ลักษณะทางสรีระวิทยา ของ หงส์ขาว

ตัวเต็มวัยของหงส์ขาวโดยทั่วไปยาวตั้งแต่ 140 ถึง 160 เซนติเมตร (55 ถึง 63 นิ้ว) และอาจมีความยาวในช่วงตั้งแต่ 125 ถึง 170 เซนติเมตร (49 ถึง 67 นิ้ว) โดยมีปีกกว้าง 200 ถึง 240 เซนติเมตร (79 ถึง 94 นิ้ว)[13][14] เพศผู้มีขนาดใหญ่กว่าและปุ่มโหนกบนจะงอยปากใหญ่กว่าตัวเมีย โดยขนาดเฉลี่ยหงส์ขาวเป็นนกน้ำที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจาก หงส์แตร แม้ว่าหงส์ขาวตัวผู้อาจมีมวลกาย (น้ำหนัก) มากกว่าหงส์แตรตัวผู้[15][16] ในการวัดอย่างละเอียดของหงส์ขาว ความกว้างจากชายหน้าปีกถึงชายหลังปีก 53–62.3 เซนติเมตร (20.9–24.5 นิ้ว) กระดูกข้อเท้า (tarsus) ยาว 10–11.8 เซนติเมตร (3.9–4.6 นิ้ว) และจะงอยปากยาว 6.9–9 เซนติเมตร (2.7–3.5 นิ้ว)[15]

หงส์ขาวเป็นนกที่บินได้ที่มีน้ำหนักมากที่สุดชนิดหนึ่ง การศึกษาในบริเตนใหญ่พบว่าหงส์ขาวตัวผู้ (เรียกว่า cobs) มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 10.6 ถึง 11.87 กิโลกรัม (23.4 ถึง 26.2 ปอนด์) โดยมีน้ำหนักที่เป็นไปได้ในช่วง 9.2–14.3 กิโลกรัม (20–32 ปอนด์) ในขณะที่ตัวเมียตัวเล็กกว่าเล็กน้อย (เรียกว่า pens) เฉลี่ยประมาณ 8.5 ถึง 9.67 กิโลกรัม (18.7 ถึง 21.3 ปอนด์) โดยมีช่วงน้ำหนัก 7.6–10.6 กิโลกรัม (17–23 ปอนด์)[17][18][19][20][21] น้ำหนักปกติสูงสุดสำหรับตัวผู้อยู่ที่ประมาณ 15 กิโลกรัม (33 ปอนด์) มีการบันทึกว่าหงส์ขาวโปแลนด์ตัวผู้ที่มีตัวใหญ่ผิดปกติ หนักเกือบ 23 กิโลกรัม (51 ปอนด์) และนับเป็นนกที่บินได้ที่มีน้ำหนักที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการตรวจสอบ และแม้ว่าไม่ได้มีการทดสอบที่แท้จริงว่าหงส์ตัวนี้จะยังคงบินได้ [22]

หงส์ขาวตัวเต็มวัย มีสีขาวล้วน จะงอยปากสีส้มแดง ขอบดำ ปลายจะงอยปากมีแต้มสีดำและงุ้มลงเล็กน้อย ปากล่างสีอ่อน หนังหน้าสีดำรวมทั้งขอบตา โหนกสีดำบนจะงอยปาก รูจมูกดำ ตีนดำ[23]

หงส์ขาวอายุน้อย หรือลูกหงส์ขาว (เรียกว่า cygnet) ไม่มีขนสีขาวสว่างอย่างในหงส์ขาวตัวเต็มวัย โดยปกติลูกหงส์ขาวมีขนสีเทาหรือน้ำตาลอมเทา และจะงอยปากเป็นสีเทาเข้มหรือดำจนกระทั่งมีอายุเกิน 1 ปีจึงค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีส้ม แต่ความผิดปกติทางสายพันธุ์อาจทำให้มีความหลากหลายของสี (ของหงส์ขาวอายุน้อย) ตั้งแต่สีขาวบริสุทธิ์ สีเทา ไปจนถึงสีน้ำตาลอมเทา ลูกหงส์ขาวที่มีขนสีขาวเกิดจากยีนลิวซิสติก (ยีนด่าง) หงส์ขาวรุ่นมีอัตราการเติบโตที่รวดเร็ว โดยมีขนาดใกล้เคียงกับขนาดตัวเต็มวัยภายในเวลาประมาณสามเดือนหลังการฟักไข่ โดยทั่วไปแล้วเช่นเดียวกับสีจะงอยปาก หงส์ขาวอายุน้อยจะคงขนสีเทาไว้จนกระทั่งมีอายุ 1 ปี และปีกจะเริ่มผลัดขนเป็นขนบินในช่วงเดียวกัน

หงส์ใบ้ทุกตัวเมื่อเต็มวัยมีสีขาวล้วน (จึงเรียกว่า หงส์ขาว) แม้ว่าขนบางส่วน (โดยเฉพาะที่หัวและคอ) อาจแซมเล็กน้อยด้วยสีิออกน้ำตาลส้มจากธาตุเหล็กและแทนนินที่มากับน้ำ[24]

หงส์โปแลนด์

หงส์ใบ้สองตัวอายุไม่กี่สัปดาห์ ทางด้านขวาเป็นของการกลายสีของ "หงส์โปแลนด์" ซึ่งมียีนที่ผิดปกติทำให้เกิดภาวะด่าง (leucism)

การแปรเปลี่ยนของสีขนของหงส์ขาวชนิดย่อย C. o. morpha immutabilis (immūtābilis เป็นภาษาละตินแปลว่า "ไม่เปลี่ยนรูป, ไม่เปลี่ยนแปลง") ซึ่งมักใช้เรียก "หงส์โปแลนด์" คือ มีตีนสีชมพูอ่อน (หรือสีเทาอ่อน) และขนสีขาวหม่นแต่เกิด สีขาวนี้พบได้เฉพาะในกลุ่มประชากรหงส์ที่มีประวัติการถูกเพาะเลี้ยง[25] โดยหงส์โปแลนด์เหล่านี้สืบทอดพันธุกรรมของยีนที่ผิดปกติที่เรียกว่า "ภาวะด่าง" (Leucism)[26]

แหล่งที่มา

WikiPedia: หงส์ขาว http://www.birdcare.com/bin/showdict?busking http://archive.boston.com/news/local/articles/2005... http://muteswanadvocacy.com/ http://www.perseus.tufts.edu/hopper/text?doc=Perse... http://animaldiversity.ummz.umich.edu/site/account... http://cat.inist.fr/?aModele=afficheN&cpsidt=14981... http://edocket.access.gpo.gov/2003/pdf/03-20281.pd... http://www.dec.ny.gov/animals/7076.html http://datazone.birdlife.org/species/factsheet/mut... http://www.dodpif.org/downloads/MBTRA_70FR372final...