บทวิจารณ์และวรรณคดีวิพากษ์ ของ สี่แผ่นดิน

ประภาพรและชมพูนุช (2563) ศึกษาพบว่า สี่แผ่นดิน ถ่ายทอดวาทกรรม 5 ด้าน เรียงตามลำดับจากพบมากไปยังพบน้อย คือ 1. คนไทยที่ดีต้องเคารพและเชื่อฟังผู้ใหญ่ เป็นหน้าทีและคำสั่งผู้ใหญ่ถือเป็นเด็ดขาด 2. พระมหากษัตริย์คือเจ้าชีวิตต้องเทิดทูน 3. ชายเป็นใหญ่ 4. สังคมไทยมีลำดับชั้น ไม่ควรตีตนเสมอผู้มีฐานะสูงกว่า 5. ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี[6]:23–36 พบว่าหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ใช้วิธีถ่ายทอดวาทกรรมโดยกำหนดตัวละครออกเป็นสองกลุ่ม โดยให้ผู้ใหญ่และเจ้านายมีความสุขุมรอบคอบและเป็นผู้ส่งต่อวาทกรรม ส่วนตัวละครที่เป็นเด็กจะมีสองกลุ่ม คือ มีส่วนที่ขัดแย้งกับวาทกรรมและอีกฝั่งหนึ่งเป็นผู้ส่งต่อวาทกรรมให้แก่ตัวละครกลุ่มแรก[6]:38–9 นักวิจารณ์[ใครกล่าว?]กล่าวว่า สี่แผ่นดิน สะท้อนประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของไทยได้ดียิ่ง[7][ลิงก์เสีย] สุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักคิดอนุรักษนิยมที่มีชื่อเสียง วิจารณ์สี่แผ่นดิน เมื่อปี 2552 ว่า "เป็นนวนิยายที่ใช้ล้างสมองให้คนเห็นว่าประชาธิปไตยเป็นของเลว ราชาธิปไตยเป็นของวิเศษ ชาติวุฒิสำคัญยิ่งกว่าคุณวุฒิของสามัญชนคนธรรมดา"[8]

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้