อาการ ของ อาการปวดต่างที่

  • ขนาดของบริเวณส่วนที่เจ็บ จะสัมพันธ์กับความรุนแรงและช่วงเวลาของความเจ็บปวดที่เกิด[2]
  • Temporal summation เป็นกลไกที่อาจเป็นไปได้อย่างหนึ่งสำหรับความเจ็บปวดที่เกิดจากกล้ามเนื้อ (referred muscle pain) คือศักยะงาน (สัญญาณประสาท) ที่มีความถี่สูงในนิวรอนก่อนไซแนปส์ จะก่อให้เกิดศักยะงานในนิวรอนหลังไซแนปส์โดยเป็นแบบบวกกัน[2]
  • การกระตุ้นได้ง่าย (hyperexcitability) ของนิวรอนในระบบประสาทกลาง (เช่นที่ไขสันหลังหรือก้านสมอง) จะสำคัญต่อขนาดบริเวณที่เจ็บ[2]
  • คนไข้ที่เจ็บปวดในกระดูกและกล้ามเนื้ออย่างเรื้อร้ง (chronic musculoskeletal pain) มีเขตปวดต่างที่ซึ่งใหญ่ขึ้นเทียบกับสิ่งเร้าที่มากระทบ ความเจ็บปวดต่างที่ซึ่งกระจายเข้าในส่วนต้น (proximal) ของอวัยวะ จะพบในคนไข้ประเภทนี้และไม่พบในคนปกติอื่น ๆ[2]
  • อาการปวดต่างที่จะคู่กับสิ่งเร้าทางกายแบบเฉพาะเจาะจง (Modality-specific เช่น ความเย็นร้อน สัมผัส) ซึ่งเน้นความสำคัญของการประเมินตรวจสอบประสาทสัมผัสโดยสิ่งเร้าแบบต่าง ๆ[2]
  • อาการปวดต่างที่บ่อยครั้งจะอยู่ในซีกร่างกายเดียวกันกับอวัยวะที่เป็นเหตุ แต่ก็ไม่แน่นอน[3]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาการปวดต่างที่ //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10666547 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10781923 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10806259 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11289083 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14499428 http://www.bcmj.org/article/centralization-phenome... //doi.org/10.1016%2FS0304-3959(03)00171-4 //doi.org/10.1016%2FS0304-3959(99)00231-6 //doi.org/10.1016%2FS0304-3959(99)00308-5 //doi.org/10.1097%2F00002508-200103000-00003