ประวัติ ของ หนานเยฺว่

มีการเขียนบันทึกประวัติของอาณาจักรหนานเยฺว่ไว้อย่างละเอียด คือ บันทึกประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ โดยนักประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ฮั่น ซือหม่า เชียน ประวัติของอาณาจักรแห่งนี้ส่วนใหญ่มีอยู่ในส่วน (จวน)ที่ 113 (จีน: 南越列傳; พินอิน: Nányuè Liè Zhuàn) (บันทึกประชุมพงศาวดารหนานเยฺว่)[3] จากบันทึกนี้พบว่าข้อมูลส่วนใหญ่ตั้งแต่สมัยการปกครองของจ้าว ถัว ถึงสมัย การปกครองของจ้าว เจี้ยนเต๋อและการล่มสลายของหนานเยฺว่

การก่อตั้ง

การขยายดินแดนทางใต้ของราชวงศ์ฉิน (218 ปีก่อนคริสตกาล)

หลังจาก จักรพรรดิจิ๋นซี ได้รวบรวมอาณาจักรจีนที่แตกแยก 6 อาณาจักร อันได้แก่ หาน, จ้าว, เว่ย, ฉู่, เอี๋ยน, และ ฉี, ในสงครามรวมชาติของจิ๋นซีฮ่องเต้ ต่อมาจิ๋นซีได้เปลี่ยนเป้าหมายความสนใจมาที่ชนเผ่าซฺยงหนูทางทิศเหนือและทิศตะวันตกและชนเผ่าไป่เยฺว่ที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนในปัจจุบัน โดยต้อองการรวมดินแดนทั้งสองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของชาวจีนฮั่น ประมาณ 218 ก่อนคริสต์ศักราช จักรพรรดิจิ๋นซีในฐานะจักรพรรดิฉินองค์แรกได้ส่งกองกำลังทหารโดยมีแม่ทัพถูซุยคุมกองทัพฉิน จำนวน 500,000 คนเพื่อแบ่งออกเป็นห้าทัพโจมตีเผ่าไป่เยฺว่ในแคว้น หลิงหนาน ทัพแรกได้มารวมพลกันที่ หยูหาน (ในปัจจุบันคือ เขตหยูกาน ใน มณฑลเจียงซี) และเข้าตีพวกชนเผ่า หมิ่นเย่ว์ กองทัพฉินได้ชัยชนะอย่างรวดเร็วและการจัดตั้งกองบัญชาการหมินจง ทัพที่สองได้สร้างป้อมค่ายทหารขึ้นที่หนานเย (เขตหนานคัง ใน มณฑลเจียงซีปัจจุบัน) ป้อมค่ายทหารได้ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างแรงกดดันต่อชนเผ่าทางใต้และพิทักษ์ราชวงศ์ฉิน ทัพที่สามได้ยึดครองเมืองพานยฺหวี ทัพที่สี่ได้มารวมพลกันใกล้ๆกับภูเขาจิ๋วหยี่ และทัพที่ห้าได้มารวมพลกันข้างนอกถันเฉิง (ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของ มณฑลหูหนาน เขตชนบทปกครองตนเองจิงโจว เหมียวและตง) จักรพรรดิจิ๋นซีได้มอบหมายให้ข้าราชการระดับขุนนางนามว่า "ฉือหลู่" เพื่อดูแลการขนส่งลำเลียงอาวุธและเสบียง ฉือหลู่ได้นำทัพผ่าน อุโมงค์หลิง (ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำเซียงและแม่น้ำหลีเจียง) เพื่อควบคุมระบบเส้นทางลำเลียง หลังจากนั้นได้สำรวจและสร้างเส้นทางเชื่อมต่อกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำไข่มุก เป็นการสร้างระบบเครือข่ายขนส่งทางน้ำเพื่อเพเอ่มความปลอดภัยให้กับการลำเลียงทางทหารของกองทัพฉิน ต่อมากองทัพฉินได้บุกยึด "หุบเขาตะวันตก" (จีน: 西甌) ของเผ่าไป่เยฺว่ กองทัพฉินได้ชัยชนะอย่างง่ายดาย หัวหน้าชนเผ่าหุบเขา หยี ซู ซ่ง ถูกสังหารในการรบ แต่อย่างไรก็ตามชนเผ่าไป่เยฺว่แห่งหุบเขาตะวันตกไม่ยอมสวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์ฉินและหลบหนีเข้าไปในป่า จากนั้นพวกเขาก็ได้คัดเลือกหัวหน้าเผ่าคนใหม่และรวบรวมกำลังเข้าโจมตีกองทัพฉินอีกครั้ง ชนเผ่าไป่เยฺว่แห่งหุบเขาตะวันตกได้ทำการโจมตีในเวลากลางคืนโดยที่ฉินไม่ทันตั้งตัวและสังหารทหารฉินไปจำนวนมาก แม่ทัพแห่งฉิน ถูซุย ถูกสังหารในระหว่างการรบ ราชสำนักฉินทราบข่าวถือการสูญเสียอย่างหนักในการรบและทางราชสำนักได้ส่งแม่ทัพคนใหม่นามว่า เจ้าถัว มาบัญชาการรบในฐานะแม่ทัพจีนแห่งกองทัพฉิน ในปี 214 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิจิ๋นซีได้ส่ง เริน เสี่ยว และ เจ้า ถัว มาควบคุมกองทัพในการเสริมการโจมตีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้ชนเผ่าไป่เยฺว่แห่งหุบเขาตะวันตกได้ถูกปราบจนพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงและแคว้นหลิงหนานทั้งหมดได้ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของชาวจีนฮั่น[4][5][6] ในปีเดียวกันนั้นราชสำนักฉินได้สถาปนา หนานไฮ่, กุ้ยหลิน และกองบัญชาการเซียงขึ้น เริน เสี่ยว ได้ถูกแต่งตั้งเป็นผู้ว่าปกครองหนานไฮ่ซึ่งต่อมาหนานไฮ่ได้ถูกแบ่งการปกครองออกเป็น พานยฺหวี, หลงชวน, โบหลัว, และ จี่หยาง ส่วน เจ้าถัว ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองหลงชวน

จักรพรรดิจิ๋นซีสิ้นพระชนม์ในปี 210 ก่อนคริสตกาลและพระโอรสของพระองค์ หูไห่ ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิฉินที่ 2 ในปีต่อมาแม่ทัพทหารนำโดย เฉินเสิง, หวูกวงและคนอื่น ๆ ก็ได้ฉวยโอกาสก่อกบฎต่อราชสำนักฉิน การจลาจลแผ่กระจายไปทั่วประเทศจีน (รวมทั้งที่นำโดย ฌ้อปาอ๋อง และ หลิวปัง ทั้งสองผู้ซึ่งภายหลังได้ก่อตั้งราชวงศ์ในอนาคต) ปละทั้งดินแดนลุ่มแม่น้ำเหลืองได้เกิดการจราจลวุ่นวาย ไม่นานหลังจากการจลาจลครั้งแรก ผู้ปกครองแคว้นหนานไฮ่ เริน เสี่ยว ได้ล้มป่วยลงและได้เรียก เจ้า ถัวเพื่อฟังคำแนะนำเพื่อเป็นการสั่งเสีย เรินได้อธิบายถึงการที่แคว้นทางใต้มีชัยภูมิยุทธศาสตร์ดีและแนะนำให้สร้างอาณาจักรขึ้นโดยรวบรวมชาวจีนฮั่นที่ตั้งถื่นฐานอยู่ขึ้นเพื่อซ่องซุมกำลังต่อต้านกบฎที่กำลังจราจลในทางตอนเหนือและฟื้นฟูราชวงศ์ฉิน[7] หลังจากที่เริน เสี่ยวได้สิ้นใจตาย เขาได้แต่งตั้งให้ เจ้า ถัว เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งผู้ปกครองหนานไฮ่คนต่อไป