การค้นหาความจริง ของ หนอนมรณะมองโกเลีย

ในเรื่องนี้ นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่า มันจะมีอยู่จริง เพราะทะเลทรายโกบีเป็นทะเลทรายที่ทุรกันดารมาก ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่เช่นนั้นอาศัยอยู่ได้ ถึงอย่างไรก็ตาม มีผู้ได้ทำการศึกษาและค้นหาหนอนมรณะมองโกเลียนี้อย่างจริงจังชื่อ อีวาน แมคเคเรล ที่ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Fate Magazine เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1991 ว่า พวกมันเหมือนไส้กรอก ที่ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ลำตัวอ้วนเท่าแขนของผู้ชาย พวกมันอาศัยอยู่ในลำไส้ของพวกวัวควาย พวกมันมีหางสั้น และเป็นการยากที่จะบอกว่าส่วนไหนเป็นหัว หรือหางเนื่องจากพวกมันไม่มีตา หรือรูจมูก และปาก พวกมันมีสีแดงคล้ำ คล้ายเลือด พวกมันเคลื่อนที่โดยการคลาน หรือบางครั้งก็บิดไปทางด้านข้าง ก่อนที่จะฝังตัวเข้าไปในเหยื่อ พวกมันจะอาศัยอยู่ในทราย และจะโผล่ขึ้นมาในช่วงที่มีฝนตกเท่านั้น

ต่อมาหนอนมรณะมองโกเลียเป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้นอีก เมื่อ คาร์ล ชูเกอร์ ซึ่งเป็นนักสัตววิทยาชาวอังกฤษที่สนใจค้นคว้าด้านสัตว์ประหลาดโดยเฉพาะ นำเรื่องของมันดังมาเปิดเผย จนเป็นที่กล่าวขานกัน เมื่อมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือที่มีชือว่า The Unexplained ในปี ค.ศ. 1996

ต่อมาในปี ค.ศ. 2005 ได้มีการจัดคณะสำรวจ ที่เกิดจากความร่วมมือของ Center for Fortean Zoology และ E-Mongol Investigsted ได้ทำการออกสำรวจและศึกษาหนอนมรณะมองโกเลียอย่างจริงจัง แต่ไม่พบหลักฐานของการมีตัวตนของมัน แต่ยังไม่สามารถสรุปว่า จะไม่มีพวกมันอยู่จริงในส่วนลึกของทะเลทรายโกบี

เป็นไปได้ว่า สิ่งที่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นหนอนมรณะมองโกเลีย คือ งูโบอาทรายตาร์ตัน (Eryx tataricus) ที่เป็นงูขนาดใหญ่ไม่มีพิษจำพวกโบอาที่อาศัยอยู่ในทะเลทรายโกบี และการที่เล่ากันว่ามันมีสีแดง เป็นไปได้ว่าเป็นการทำตัวเพื่อให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ที่สัตว์ที่อาศัยในทะเลทรายโกบีส่วนใหญ่จะมีลำตัวสีแดง

ชุดเซอร์พลีซของเวิร์ม ไรมี่ ที่คล้ายกับหนอนมรณะมองโกเลีย