อาการและอาการแสดง ของ อัมพาตเป็นระยะจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษ

อาการแรกเริ่มส่วนใหญ่นำมาด้วยอาการปวดกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว แข็งเกร็ง[1] จากนั้นจึงเริ่มอ่อนแรงและชาซึ่งมักจะเป็นอย่างรวดเร็ว มักเกิดในช่วงเช้าหรือค่ำ อาการอ่อนแรงมักเป็นแบบสมมาตร[1] กล้ามเนื้อต้นแขนและต้นขามักแสดงอาการก่อน และมักเป็นที่ขาก่อนแขน กล้ามเนื้อปากและคอ ตา และการหายใจมักไม่มีอาการอ่อนแรง แต่บางครั้งอาจมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจได้ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตจากการหายใจล้มเหลว ส่วนใหญ่จะดีขึ้นภายในหลายชั่วโมงถึงหลายวันแม้ไม่ได้รับการรักษา[2][3][1] ระหว่างที่มีอาการจะตรวจร่างกายพบการอ่อนแรงแบบเปลี้ยของแขนขา รีเฟลกซ์มักลดลง แต่การรับสัมผัสมักเป็นปกติ[2][1] สภาพจิตก็จะเป็นปกติเช่นกัน[1]

สิ่งกระตุ้นให้อาการกำเริบ เช่น การออกกำลังกาย การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตหรือเกลือมาก ซึ่งอาจเป็นเหตุผลให้มีการกำเริบของโรคบ่อยครั้งในช่วงฤดูร้อน ซึ่งมีคนดื่มน้ำหวานและออกกำลังกายมาก การกำเริบที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายมักเกิดในช่วงพักหลังออกกำลังกายทันที ดังนั้นจึงมีคำแนะนำให้ออกแรงใหม่อีกครั้งเพื่อยับยั้งการกำเริบของอาการ[2]

ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นๆ ของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินได้ อาการเหล่านี้เช่น น้ำหนักลด หัวใจเต้นเร็ว มือสั่น เหงื่อแตก[2][3] แต่มีผู้ป่วยเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่มีอาการเหล่านี้[1] โรคเกรฟส์ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินที่พบบ่อยที่สุดอาจทำให้มีอาการทางตาของโรคเกรฟส์และผิวหนังบริเวณหน้าแข้งหนาตัวได้[4] นอกจากนี้โรคไทรอยด์ยังอาจทำให้มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงในลักษณะของโรคกล้ามเนื้อจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษได้ แต่ภาวะนี้จะเป็นตลอด ไม่ได้เป็นๆ หายๆ อย่าง TPP[1]

ใกล้เคียง

อัมพาตเป็นระยะจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษ อัมพาตสมองใหญ่ อัมพาตกล้ามเนื้อแบบอินเตอร์นิวเคลียร์ อัมพาตแบบเบลล์ อัมพาต อัมพาตแบบเอิร์บ อัมพาตเป็นระยะจากโพแทสเซียมในเลือดต่ำเกิน อัมพาตที่หน้า อัมพาลิกา อัมมาน

แหล่งที่มา

WikiPedia: อัมพาตเป็นระยะจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษ http://www.diseasesdatabase.com/ddb29122.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=359.... http://www.mayoclinicproceedings.com/content/80/1/... http://emedicine.medscape.com/article/1171678-over... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11071676 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15667036 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16608889 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19185183 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20089526 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20955935