ลำดับกษัตริย์และผู้ปกครองอาณาจักรปัตตานี ของ อาณาจักรปตานี

มัสยิดกรือเซะ สัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรืองในอดีตของอาณาจักรปัตตานีมณฑลปัตตานี พ.ศ. 2449-2466
  1. ราชวงศ์ศรีวังสา[16][17][18]
ลำดับรายพระนามผู้ปกครองปัตตานีแห่งราชวงศ์ศรีวังสา [19]ครองราชย์ระยะเวลา
รัชกาลที่ 1สุลต่านอิสมาอิล ชาห์พ.ศ. 2043 - พ.ศ. 207330 ปี
รัชกาลที่ 2สุลต่านมูซัฟฟาร์ ชาห์พ.ศ. 2073 - พ.ศ. 210633 ปี
รัชกาลที่ 3สุลต่านมันซูร์ ชาห์พ.ศ. 2106 - พ.ศ. 21159 ปี
รัชกาลที่ 4สุลต่านปาเตะสยามพ.ศ. 2115 - พ.ศ. 21161 ปี
รัชกาลที่ 5สุลต่านบะห์ดูร์ ชาห์พ.ศ. 2116 - พ.ศ. 212711 ปี
รัชกาลที่ 6รายาฮีเยาพ.ศ. 2127 - พ.ศ. 215932 ปี
รัชกาลที่ 7รายาบีรูพ.ศ. 2159 - พ.ศ. 21678 ปี
รัชกาลที่ 8รายาอูงูพ.ศ. 2167 - พ.ศ. 217811 ปี
รัชกาลที่ 9รายากูนิงพ.ศ. 2178 - พ.ศ. 223153 ปี
  • การเปลี่ยนผ่านอำนาจทางการเมืองในช่วงปี พ.ศ. 2184 ดินแดนมลายูขณะนั้นได้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองทั้งภายในและภายนอก ที่เป็นรูปแบบการต่อสู้แย่งชิงความเป็นใหญ่หรือเป็นผู้นำสมาพันธรัฐในคาบสมุทรมลายู โดยเหตุการณ์นี้เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดความวุ่นวายต่างๆและสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในบรรดารัฐการค้าแถบคาบสมุทรมลายูอย่างมหาศาล เนื่องจากความพยายามเข้าไปมีบทบาททางการเมืองของกลุ่มขั้วอำนาจเกิดใหม่ในการแข่งขันทางการค้าและด้านแสนยานุภาพทางการทหารครั้งนี้ อย่างเช่น. รัฐซิงโฆรา รัฐเคดาห์ เมืองพัทลุง เป็นต้น[20][21]
  • เมื่อปี พ.ศ.2187 เกิดความโกลาหลภายในราชสำนักปัตตานี -เนื่องจากการแทรกแซงของรัฐอาเจะห์ โดยอาศัยช่องทางผ่านการอภิเษกสมรสครั้งใหม่ระหว่าง รายากูนิง กับ" ยังดีเปอร์ตวนมูดา รายาบาเจา(Yang Dipertuan Muda Raja Bajau) "มกุฏราชกุมารแห่งรัฐยะโฮร์ ซึ่งในเวลาต่อมากลับไปตกหลุมรักนางบำเรอที่ชื่อ" ดังซีรัต(Dang Sirat)"[22] จนหัวปักหัวปำถึงขั้นกล้าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อันเป็นการเหยียบย้ำจิตใจของชาวปัตตานีทั้งแผ่นดิน[23]
  • เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2188 ขุนนางปัตตานีที่จงรักภักดีต่อพระราชินี หมดความอดทนกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของมกุฎราชกุมารแห่งยะโฮร์และผู้ติดตามชาวอาเจะห์ จึงได้ลุกขึ้นต่อต้านพวกเขาจนกระทั่งเกิดโศกนาฏกรรมการสังหารหมู่ชาวยะโฮร์และชาวอาเจะห์ ที่หมู่บ้านปาซีร์(Pasir)[24]
  • เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2188 รายากูนิง ราชินีแห่งปัตตานีได้ส่งพระราชสาส์นถึงกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นสิ่งที่บงชี้ว่า พระองค์ประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูระบอบราชาธิปไตยแบบเดิม โดยสามารถเข้าควบคุมสถานการณ์ดังกล่าวให้กลับคืนสู่ภาวะปกติได้อีกครั้ง[25]
  • ในปี พ.ศ.2203 เกิดข้อพิพาทระหว่าง อาณาจักรปัตตานี กับ รัฐซิงโฆรา สงครามนี้เกิดขึ้นเพื่อชิงความเป็นใหญ่ในน่านน้ำคาบสมุทรมลายู จนเกิดสงครามยุทธนาวีย่อยๆอยู่หลายครั้ง ซึ่งเป็นสงครามที่ยืดเยื้อมานานหลายสิบปี และการสู้รบครั้งใหญ่เกิดขึ้นสามครั้ง ได้แก่ ในปี พ.ศ.2212 , พ.ศ.2214 และ พ.ศ.2217[26]
  • ในส่วนความขัดแย้งทางการเมืองภายในปัตตานีขณะนั้น เกิดการก่อกบฏขึ้นภายในราชสำนักโดยกลุ่มคณะรัฐประหารภายใต้การนำของรายากาลี ที่ใช้กำลังทางทหารเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลของรายากูนิง แต่ความพยายามในการรัฐประหารครั้งนี้ประสบความล้มเหลว[27] นอกจากนี้ยังมีข้อมูลตามตำนานมุขปาฐะได้กล่าวกันว่า ในปี พ.ศ. 2192-พ.ศ. 2196 ความขัดแย้งในอาณาจักรปัตตานีเกิดจากการเข้ามามีอิทธิพลของรายาศักตีจากกลันตัน ที่ได้รับการสนับสนุนจากราชสำนักอยุธยาในการโค่นล้มรายากูนิง โดยฉวยโอกาสก่อการกบฏในช่วงที่การเมืองภายในปัตตานีกำลังเผชิญปัญหาวิกฤตจากการแทรกแซงของชาวอาเจะห์และอยุธยา[28]
  • สิ้นสุดเชื้อสายราชวงศ์ศรีวังสา. ในช่วงบั้นปลายชีวิตของรายากูนิง ขณะที่พระองค์ทรงครองราชย์หลังจากผ่านพ้นวิกฤติเหล่านั้นได้ไม่นาน รายากูนิงเริ่มมีพระอาการประชวรสาหัสจนเสด็จสวรรคต โดยไม่มีโอรสหรือธิดาที่จะสืบราชสันตติวงศ์ และมิได้มีการสถาปนาตำแหน่งมกุฏราชกุมารเพื่อขึ้นครองราชย์เป็นประมุขแห่งรัฐสืบต่อจากพระองค์. รายากูนิงจึงเป็นประมุของค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรปัตตานีที่สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ศรีวังสา และมีการเฉลิมพระนามถวายแด่พระองค์ภายหลังเสด็จสวรรคตว่า" มัรฮูมเบอซาร์ " เนื่องจากพระองค์เคยอภิเษกสมรสกับ ยังดีเปอร์ตวนเบอซาร์ รายาบูจัง(Yang Dipertuan Besar Raja Bujang) ประมุขแห่งรัฐยะโฮร์. หลังจากนั้นเหล่าบรรดาเสนาบดีทั้งปวงมารวมตัวกันประชุมเพื่อหารือเรื่องในการแต่งตั้งประมุของค์ใหม่ จึงได้มีการอันเชิญผู้ที่มีเชื้อสายเจ้าเมืองจากกลันตัน ให้ขึ้นมาเป็นประมุขแห่งอาณาจักรปัตตานีสืบไป[29]


  1. ราชวงศ์กลันตันที่หนึ่ง.[30](ประมุขหุ่นเชิด)[31] ประมุขทุกพระองค์ในราชวงศ์กลันตันจะต้องผ่านการรับรองหรือได้รับการแต่งตั้งโดยเหล่าบรรดาเสนาบดีผู้ทรงอิทธิพลในปัตตานี ซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์.
ลำดับรายพระนามผู้ปกครองปัตตานีแห่งราชวงศ์กลันตัน [32]ครองราชย์ระยะเวลา
รัชกาลที่ 1รายาบากาลพ.ศ. 2231 - พ.ศ. 22332 ปี
รัชกาลที่ 2รายามัสกลันตันพ.ศ. 2233 - พ.ศ. 224714 ปี
รัชกาลที่ 3รายามัสจายัมพ.ศ. 2247 - พ.ศ. 22503 ปี

(ครั้งแรก)

รัชกาลที่ 4รายาเดวีพ.ศ. 2250 - พ.ศ. 22599 ปี
รัชกาลที่ 5รายาบึนดังบาดันพ.ศ. 2259 - พ.ศ. 22634 ปี
รัชกาลที่ 6รายาลักษมณาดาจังพ.ศ. 2263 - พ.ศ. 22641 ปี
รัชกาลที่ 7รายามัสจายัมพ.ศ. 2264 - พ.ศ. 22717 ปี

(ครั้งที่สอง)

รัชกาลที่ 8รายาอาหลงยูนุส[33]พ.ศ. 2271 - พ.ศ. 22721 ปี
รัชกาลที่ 9สุลต่านมูฮัมหมัด ดูวาพ.ศ. 2319 - พ.ศ. 232910 ปี

ภายใต้การปกครองของสยาม

ลำดับนามปีที่ปกครอง
1รายาบังดังบันดัน หรือเติงกูลามีเด็นพ.ศ. 2328-2334ภายใต้การปกครองของสยาม
2ดาโต๊ะปังกาลันพ.ศ. 2334-2352
3พระยาตานี (ขวัญซ้าย)พ.ศ. 2352-2358
4พระยาตานี (พ่าย)พ.ศ. 2358-2359
5ตวนสุหลงพ.ศ. 2359-2375
6นิยูโซ๊ะพ.ศ. 2375-2381
7พระยาวิชิตภักดีศรีสุรวังษารัตนาณาเขตรประเทศราช (ตนกูปะสา)พ.ศ. 2381-2399
8พระยาวิชิตภักดีศรีสุรวังษารัตนาณาเขตรประเทศราช (เต็งกูปูเตะ)พ.ศ. 2399-2425
9พระยาวิชิตภักดีศรีสุรวังษารัตนาณาเขตรประเทศราช (เต็งกูตีมุง)พ.ศ. 2425-2433
10พระยาวิชิตภักดีศรีสุรวังษารัตนาณาเขตรประเทศราช (เต็งกูสุไลมานซารีฟุดดีน)พ.ศ. 2433-2442
11พระยาวิชิตภักดีศรีสุรวังษารัตนาเขตประเทศราช (เต็งกูอับดุลกอเดร์ กามารุดดีน)พ.ศ. 2442-2445

ใกล้เคียง

อาณาจักรอยุธยา อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) อาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรธนบุรี อาณาจักรพระนคร อาณาจักรปตานี อาณาจักรโคตรบูร อาณาจักรฟูนาน

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาณาจักรปตานี http://www.oknation.net/blog/print.php?id=628571 http://www.kananurak.com/mcontents/marticle.php?Nt... http://atcloud.com/stories/23146 http://webhost.m-culture.go.th/province/pattani/PD... http://www.oknation.net/blog/print.php?id=659130 http://www.geocities.ws/prawat_patani/patanilupa_t... http://www.peace.mahidol.ac.th/th/doc/separatist%2... http://haab.catholic.or.th/article/articleart1/art... http://www.fatonionline.com/4524 http://books.google.com/books/about/Muslim_Separat...