดหลอดเลือดจะมากกว่าของตัวยับยั้ง ทำให้เส้นเลือดเกิดและงอกได้อย่างไม่ได้ควบคุมหรือควบคุมน้อยลง[8]สารยับยั้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติเป็นยาที่น่าสนใจเพื่อรักษามะเร็ง เพราะมีพิษน้อยกว่าและมีโอกาสให้ดื้อยาน้อยกว่าสารยับยั้งนอกร่างกาย[5][6]แต่การใช้สารยับยั้งที่มีในร่างกายก็มีข้อเสียเหมือนกันในงานศึกษาในสัตว์ ต้องใช้ยามากเพื่อป้องกันไม่ให้เนื้องอกโต และอาจจะต้องใช้ยาในระยะยาว[8]

สารยับยั้งกลไก
VEGFR-1 และ NRP-1 ที่ละลายได้หน่วยรับเป็นตัวล่อ[9] สำหรับ VEGF-B และ PIGF
Angiopoietin 2สารต้าน angiopoietin 1
TSP-1 and TSP-2ยับยั้งการย้ายที่เซลล์ การเพิ่มจำนวนเซลล์ การยึดติดของเซลล์ และการรอดชีวิตของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
angiostatin และโมเลกุลที่สัมพันธ์กันอื่น ๆยับยั้งการเพิ่มจำนวนเซลล์และชักนำให้เซลล์เนื้อเยื่อบุโพรงเกิดอะพอพโทซิส
endostatinยับยั้งการย้ายที่เซลล์ การเพิ่มจำนวนเซลล์ และการรอดชีวิตของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
vasostatin, calreticulinยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
platelet factor-4ยับยั้งการจับของ bFGF และ VEGF กับหน่วยรับ
TIMP และ CDAIยับยั้งการย้ายที่ของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
Meth-1 และ Meth-2
IFN-α, -β และ -γ, CXCL10, IL-4, -12 และ -18ยับยั้งการย้ายที่ของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง และลดการแสดงออกของ bFGF
prothrombin (kringle domain-2), antithrombin III fragmentยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
prolactinยับยั้ง bFGF และ VEGF
VEGIมีฤทธิ์ต่อการเพิ่มจำนวนของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
SPARCยับยั้งการจับและฤทธิ์ของ VEGF ต่อหน่วยรับ
osteopontinยับยั้งการส่งสัญญาณผ่าน integrin
maspinยับยั้ง proteases
canstatin (เป็น fragment ของ COL4A2)ยับยั้งการย้ายที่ของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง ชักนำให้เกิดอะพอพโทซิส[10]
proliferin-related proteinเป็นโปรตีนในไลโซโซมที่จับกับหน่วยรับ mannose 6-phosphate[11]

วิธีการล่าสุดอย่างหนึ่งในการส่งแฟกเตอร์ต้านกำเนิดหลอดเลือดเข้าในเนื้องอกของคนไข้มะเร็งก็คือ ใช้แบคทีเรียดัดแปรพันธุกรรมที่สามารถตั้งกลุ่มภายในเนื้อเยื่อที่มีชีวิตโดยเป็นแบคทีเรียกลุ่ม Clostridium, Bifidobacteria และ Salmonella ที่ได้เพิ่มยีนแฟกเตอร์ต้านกำเนิดหลอดเลือด เช่น endostatin และ IP10 chemokine และได้ลบยีนที่ก่อโรคออกยังสามารถเพิ่มโปรตีนกำหนดเป้าหมายที่ด้านนอกของแบคทีเรียเพื่อให้ส่งเข้าไปสู่อวัยวะที่ถูกต้องในร่างกายได้แบคทีเรียที่ฉีดให้คนไข้จะเข้าไปสู่เนื้องอกแล้วหลั่งยาที่ต้องการออกเรื่อย ๆ ในรอบ ๆ บริเวณที่เกิดเนื้องอก เพื่อกันไม่ให้มันได้ออกซิเจนแล้วในที่สุดทำให้มันตาย[12]เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลทั้งในหลอดทดลองและในหนูแบบจำลอง[13]และคาดว่าวิธีนี้จะใช้รักษามะเร็งแบบต่าง ๆ ในมนุษย์อย่างสามัญในอนาคต

ใกล้เคียง

สารยับยั้งกำเนิดหลอดเลือด สารยับยั้งเอซีอี สารยับยั้งโปรตีเอสชนิดพึ่งโปรตีนแซด สารยับยั้งการนำเซโรโทนินโดยเฉพาะไปใช้ใหม่ สารที่ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน สายัณห์ สัญญา สารัช อยู่เย็น สารพันปัญหาวุ่นวาย ของยัยแวมไพร์ขี้จุ๊ สารกันเลือดเป็นลิ่ม สายัณห์ จันทรวิบูลย์

แหล่งที่มา

WikiPedia: สารยับยั้งกำเนิดหลอดเลือด http://www.cancernetwork.com/prostate-cancer/conte... http://www.spandidos-publications.com/or/article.j... http://www.cancer.gov/cancertopics/factsheet/Thera... http://www.fda.gov/newsevents/newsroom/pressannoun... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2361714 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2756980 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2781774 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2842052 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3206167 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10625665