มุมมองทางการแพทย์ ของ อาการป่วยทางวัฒนธรรม

สมาคมจิตแพทย์อเมริกา (American Psychiatric Association) ระบุว่า[4]

คำว่าอาการป่วยทางวัฒนธรรม (culture-bound syndrome) นั้นแสดงถึงแบบแผน (pattern) ของพฤติกรรมอันวิปลาส (aberrant) และประสบการณ์อันก่อปัญหา (troubling experience) ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ (recurrent) และเฉพาะเจาะจงต่อท้องถิ่น (locality-specific) ซึ่งอาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับที่ระบุไว้ในหมวดหมู่การวินิจฉัยโรคของ DSM-IV แบบแผนส่วนมากนั้นถือว่าเป็น "ความเจ็บป่วย" ในบรรดาชนพื้นเมือง หรืออย่างน้อย ๆ ก็เป็นความทุกข์ (afflictions) และส่วนใหญ่มักมีชื่อท้องถิ่นของโรค ถึงแม้ว่าการนำเสนอในทางที่สอดคล้องกับหมวหมู่หลักใน DSM-IV จะสามารถพบได้ทั่วโลก แต่อาการ ระยะ และการตอบโต้ของสังคม มักได้รับอิทธิพลสูงจากปัจจัยทางวัฒนธรรม ในทางกลับกันนั้น อาการป่วยทางวัฒนธรรมมักจำกัดอยู่ในสังคมหรือพื้นที่ทางวัฒนธรรมเฉพาะ และได้รับการทำเป็นแบบท้องถิ่น (localised), หมวดหมู่การวินิจฉัยที่กำหนดกรอบความหมายที่สอดคล้องกันกับการเกิดขึ้นซ้ำ แบบแผน และ กลุ่มการเกิดปัญหา การสังเกตในบางส่วน

[5]

ประเด็นของอาการป่วยทางวัฒนธรรมนั้นเป็นที่ถกเถียงมาด้วยว่ามันสะท้อนความคิดเห็นที่แตกต่างระหว่างจิตแพทย์กับนักมานุษยวิทยา[6] นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะเน้นย้ำความสัมพันธ์ (relativistic) และมิติเฉพาะต่อวัฒนธรรม (culture-specific) ของอาการต่าง ๆ ในขณะที่จิตแพทย์มีแนวโน้มที่จะเน้นย้ำมิติที่เป็นสากลและเป็นจิตประสาทวิทยา (neuropsychological) มากกว่า[7][8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาการป่วยทางวัฒนธรรม http://www.minnpost.com/second-opinion/2012/01/con... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10900522 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11434415 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14566046 http://www.who.int/entity/classifications/icd/en/G... //doi.org/10.1016%2Fb0-08-043076-7%2F03679-2 //doi.org/10.1093%2Fqjmed%2Fhcg136 //doi.org/10.1177%2F070674370004500502 //www.worldcat.org/issn/0706-7437 https://books.google.com/books?id=JI9IsHAbsnsC&pg=...