อาการป่วยทางวัฒนธรรม

ในแพทยศาสตร์และมานุษยวิทยาการแพทย์ อาการป่วยทางวัฒนธรรม[1] (อังกฤษ: culture-bound syndrome หรือ culture-specific syndrome) หรือ อาการป่วยพื้นบ้าน (อังกฤษ: folk illness) เป็นการรวมกันของอาการทางจิต (psychiatric) และทางกาย (somatic) ที่ถือว่าพบได้เฉพาะในสังคมหรือวัฒนธรรมเฉพาะแห่ง โดยปราศจากการแทรกแซงอย่างมีเป้าหมายทางชีวเคมีหรือทางโครงสร้าง (no objective biochemical or structural alterations) ของอวัยวะหรือการทำงานของอวัยวะ คำว่า อาการป่วยทางวัฒนธรรม นั้นถูกรวมเข้าอยู่ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM) ฉบับที่ 4 (1994) ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกา (American Psychiatric Association) ที่ซึ่งรวมรายชื่อของอาการป่วยทางวัฒนธรรมที่พบมากที่สุด (DSM ฉบับที่ 5 - DSM-IV: Appendix I) เช่นเดียวกันกับใน ICD-10 (บท 5) ซึ่งระบุอาการเจ็บป่วยทางวัฒนธรรมใน Annex 2 ของขอบข่ายการตรวจโรคเพื่อการวิจัย (Diagnostic criteria for research)[2]ในมุมที่กว้างกว่านี้ โรคประจำถิ่น (endemic) สามารถนำมาประกอบกับรูปแบบพฤติกรรมบางอย่างภายในวัฒนธรรมที่เฉพาะเจาะจงโดยคำแนะนำ อาจเป็นไปได้ที่จะถูกเรียกว่าเป็น การแพร่ระบาดของพฤติกรรม (behavioral epidemic) เช่นในกรณีของการใช้ยาเสพติด (drug abuse) หรือการเสพติดแอลกอฮอล (alcohol abuse) และเสพติดบุหรี่ (smoking abuses) นั้นการติดต่ออาจตัดสินได้จากการบังคับทางสังคม (communal reinforcement) และผ่านปฏิสัมพันธ์รัหว่างบุคคล (person-to-person interactions) ในมุมมองของสมุฏฐานวิทยา (etiological) อาจเป็นเรื่องยากในการแยกแยะอิทธิพลต่อโรคจากวัฒนธรรมและสังคม ออกจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่นความเป็นพิษ (toxicity)[3]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาการป่วยทางวัฒนธรรม http://www.minnpost.com/second-opinion/2012/01/con... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10900522 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11434415 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14566046 http://www.who.int/entity/classifications/icd/en/G... //doi.org/10.1016%2Fb0-08-043076-7%2F03679-2 //doi.org/10.1093%2Fqjmed%2Fhcg136 //doi.org/10.1177%2F070674370004500502 //www.worldcat.org/issn/0706-7437 https://books.google.com/books?id=JI9IsHAbsnsC&pg=...