กลไกของโรค ของ อัมพาตเป็นระยะจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษ

Na+/K+-ATPase ทำหน้าที่ควบคุมความแตกต่างของระดับความเข้มข้นของโซเดียมและโพแทสเซียมในเซลล์และนอกเซลล์ โดยใช้เอทีพีเป็นแหล่งพลังงาน

การมีกล้ามเนื้ออ่อนแรงและมีความเสี่ยงต่อหัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วย TPP เกิดจากการที่มีระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำลงอย่างมาก ซึ่งโพแทสเซียมนั้นยังคงอยู่ในร่างกายแต่ถูกนำเข้าเซลล์ไปจากการที่เอนไซม์โซเดียม/โพแทสเซียม เอทีพีเอสซึ่งทำหน้าที่นำโพแทสเซียมเข้าเซลล์และนำโซเดียมออกจากเซลล์ทำงานเพิ่มขึ้นเกินระดับปกติ จึงทำให้มีโพแทสเซียมในเลือดลดต่ำลง ภาวะอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโพแทสเซียมสูงหรือต่ำมักทำให้มีความผิดปกติของสมดุลกรด-เบสในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นด่างเมตะบอลิกและภาวะเลือดเป็นกรดเมตะบอลิกซึ่งไม่พบใน TPP ภาวะมีโพแทสเซียมในเลือดน้อยเกินจะทำให้เซลล์กล้ามเนื้อเกิดไฮเปอร์โพลาไรเซชันทำให้รอยต่อกล้ามเนื้อกับประสาทตอบสนองต่อกระแสประสาทระดับปกติน้อยลง ทำให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวน้อยลง จึงเกิดเป็นอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง[2]

ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ค้นพบนั้นทำให้โซเดียม/โพแทสเซียม เอทีพีเอสทำงานมากผิดปกติได้อย่างไร เชื่อกันว่าเอนไซม์นี้ทำงานมากขึ้นเนื่องจากการกระตุ้นของฮอร์โมนไทรอยด์ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินทำให้มีระดับของคาเตโคลามีน (เช่น อะดรีนาลีน) ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ทำให้โซเดียม/โพแทสเซียม เอทีพีเอสทำงานมากขึ้นได้[1] จากนั้นการทำงานของเอนไซม์นี้จึงถูกเพิ่มขึ้นไปอีกด้วยสิ่งกระตุ้น เช่น การกินคาร์โบไฮเดรตมากขึ้นทำให้มีระดับอินซูลินเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นโซเดียม/โพแทสเซียม เอทีพีเอสได้ เมื่อสิ่งกระตุ้นหมดไป การทำงานของเอนไซม์จะกลับมาสู่ระดับปกติได้[2] มีการเสนอว่าฮอร์โมนเพศชายเพิ่มการทำงานของโซเดียม/โพแทสเซียม เอทีพีเอสได้ ซึ่งจะอธิบายสาเหตุที่เพศชายมีโอกาสป่วยเป็น TPP ได้มากกว่าเพศหญิง ทั้งๆ ที่เพศหญิงมีโอกาสเป็นโรคไทรอยด์มากกว่า[3]

TPP ถูกใช้เป็นตัวอย่างต้นแบบของภาวะอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน เรียกรวมๆ ว่า โรคที่มีความผิดปกติของแชนแนลโปรตีน (channelopathy) ซึ่งมีการกลายพันธุ์ในไอออนแชนแนล โรคในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีอาการเป็นๆ หายๆ เช่นนี้เช่นกัน[5]

ใกล้เคียง

อัมพาตเป็นระยะจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษ อัมพาตสมองใหญ่ อัมพาตกล้ามเนื้อแบบอินเตอร์นิวเคลียร์ อัมพาตแบบเบลล์ อัมพาต อัมพาตแบบเอิร์บ อัมพาตเป็นระยะจากโพแทสเซียมในเลือดต่ำเกิน อัมพาตที่หน้า อัมพาลิกา อัมมาน

แหล่งที่มา

WikiPedia: อัมพาตเป็นระยะจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษ http://www.diseasesdatabase.com/ddb29122.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=359.... http://www.mayoclinicproceedings.com/content/80/1/... http://emedicine.medscape.com/article/1171678-over... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11071676 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15667036 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16608889 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19185183 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20089526 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20955935