วิธีการทดสอบในแล็บ ของ อาการปวดต่างที่

การศึกษาเกี่ยวกับความเจ็บปวดมักจะทำในห้องแล็บเพราะสามารถควบคุมตัวแปรได้ดีกว่ายกตัวอย่างเช่น รูปแบบสิ่งเร้า (ความร้อนเย็น สารเคมีเป็นต้น) ระดับความรุนแรง และช่วงเวลาต่าง ๆ ของสิ่งเร้า จะสามารถควบคุมได้อย่างแม่นยำกว่าในสถานการณ์เช่นนี้ มีวิธีหลัก ๆ 2 อย่างในการศึกษาอาการปวดต่างที่

สารก่อความเจ็บ

ในปัจจุบัน มีการใช้สารเคมีหลายอย่างเพื่อกระตุ้นให้เกิดอาการปวดต่างที่ สารรวมทั้ง bradykinin, substance P, แคปไซซิน[11]และเซโรโทนินแต่ก่อนหน้าสารพวกนี้ งานวิจัยได้ใช้น้ำเกลือไฮเพอร์ทอนิกโดยการทดลองต่าง ๆ พบว่า มีปัจจัยหลายอย่างที่สัมพันธ์กับการกระตุ้นด้วยน้ำเกลือรวมทั้งอัตราการฉีด ความเข้มข้นของน้ำเกลือ แรงดัน และปริมาณที่ใช้แต่กลไกที่น้ำเกลือทำให้เจ็บเฉพาะที่หรือต่างที่ซึ่งคู่กันก็ยังไม่ชัดเจนนักวิชาการบางพวกให้ความเห็นว่า อาจเกิดจากความแตกต่างของความดันออสโมซิส แต่นี่ก็ยังไม่ได้พิสูจน์[2]

การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า

การกระตุ้นในกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า (IMES) เป็นวิธีที่ใช้ทั้งในการทดลองและในการรักษาข้อดีหลัก (เทียบกับการใช้น้ำเกลือ) ก็คือ สามารถเปิดปิดตามกำหนดซึ่งทำให้ควบคุมได้ดีกว่าและแม่นยำกว่า ทั้งโดยสิ่งเร้าและการวัดการตอบสนองเป็นวิธีที่ง่ายกว่าการฉีด เพราะไม่จำเป็นต้องฝึกเป็นพิเศษความถี่ของพัลส์ไฟฟ้ายังสามารถควบคุมได้อีกด้วยในงานศึกษาส่วนมาก ความถี่พัลส์ไฟฟ้าที่ใช้อยู่ที่ 10 เฮิรตซ์ เพื่อให้เจ็บทั้งเฉพาะที่และต่างที่[12]

โดยวิธีนี้ นักวิจัยได้พบว่า สิ่งเร้าจะต้องมีกำลังมากกว่าเพื่อจะให้เจ็บต่างที่ เทียบกับเจ็บเฉพาะที่ระดับสิ่งเร้ากับระดับความเจ็บทั้งเฉพาะที่และต่างที่ ยังสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนอีกด้วยเชื่อกันว่า วิธีนี้จะกระตุ้นให้โนซิเซ็ปเตอร์จำนวนมากทำงาน จึงมีผลเป็นการรวมสัญญาณเชิงพื้นที่ (spatial summation)แล้วทำให้โนซิเซ็ปเตอร์ส่งสัญญาณที่ถี่สูงกว่าไปยังนิวรอนในปีกหลังของไขสันหลังและก้านสมอง[2]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาการปวดต่างที่ //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10666547 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10781923 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10806259 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11289083 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14499428 http://www.bcmj.org/article/centralization-phenome... //doi.org/10.1016%2FS0304-3959(03)00171-4 //doi.org/10.1016%2FS0304-3959(99)00231-6 //doi.org/10.1016%2FS0304-3959(99)00308-5 //doi.org/10.1097%2F00002508-200103000-00003