การรักษา ของ อาการเจ็บหู

การรักษาหูเจ็บจะขึ้นอยู่กับเหตุ

ยาปฏิชีวนะ

แม้การเจ็บหูทุกอย่างจะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะไม่ได้ แต่ที่มีเหตุจากหูติดเชื้อแบคทีเรียทั่วไปก็จะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งรู้ว่าสามารถจัดการกลุ่มแบคทีเรียที่เป็นตัวการสามัญของการติดเชื้อในรูปแบบนั้น ๆ การติดเชื้อแบคทีเรียหลายอย่างจะรักษาด้วยการทำความสะอาดส่วนนั้น ให้ยาปฏิชีวนะแบบทาหรือแบบทาน/ฉีด และให้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาความเจ็บ[7][34][9]การประคบน้ำอุ่นอาจช่วยในการติดเชื้อหลายอย่าง[7]

เหตุเจ็บหูที่ปกติสามารถรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแบบทาหรือแบบทาน/ฉีดรวมทั้ง

  • หูชั้นนอกอักเสบฉับพลัน (AOE) ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน[7][34] สำหรับอาการที่ไม่ตอบสนองภายใน 10 วัน แพทย์ก็ควรจะตรวจว่ามีหูชั้นนอกอักเสบแบบทำให้เนื้อตาย (necrotizing) หรือไม่[7]
  • หูชั้นกลางอักเสบฉับพลัน (AOM) จะหายเองภายใน 24-48 ชม. ในกรณี 80%[34] ถ้าไม่หายเอง ก็จะสันนิษฐานว่ามีเหตุจากแบคทีเรียแล้วรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหลังจากทานยา 1 อาทิตย์ แพทย์ก็จะตรวจดูว่ามีปุ่มกกหูอักเสบหรือไม่[34]
  • ปุ่มรากผมอักเสบเฉียบพลัน (acute folliculitis)[34]
  • เซลล์เนื้อเยื่อหูอักเสบ (auricular cellulitis)[9]
  • หูชั้นกลางอักเสบมีหนอง (suppurative otitis media)[8] ซึ่งเสี่ยงต่อแก้วหูทะลุด้วย[8]
  • Perichondritis - แพทย์หูคอจมูกควรตรวจว่ามีวัตถุแปลกปลอมอยู่ในกระดูกอ่อนหรือไม่ ถ้ามีก็จะต้องเอาออก[34][8] ถ้ามีปัญหาในเพราะเหตุกระดูกอ่อน อาจจะต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อให้รักษาได้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น[8]
  • โพรงอากาศอักเสบ (sinusitis) สามารถก่อการเจ็บหูทุติยภูมิ (คือเจ็บต่างที่) การรักษาเหตุจะช่วยบรรเทาการเจ็บหู[34] การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดอาจต้องให้แพทย์หูคอจมูกรักษา ให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือด และเข้าโรงพยาบาล
  • หูชั้นนอกอักเสบแบบทำให้เนื้อตาย (necrotizing external otitis) อาจมีอันตรายถึงชีวิต และดังนั้น จึงควรให้แพทย์หูคอจมูกตรวจ อาจต้องเข้าโรงพยาบาลและให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือด[34][8]
  • ปุ่มกกหูอักเสบฉับพลันอาจรักษาด้วยการเข้าโรงพยาบาล ให้แพทย์หูคอจมูกตรวจ และการลองให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือด[34][7][8][9] กรณีที่มีปัญหากระจายไปถึงกะโหลกศีรษะจะรักษาด้วยการตัดปุ่มกกหู (mastoidectomy) และการเจาะแก้วหูเอาหนองออก (myringotomy)[34][9]
  • กระดูกอ่อนอักเสบ[34][8]

หัตถการ

เหตุบางอย่างของการเจ็บหูต้องรักษาด้วยหัตถการแพทย์อย่างเดียว หรือเพิ่มนอกเหนือจากการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

  • Keratosis obturans คือเยื่อบุผิวสะสมที่ช่องหูชั้นนอก ซึ่งรักษาด้วยการเอาเศษเคอราทินที่ลอกหลุดแล้วอัดแน่นออกจากช่องหู[34]
  • เยื่อหุ้มกระดูกอ่อนอักเสบเรื้อรัง (chronic perichondritis) และกระดูกอ่อนอักเสบ (chondritis) ที่คงยืนแม้จะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่สมควรแล้วอาจจำเป็นต้องตัดเล็มออก[34] การเจาะใส่ท่อระบายน้ำ/หนองก็อาจจำเป็นด้วย[9]
  • แก้วหูอักเสบแบบมีเม็ดพุพอง (bullous myringitis) ซึ่งก่อเม็ดพุพองบนแก้วหู สามารถเจาะบรรเทาความเจ็บปวด[34]
  • สิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในช่องหูอาจทำให้เจ็บ จะรักษาด้วยการเอาออกอย่างระมัดระวัง[8]
  • sebaceous cyst[upper-alpha 4] ที่ติดเชื้อสามารถรักษาด้วยการผ่าแล้วเอาหนองออกและให้ยาปฏิชีวนะ[8]

การรักษาอื่น ๆ

เพราะมีเหตุการเจ็บหูมากมาย เหตุบางอย่างจึงต้องรักษาด้วยวิธีนอกเหนือจากยาปฏิชีวนะและหัตถการ

  • relapsing polychondritis เป็นการอักเสบที่กระดูกอ่อนในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งบ่อยครั้งรวมกระดูกอ่อนที่หูทั้งสอง เป็นภาวะภูมิต้านตนเองที่รักษาด้วยยาควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน[34]
  • การทำหน้าที่ผิดปรกติของข้อต่อขากรรไกร (temporomandibular joint dysfunction) สามารถก่อการเจ็บหูทุติยภูมิ และเบื้องแรกจะรักษาด้วยการทานอาหารนิ่ม ๆ ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ การประคบด้วยความร้อน การนวดที่บริเวณนั้น และการไปหาทันตแพทย์[34][18]
  • myofascial pain syndrome เป็นความเจ็บปวดที่กล้ามเนื้อซึ่งทำหน้าที่เคี้ยวอาหาร ซึ่งเบื้องแรกรักษาด้วยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์และกายภาพบำบัด การฉีดยาระงับความรู้สึกเข้าไปในจุดสำคัญของกล้ามเนื้อ อาจพิจารณาใช้สำหรับคนไข้ที่อาการหนัก[34]
  • อาการปวดประสาทลิ้นคอหอย (glossopharyngeal neuralgia) สามารถรักษาด้วยยารักษาโรคเส้นประสาท คือคาร์บามาเซพีน[18]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาการเจ็บหู http://www.diseasesdatabase.com/ddb18027.htm http://www.emedicine.com/ent/topic199.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=388.... http://emedicine.medscape.com/article/845173-overv... http://accessmedicine.mhmedical.com/content.aspx?a... http://accessmedicine.mhmedical.com/content.aspx?a... http://accessmedicine.mhmedical.com/content.aspx?a... http://accessmedicine.mhmedical.com/content.aspx?a... http://accessmedicine.mhmedical.com/content.aspx?a... http://accessmedicine.mhmedical.com/content.aspx?a...