ลักษณะของภาษา ของ สำเนียงสะกอม

เนื่องจากเป็นภาษาที่อยู่ระหว่างรอยต่อของภาษาไทยถิ่นใต้ กับภาษามลายูปัตตานี ทำให้ชุมชนชาวสะกอมได้รับอิทธิพลดังกล่าวนี้มาผสมผสานเข้าด้วยกัน จนเป็นภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โดยเฉพาะคำศัพท์ และสำเนียงการพูด โดยภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสะกอมจะใช้เสียงดัง เนื่องจากต้องพูดสู้เสียงทะเล ไม่สุภาพนุ่มนวล และพูดอย่างตรงไปตรงมา นอกจากนี้ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสะกอม ยังมีความใกล้เคียงกับภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ มากกว่าภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา[2] แต่มีลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์คือ คำที่มีสองพยางค์ จะไม่นิยมตัดคำเหมือนภาษาไทยถิ่นใต้ทั่วไป มีการเติมเสียงพยางค์หน้า และยังมีการเรียงคำสับ ที่เป็นภาษาถิ่นใต้ทั่วไปเช่น พุงขึ้น (ท้องขึ้น) จะเป็นขึ้นพุง เป็นต้น [3]