ประวัติ ของ อาการหลงผิดคะกราส์

กลุ่มอาการคะกราส์มีชื่อตามโจเซ็ฟ คะกราส์ (ค.ศ. 1873–1950) แพทย์จิตเวชชาวฝรั่งเศส ผู้ได้พรรณนาถึงความผิดปกตินี้เป็นคนแรก ในปี ค.ศ. 1923 ในผลงานวิจัยที่เขียนร่วมกับชอน เรอโบล-ลาชอซ์[10] ที่กล่าวถึงกรณีของหญิงชาวฝรั่งเศสชื่อว่า นางเอ็ม (Mme M.) ผู้ที่บ่นว่า คนตัวปลอมได้เข้ามาแทนที่สามีของเธอและคนอื่น ๆ ที่เธอรู้จัก[4] คะกราส์และเรอโบล-ลาชอซ์ได้เริ่มต้นเรียกอาการเหล่านี้ว่า "อาการหลอนเห็นตัวปลอม" (ฝรั่งเศส: l’illusion des sosies)[11]

กลุ่มอาการคะกราส์ได้รับการพิจารณาในยุคต้น ๆ ว่า เป็นโรคทางจิตเวช คือ เป็นอาการของโรคจิตเภท และเป็นโรคในหญิงเท่านั้น (แม้ว่า ตอนนี้เรารู้แล้วว่า ไม่ใช่เป็นแบบนี้[12]) โดยเป็นอาการของโรคฮิสทีเรีย คำอธิบายเกี่ยวกับกลุ่มอาการคะกราส์ที่ได้รับการเสนอหลังจากคำอธิบายของคะกราส์และเรอโบล-ลาชอซ์ เป็นคำอธิบายทางจิตเวชโดยมาก เมื่อมาถึงคริสต์ทศวรรษ 1980 เท่านั้น ที่ความสนใจในเหตุเกิดของกลุ่มอาการคะกราส์จึงเริ่มเปลี่ยนไปยังรอยโรคในสมอง ซึ่งความจริงปรากฏร่วมกับโรคมาตั้งแต่แรกแล้ว แต่ได้รับการพิจารณาว่า ไม่มีความสัมพันธ์ หรือเป็นความบังเอิญเท่านั้น ทุกวันนี้ เราเข้าใจกลุ่มอาการคะกราส์แล้วว่า เป็นความผิดปกติทางประสาท ซึ่งอาการหลงโดยหลักเกิดขึ้นจากรอยโรค หรือความเสื่อมในสมอง[13]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาการหลงผิดคะกราส์ http://www.cbc.ca/news/canada/story/2007/08/22/ot-... http://ahp.yorku.ca/?p=110 http://damninteresting.com http://www.damninteresting.com/?p=793 http://www.diseasesdatabase.com/ddb32606.htm http://www.medilexicon.com/medicaldictionary.php?t... http://www.nytimes.com/2007/09/11/health/views/11c... http://search.proquest.com/docview/57274935?accoun... http://www.psychnet-uk.com/x_new_site/DSM_IV/capgr... http://www.ted.com/talks/vilayanur_ramachandran_on...