การดำเนินการ ของ สุขศาสตร์การหลับ

สุขอนามัยการนอนรวมทั้งการกำหนดเวลาการนอน การทานอาหาร โดยสัมพันธ์กับการออกกำลังกายและที่นอน[7]ข้อแนะนำจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์เฉพาะบุคคลโดยการให้คำปรึกษาจะเป็นในรูปแบบให้การศึกษา[11]

เนื่องจากความสนใจในบทบาทของสุขศาสตร์การนอนเพื่อเสริมสุขภาพของประชาชนกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงมีแหล่งข้อมูลมากขึ้นทั้งในวรรณกรรมและทางอินเทอร์เน็ต[3]ในสหรัฐอเมริกา มีองค์กรที่ทำงานริเริ่มเกี่ยวกับศาสตร์นี้ รวมทั้งมูลนิธิการนอนหลับแห่งชาติ (National Sleep Foundation) และแผนกแพทยศาสตร์การนอนหลับ (Sleep Medicine) ที่มหาวิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาร์ด ซึ่งทั้งสองได้สร้างเว็บไซต์เข้าถึงได้ฟรีที่มีข้อมูลเกี่ยวกับสุขอนามัยการนอน รวมทั้งคำแนะนำ วิดีโอข้อมูล แบบวัดสุขอนามัยการนอนแบบทำเอง สถิติประชามติในเรื่องสุขอนามัยการนอน และเครื่องมือช่วยหาผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้[28][29]ในปี 2556 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ (CDC) ร่วมกับบัณฑิตยสถานการแพทย์การนอนหลับอเมริกัน (American Academy of Sleep Medicine) จัดตั้งโปรเจ็กต์สำนึกถึงการนอนหลับที่ถูกสุขภาพแห่งชาติ (National Healthy Sleep Awareness Project) เพื่อให้สำนึกรู้ถึงสุขอนามัยในการนอนโดยเป็นเป้าหมายอย่างหนึ่ง[30][31]

แหล่งที่มา

WikiPedia: สุขศาสตร์การหลับ http://www.sleepoz.org.au/files/fact_sheets/AT09%2... http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S23527... http://www.medscape.com/viewarticle/768414_2 http://healthysleep.med.harvard.edu/ http://healthysleep.med.harvard.edu http://www.cdc.gov/sleep/projects_partners.htm //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2689451 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3146754 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12244643 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12531177