การแพร่กระจายพันธุ์และถิ่นที่อยู่ ของ หงส์ขาว

หงส์ใบ้พบได้ตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่เขตอบอุ่นของยุโรป ตลอดแนวเขตชีวภาพพาลีอาร์กติก ไปถึงทางตะวันออกสุดที่ Primorsky Krai ใกล้ Sidemi [49]

บางส่วนอพยพจากละติจูดทางตอนเหนือของยุโรปและเอเชีย ลงใต้ไปจนถึงแอฟริกาเหนือและเมดิเตอร์เรเนียน และมีการบันทึกไว้ว่าเคยพบในไอซ์แลนด์ และเป็นนกพลัดหลงไปยังพื้นที่เช่น เบอร์มิวดา อ้างอิงตามข้อมูลสถานะระหว่างประเทศของนกใน 70 ประเทศจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ[ต้องการอ้างอิง] ในญี่ปุ่นแม้ว่าประชากรหงส์ขาวส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะถูกนำเข้า แต่พบหงส์ขาวปรากฏในภาพวาดบนกระดาษม้วนที่มีอายุมากกว่า 1,000 ปี ประกอบกับประชากรหงส์ขาวธรรมชาติที่อพยพมายังทวีปเอเชียแผ่นดินใหญ่ในฤดูหนาวยังไม่มาก จึงเชื่อว่ายังมีหงส์ขาวอพยพไปญี่ปุ่นตามธรรมชาติพร้อม ๆ กับหงส์ชนิดอื่น ๆ ในสมัยก่อน[ต้องการอ้างอิง]

หงส์ใบ้ หรือหงส์ขาว ได้รับการคุ้มครองในเกือบทุกพื้นที่ในช่วงถิ่นการแพร่กระจายพันธุ์ แต่ไม่ได้รับการคุ้มครองการล่าที่ผิดกฎหมายและการรุกล้ำของพื้นที่เกษตรกรรมอย่างผิดกฎหมาย และมักถูกกักขังเลี้ยงไว้ภายนอกถิ่นที่อยู่ธรรมชาติเพื่อเป็นของประดับตกแต่งของสวนสาธารณะและสระน้ำ ซึ่งหงส์บางส่วนมีการหลบหนี ออกลูกหลานออกนอกที่กักขัง และกลายเป็นสัตว์ธรรมชาติในสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันออกและภูมิภาคเกรตเลกส์ เหมือนกับที่ห่านแคนาดาทำในยุโรป[ต้องการอ้างอิง]

ประชากร

[50]     พื้นที่ผสมพันธุ์ในฤดูร้อน     ถิ่นอาศัยตลอดปี     พื้นที่อพยพในฤดูหนาว     พื้นที่ที่นำเข้าไปเลี้ยงและกลายเป็นนกประจำถิ่น

กลุ่มประชากรในถิ่นอาศัยปกติ

จำนวนประชากรในถิ่นอาศัยตามธรรมชาติทั้งหมดของหงส์ขาว คือ ประมาณ 500,000 ตัว ในทุกช่วงท้ายของฤดูผสมพันธุ์ (ตัวเต็มวัยและวัยหนุ่มสาว) ซึ่งประมาณ 350,000 ตัวอยู่ในดินแดนอดีตสหภาพโซเวียต[51] แหล่งผสมพันธุ์เดี่ยว (ที่มีความเข้มข้นที่สุด) ที่ใหญ่ที่สุดคือ 11,000 คู่ พบที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำวอลกา [52]

ประชากรในสหราชอาณาจักรมีประมาณ 22,000 ตัว นับในช่วงฤดูหนาวปี 2549-2550[53] ลดลงเล็กน้อยจากจุดสูงสุดที่มีประมาณ 26,000–27,000 ตัวในปี 2533[54] จำนวนนี้รวมถึงคู่ผสมพันธุ์ประมาณ 5,300 คู่ ส่วนที่เหลือยังเป็นหงส์ที่ยังไม่สมบูรณ์วัย[55] กลุ่มประชากรที่สำคัญอื่น ๆ ในยุโรป ได้แก่ ในเยอรมนีซึ่งมีคู่ผสมพันธุ์ 6,800–8,300 คู่, ในเดนมาร์ก 4500 คู่, ในโปแลนด์ 4000–4200 คู่, ในเนเธอร์แลนด์ 3000–4000 คู่, ประมาณ 2500 คู่ในไอร์แลนด์ และ 1,200–1700 คู่ในยูเครน[54]

เป็นเวลาหลายศตวรรษที่หงส์ขาวในบริเตนใหญ่ได้รับการเลี้ยงดูให้อาหารในฐานะสัตว์เลี้ยง โดยมีการทำเครื่องหมายด้วยขลิบผังผืดตีน หรือจะงอยปากเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ เครื่องหมายรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้ได้รับการขึ้นทะเบียนกับ Crown and a Royal Swanherd (องค์กรผู้เลี้ยงหงส์ในราชูปถัมภ์) หงส์ขาวอื่นตัวใดที่ไม่ได้รับการทำเครื่องหมายจะกลายเป็นทรัพย์สินในราชูปถัมภ์ ด้วยเหตุนี้หงส์จึงกลายเป็นที่รู้จักในนาม "Royal Bird" และเป็นไปได้ว่าการจัดการการเลี้ยงแบบนี้ช่วยให้หงส์ขาวในบริเตน รอดพ้นจากภาวะการสูญพันธุ์ผ่านการล่าสัตว์ที่เข้มข้น[56][57]

อย่างไรก็ตาม ประชากรในยุโรปตะวันตกส่วนใหญ่ถูกกำจัดโดยแรงกดดันจากการล่าสัตว์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13-19 ยกเว้นหงส์กึ่งเลี้ยงที่เจ้าของที่ดินรายใหญ่ถือครองภายในเขตที่ดิน (ในฐานะสัตว์เลี้ยงในไร่) การอนุรักษ์ที่ดีขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทำให้ประชากรหงส์ขาวสามารถฟื้นฟูกลับไปยังจำนวนเดิม (หรือเกือบทั้งหมด) ได้[58][59] ในช่วงประมาณปีพ.ศ. 2503 ถึงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1980 (พ.ศ. 2523) ประชากรหงส์ขาวกลับมีจำนวนลดลงอย่างมีนัยสำคัญอีกครั้งในหลายพื้นที่ของอังกฤษ[60] สาเหตุหลักมาจากพิษตะกั่วจากนกที่กลืนจากการตกปลาที่ถ่วงด้วยตุ้มตะกั่ว โดยหลังจากการแทนที่น้ำหนักตะกั่วด้วยทางเลือกโลหะอื่นที่เป็นพิษน้อยกว่า ประชากรหงส์ขาวก็เพิ่มขึ้นอีกครั้งอย่างรวดเร็ว [61]

กลุ่มประชากรที่นำเข้า

นับตั้งแต่มีการนำเข้ามาในอเมริกาเหนือ หงส์ใบ้ได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากจนถึงขนาดที่ถือว่าเป็นสายพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน ในขณะที่กลุ่มประชากรที่นำเข้าในภูมิภาคอื่น ๆ ยังคงจำนวนที่น้อย โดยมีประมาณ 200 ตัวในญี่ปุ่น, น้อยกว่า 200 ตัวในนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย และประมาณ 120 ตัวในแอฟริกาใต้[62]

อเมริกาเหนือ

หงส์ใบ้ได้รับการนำเข้าสู่อเมริกาเหนือในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และเนื่องจากจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและผลกระทบต่อนกน้ำ และระบบนิเวศพื้นเมืองอื่น ๆ จึงถูกจัดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน ตัวอย่างเช่นการศึกษาขนาดของประชากรใน Great Lakes ตอนล่างตั้งแต่ปีค.ศ. 1971 ถึง 2000 พบว่าจำนวนหงส์ใบ้เพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยอย่างน้อย 10% ต่อปีโดยเพิ่มจำนวนประชากรเป็นสองเท่าทุก ๆ เจ็ดถึงแปดปี[63] การศึกษาหลายชิ้นสรุปได้ว่าหงส์ใบ้ส่งผลต่อการลดความสมบูรณ์หนาแน่นของพืชใต้น้ำเป็นอย่างมาก[64]

ในปีพ.ศ. 2546 หน่วยงานคุ้มครองพันธุ์ปลาและสัตว์ป่าของสหรัฐฯ (USFWS) ได้เสนอให้ "ลดความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากหงส์ใบ้" ให้น้อยที่สุด โดยการลดจำนวนของพวกมันในแนวบินอพยพฝั่งแอตแลนติก (แอตแลนติกฟลายเวย์) ให้เป็นระดับประขากรของก่อนปีพ.ศ. 2529 ซึ่งหมายถึงต้องลดลง 67% ในปีนั้น ตามรายงานที่ตีพิมพ์ใน Federal Register ปี 2546[65] ข้อเสนอนี้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานด้านสัตว์ป่าของรัฐทั้งสิบสามหน่วยงานที่ส่งความคิดเห็นรวมทั้งองค์กรการอนุรักษ์นก องค์กรการอนุรักษ์สัตว์ป่าและการจัดการสัตว์ป่า 43 แห่ง ขณะเดียวกันองค์กรสิทธิสัตว์ 10 แห่ง และความคิดเห็นจำนวนมากจากประชาชนทั่วไปต่างไม่เห็นด้วย

ในปัจจุบันหงส์ใบ้ได้รับการคุ้มครองภายใต้ พระราชบัญญัติสนธิสัญญานกอพยพ โดยคำสั่งศาล แต่ในปีพ.ศ. 2548 กระทรวงมหาดไทยสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าหงส์ขาวเป็นสัตว์ที่ไม่ใช่สัตว์ท้องถิ่นอเมริกาและจะไม่ได้รับการคุ้มครอง[66] อย่างไรก็ตามหงส์ขาวได้รับการคุ้มครองในบางพื้นที่ของสหรัฐอเมริกาตามกฎหมายท้องถิ่นเช่นใน คอนเนตทิคัต[67]

สถานะของหงส์ขาวนฐานะสายพันธุ์ที่ได้รับการนำเข้าในอเมริกาเหนือถูกกลุ่มสิทธิประโยชน์ "Save the Mute Swans" โต้แย้ง[68] โดยยืนยันว่าหงส์ใบ้มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคอเมริกา ดังนั้นจึงสมควรได้รับความคุ้มครอง พวกเขาอ้างว่าแม้หงส์ขาวมีต้นกำเนิดจากรัสเซีย แต่ได้อ้างถึงการสำรวจทางประวัติศาสตร์และบันทึกจากฟอสซิล (ว่ามีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคอเมริกา) การอ้างสิทธิ์เหล่านี้ถูกปฏิเสธโดยกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐอเมริกา[69]

โอเชียเนีย

หงส์ใบ้ได้รับการคุ้มครองอย่างสมบูรณ์ในนิวซีแลนด์ภายใต้ พระราชบัญญัติสัตว์ป่าปี 1953 แต่คำสั่งนี้ได้เปลี่ยนไปในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 เป็นระดับการคุ้มครองที่ต่ำกว่า คือยังคงมีความคุ้มครอง แต่ได้รับอนุญาตให้ถูกกำจัดหรือถูกกักขังตามดุลยพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอนุรักษ์[70]

มีกลุ่มประชากรที่จัดเข้าในระดับรุกรานเล็กน้อยต่อระบบนิเวศน์ คือ ในบริเวณรอบเมืองเพิร์ธ แต่เชื่อว่ายังมีจำนวนน้อยกว่า 100 ตัว

ประเทศไทย

สามารถชมหงส์ขาวที่เลี้ยงในที่กักขัง[71] ได้ที่สวนสัตว์เชียงใหม่[72] สวนสัตว์นครราชสีมา[73] สวนสัตว์ขอนแก่น[74]

แหล่งที่มา

WikiPedia: หงส์ขาว http://www.birdcare.com/bin/showdict?busking http://archive.boston.com/news/local/articles/2005... http://muteswanadvocacy.com/ http://www.perseus.tufts.edu/hopper/text?doc=Perse... http://animaldiversity.ummz.umich.edu/site/account... http://cat.inist.fr/?aModele=afficheN&cpsidt=14981... http://edocket.access.gpo.gov/2003/pdf/03-20281.pd... http://www.dec.ny.gov/animals/7076.html http://datazone.birdlife.org/species/factsheet/mut... http://www.dodpif.org/downloads/MBTRA_70FR372final...