วิทยาการระบาด ของ หลอดลมฝอยอักเสบทั่วแบบกระจาย

DPB พบได้บ่อยที่สุดในคนญี่ปุ่น คือมีความชุกอยู่ที่ 11 ต่อ 100,000 ประชากร[4] นอกจากนี้ยังมีรายงานการพบผู้ป่วยโรคในคนเชื้อชาติอื่นๆ เช่น เกาหลี[19] จีน[20] และไทย[21] มีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นความบกพร่องจากกรรมพันธุ์ในหมู่ชาวเอเชียตะวันออก โรคนี้พบมากในเพศชาย[22] โดยมีอัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงอยู่ที่ 1.4-2.1 (ประมาณเพศชาย 5 คนต่อเพศหญิง 3 คน)[4] โดยเฉลี่ยอาการของโรคเริ่มแสดงเมื่ออายุราว ๆ 40 ปี และสองในสามของผู้ป่วยไม่ได้สูบบุหรี่ อย่างไรก็ตามการสูบบุหรี่ไม่ได้ถูกเชื่อว่าเป็นสาเหตุของโรคนี้[7] การมี HLA-Bw54 (แอนติเจน BW54 ในเม็ดเลือดขาว) เพิ่มความเสี่ยงของ DPB ถึง 13.3 เท่า[23]

ในฝั่งทวีปยุโรปและทวีปอเมริกามีจำนวนผู้ป่วย DPB ค่อนข้างน้อยซึ่งเป็นผู้อพยพและผู้อยู่อาศัยชาวเอเชีย[24][25][26] ในประเทศแถบตะวันตกมีการวินิจฉัยโรคผิดพลาดเนื่องจากมีการรับรู้โรคนี้น้อยกว่าในประเทศแถบเอเชีย เมื่อเทียบจำนวนชาวเอเชียที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกซึ่งมีจำนวนมากกับผู้ป่วย DPB ชาวเอเชียซึ่งมีจำนวนน้อย พบว่าสาเหตุของโรคนี้อาจมาจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่สาเหตุทางพันธุกรรม และการที่โรคนี้พบได้ยากในชาวเอเชียที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกบางส่วนอาจมาจากการที่วินิจฉัยโรคผิดพลาดด้วย[7][27]

แหล่งที่มา

WikiPedia: หลอดลมฝอยอักเสบทั่วแบบกระจาย http://www.diseasesdatabase.com/ddb3804.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=466.... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10511794 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10746829 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11574201 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14644923 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14679410 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14720066 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/1504438 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15190022