พฤติกรรม ของ หงส์ขาว

รังใน อุทยานแห่งชาติ Drilon Pogradec, แอลเบเนีย หงส์ตัวผู้กำลังลาดตระเวนบริเวณใกล้กับรังเพื่อปกป้องคู่ของมัน การบินเป็นฝูง ไข่ของหงส์ขาว กะโหลกหงส์ขาว

การทำรัง

หงส์ใบ้ทำรังบนเนินขนาดใหญ่ ที่พวกมันสร้างขึ้นด้วยพืชริมน้ำในเขตน้ำตื้น บนเกาะที่อยู่ตรงกลางหรือขอบของทะเลสาบ หงส์ขาวมีคู่เดียวและมักจะกลับมาใช้รังเดิมในทุก ๆ ปี โดยซ่อมแซมหรืออาจสร้างใหม่ในที่เดิม หงส์ตัวผู้และตัวเมียแบ่งหน้าที่การดูแลรัง และแม้เมื่อหงส์ขาวรุ่นลูกโตพอที่จะแยกรังแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะพบว่ายังอาศัยเป็นครอบครัวเดียวกันและออกหาอาหารด้วยกัน

หงส์ขาวกินพืชพันธุ์หลากหลายชนิดทั้งพืชน้ำใต้น้ำด้วยการยื่นคอที่ยาวดำลงไปในน้ำ และทั้งเล็มพืชผิวดินบนบก อาหารโดยทั่วไปยังรวมถึงพืชผลทางการเกษตร เช่น ผักกาดก้านขาว และข้าวสาลี ฝูงหงส์ขาวที่หาอาหารในฤดูหนาวอาจก่อความเสียหายต่อพืชไร่อย่างมาก ทั้งจากการเหยียบย่ำด้วยตีนที่ใหญ่ น้ำหนักที่มาก และจากการกิน[27]

แตกต่างจากหงส์ดำที่เป็นญาติใกล้ชิดในสกุล หงส์ใบ้มักแสดงพฤติกรรมการครอบครองอาณาเขต โดยเฉพาะแหล่งน้ำขนาดเล็กจะครอบครองโดยหงส์เพียงคู่เดียวเท่านั้น เช่นในทะเลสาบขนาดเล็ก มีเพียงพื้นที่ไม่กี่แห่งที่เป็นแหล่งอาศัยหากินที่เหมาะสมของหงส์ขาวจำนวนมากได้ อาณานิคมที่ใหญ่ที่สุดที่เคยพบมีหงส์ขาวมากกว่า 100 คู่ เช่น ที่ Abbotsbury Swannery ทางตอนใต้ของอังกฤษและที่ปลายด้านใต้ของเกาะ Öland เขตอนุรักษ์ Ottenby ในน่านน้ำชายฝั่งทะเลบอลติก ซึ่งความถี่ชิดของรังอาจมีระยะห่างเพียง 2 เมตร (7 ฟุต) จากกันและกัน[28][29] หงส์ขาวรุ่นที่ยังไม่ได้ผสมพันธุ์ซึ่งอาจมีอายุไม่เกิน 3-4 ปีมักจะรวมตัวกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ซึ่งอาจมีจำนวนหลายร้อยตัว และมักจะอยู่ในพื้นที่เดิม[30] ฝูงหงส์ขาวที่ไม่ได้ผสมพันธุ์ที่ได้รับการบันทึกได้แก่ บริเวณปากแม่น้ำทวีด ที่เมืองเบริก-อะพอน-ทวีด ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษโดยมีจำนวนนกสูงสุด 787 ตัว[31] กลุ่มประชากรจำนวนมากที่อยู่ใกล้สถานี Swan Lifeline ในวินด์เซอร์ และกลุ่มที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำเทมส์ใกล้กับปราสาทวินด์เซอร์ เมื่อหงส์ขาวตัวเต็มวัยได้รับการผสมพันธุ์แล้ว จะแสวงหาอาณาเขตของตนเองและมักเลือกอาศัยอยู่ใกล้กับพื้นที่อาศัยของเป็ด และนกนางนวล ซึ่งอาจได้ผลประโยชน์ส่วนแบ่งจากความสามารถของหงส์ในการเข้าถึงพืชในน้ำลึก ซึ่งมักจะถูกกระจายเมื่อดึงขึ้นถึงผิวน้ำ[ต้องการอ้างอิง]

เสียงร้อง

การทำรังในฤดูใบไม้ผลิ เมืองโคโลญ ประเทศเยอรมนี

หงส์ใบ้ (หรือหงส์ขาว) ทำเสียงร้องน้อยกว่าหงส์และห่านอื่น ๆ ที่มีเสียงดัง อย่างไรก็ตามบางครั้งหงส์ขาวทำเสียงฮึดฮัด เสียงหวีด และเสียงกรน (ครืด ๆ)[23] โดยเฉพาะเมื่อสื่อสารกับลูกหงส์ขาว และมักจะส่งเสียงขู่ (ฟู่ ๆ ) ใส่หงส์คู่แข่งหรือผู้บุกรุกที่พยายามเข้ามาในอาณาเขตของมัน [32] เสียงที่คุ้นเคยมากที่สุดของหงส์ใบ้คือ เสียงการบินที่เกิดจากการสั่นของปีกขณะบินซึ่งมีเป็นลักษณะเฉพาะของสายพันธุ์นี้ (มีเสียงหึ่ง ๆ คล้ายฝูงผึ้งขนาดใหญ่ที่ดังมาก) และสามารถได้ยินได้ไกลถึง 1 ถึง 2 กิโลเมตร (0.62 ถึง 1.24 ไมล์) โดยเป็นเสียงที่มีประโยชน์กับหงส์และนกอื่นในการระบุตำแหน่งระหว่างการบิน[33] ลูกหงส์ใบ้มีเสียงร้องที่เฉพาะและใช้สื่อสาร โดยมีเสียงคล้ายการผิวปากและจิ๊บ ๆ ที่หลากหลาย ซึ่งมีเนื้อหาหลากหลาย รวมถึงการส่งเสียงในการทะเลาะที่รุนแรงเมื่อมีได้รับความลำบากหรือหลงทาง

การขับไล่

หงส์ใบ้มักป้องกันรังอย่างก้าวร้าว และปกป้องคู่และลูกของมันได้ดี การโจมตีเชิงป้องกันตัวของหงส์ใบ้ส่วนใหญ่เริ่มต้นด้วยเสียงขู่ฟ่อ (เสียงการพ่นลมออกจากปากอย่างแรง คล้าย “แฮ่” หรือ "ฟู่") และหากไม่เพียงพอที่จะขับไล่ผู้ล่าออกไปจะตามมาด้วยการโจมตีทางกายภาพ หงส์โจมตีโดยการทุบศัตรูด้วยเดือยกระดูกปีกพร้อมกับการงับด้วยจะงอยปากขนาดใหญ่ ในบางครั้งที่ไล่นกน้ำขนาดเล็กเช่น เป็ด หงส์ขาวมักจะงับและลากเป็ดนั้น หรือเหวี่ยงโยนเป็ดออกจากเขตที่หงส์คู่และลูกของมันอาศัย ปีกของหงส์มีพลังมากแต่ไม่แข็งแรงพอที่จะหักขาของคนที่โตเต็มวัยได้อย่างที่เล่ากันต่อ ๆ มา[34] นกน้ำขนาดใหญ่เช่น ห่านแคนาดาอาจถูกขับไล่อย่างก้าวร้าวจากหงส์ขาว (เนื่องจากห่านแคนาดามีแนวโน้มพฤติกรรมในการแข่งขันมากกว่า แม้ไม่ใช่การแข่งขันแบบนักล่าหรือการขโมยก็ตาม) และหงส์ใบ้ยังมีพฤติกรรมโจมตีมนุษย์ที่เข้ามาในดินแดนของมันเป็นประจำเช่นกัน[35]

หงส์ขาวตัวผู้มีหน้าที่ในการปกป้องลูกหงส์ขณะที่อยู่บนน้ำและบางครั้งอาจโจมตีเรือขนาดเล็ก เช่นเรือแคนู ที่มันรู้สึกว่าเป็นภัยคุกคามต่อลูกของมัน นอกจากนี้หงส์ขาวตัวผู้ยังพยายามไล่ล่าสัตว์นักล่าออกไปจากอาณาเขตครอบครัวของมัน และกักบริเวณสัตว์เหล่านี้ เช่นสุนัขจิ้งจอกและสัตว์เลื้อยคลาน ไว้ที่บริเวณไกลออกไป

ในนิวยอร์ก (ซึ่งเป็นพื้นที่นอกเขตถิ่นกำเนิดเดิม) สัตว์นักล่าที่พบมากที่สุดคือ เต่าสแนปปิ้ง[36] โดยปกติหงส์ขาวตัวเต็มวัยที่มีแข็งแรงมักไม่ค่อยตกเป็นเหยื่อของ สัตว์จำพวกหมาเช่น หมาป่าไคโยตี สัตว์จำพวกแมวเช่น แมวลิงซ์ และหมี แต่อาจเป็นภัยคุกคามต่อหงส์ขาวที่อ่อนแอได้ (หงส์ขาวตัวเต็มวัยที่แข็งแรงมักจะว่ายน้ำหนีจากอันตรายได้ เว้นแต่การอยู่กับที่เพื่อการป้องกันรัง) และมีบางกรณีที่หงส์ขาวตัวเต็มวัยที่มีแข็งแรงอาจเป็นเหยื่อของนกอินทรีทอง[37][38]

ในอังกฤษมีอัตราการโจมตีหงส์โดยหมาจรจัดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในสวนสาธารณะที่หงส์ขาวมีอาณาเขตขนาดเล็ก และถือเป็นความผิดทางอาญาในกฎหมายอังกฤษ เนื่องจากหงส์ขาวอยู่ภายใต้การคุ้มครองสูงสุดเนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์[39] หงส์ขาวจะโจมตีกลับเพื่อป้องกันตัวเองและลูกของพวกมันจากการโจมตีของหมา และหงส์ที่โตเต็มวัยสามารถกดหมาให้จมน้ำได้[40] แม้กระทั่งหมาพันธุ์ใหญ่ก็ตาม[41]

ท่าการชี้ระวังภัยคุกคาม คือ คอโก่งโค้งไปทางหลัง (คล้ายเครื่องหมาย "?") และยกปีกขึ้นกึ่งหนึ่ง ที่เรียกว่า ท่ายืดอก (busking) โดยเท้าทั้งสองยืนประกบกันระหว่างการทำท่า และอาจมีการกระตุกคอ กระพือปีกและอกมากขึ้น[42] หงส์ขาวยังอาจใช้ท่าเดียวกันนี้ในการร่อนลงจากระยะไกลหลายร้อยเมตรก่อนถึงพื้นน้ำ ซึ่งเรียกว่า ท่าร่อนลง (ท่าวินด์เซิร์ฟ หรือ ท่าโต้ลม)[43][44]

เช่นเดียวกับหงส์อื่น ๆ หงส์ขาวเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องท่าทีของการแสดงความเศร้าโศก เมื่อคู่ครองหรือลูกหงส์สูญหายหรือตายไป[45][46] หงส์ขาวมีกระบวนการไว้อาลัยโดยอาจจะยังอยู่ในที่ที่คู่ของมันเคยอาศัยอยู่หรือบินออกไปร่วมฝูง[47] หากคู่ใดคู่หนึ่งเสียชีวิตในขณะที่มีเลี้ยงลูก พ่อหรือแม่ที่เหลืออยู่จะรับหน้าที่แทนทั้งหมดในการดูแลครอก

การผสมพันธุ์

รังหงส์ใบ้ขนาดใหญ่ ภาพจากโปแลนด์ลูกหงส์ฟักออกจากไข่ได้หนึ่งวัน ที่ Newburg Lake, Livonia, MI สหรัฐอเมริกา

หงส์ขาววางไข่ตั้งแต่ 4 ถึง 10 ฟอง ตัวเมียจะฟักไข่เป็นเวลาประมาณ 36 วัน โดยปกติแล้วลูกนกจะฟักเป็นตัวระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม[48] หงส์รุ่นจะยังไม่มีความสามารถในการบินก่อนอายุประมาณ 120 ถึง 150 วัน ข้อจำกัดนี้ทำให้การแพร่กระจายพันธุ์ของประชากรในด้านทิศเหนือสุดเป็นไปได้น้อย เนื่องจากลูกหงส์จำเป็นต้องใช้เวลาเรียนรู้ที่จะบินอย่างเร่งรีบ และบางส่วนเสียชีวิตก่อนในฤดูหนาวที่มาก่อนกำหนด[ต้องการอ้างอิง]

แหล่งที่มา

WikiPedia: หงส์ขาว http://www.birdcare.com/bin/showdict?busking http://archive.boston.com/news/local/articles/2005... http://muteswanadvocacy.com/ http://www.perseus.tufts.edu/hopper/text?doc=Perse... http://animaldiversity.ummz.umich.edu/site/account... http://cat.inist.fr/?aModele=afficheN&cpsidt=14981... http://edocket.access.gpo.gov/2003/pdf/03-20281.pd... http://www.dec.ny.gov/animals/7076.html http://datazone.birdlife.org/species/factsheet/mut... http://www.dodpif.org/downloads/MBTRA_70FR372final...