อักษรไทน้อย
อักษรไทน้อย

อักษรไทน้อย

อักษรไทน้อย หรือประเทศลาวเรียก อักษรลาวเดิม เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาลาวในสมัยโบราณ (รวมถึงภาษาไทยถิ่นอีสานด้วย) ใช้ในการจารึกเรื่องราวต่างๆในทางโลก อาทิ บันทึกต่างๆ หนังสือราชการ ตำรายา เป็นต้น ส่วนการจดบันทึกที่เป็นทางด้านศาสนา หรือเกี่ยวข้องกับศาสนาจะนิยมบันทึกด้วยอักษรธรรมลาว หรืออักษรธรรมล้านช้างอักษรไทน้อย เป็นอักษรที่ในสมัยโบราณใช้เขียนภาษาไทยถิ่นอีสาน ในเขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของ ประเทศไทย มีพยัญชนะ 27 ตัว สระ 29 ตัว วรรณยุกต์ 2 ตัว (เท่าที่พบ) และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทน้อยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระอักษรไทน้อยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรคอักษรไทน้อยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับตัวเลขลาว

อักษรไทน้อย

ช่วงยุค หลัง พ.ศ. 1850 – ปัจจุบัน
ระบบแม่
ผู้ประดิษฐ์ ไม่ทราบข้อมูล
ชนิด อักษรสระประกอบ
ภาษาพูด ภาษาไทยถิ่นอีสาน