จากบันทึกของชาวจีน ของ อาณาจักรฟูนาน

เรื่องราวของฟูนันได้ทราบจากบันทึกของชาวจีนชื่อ คังไถ่ ซึ่งเดินทางมากับคณะทูตจีน ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 3 นักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตกนำมากล่าวอ้างอิงกันมาก แต่ปัจจุบันได้มีนักวิชาการนำบันทึกของคังไถ่มาวิเคราะห์กันใหม่ และได้แสดงความคิดเห็นคัดค้านข้อมูลเกี่ยวกับฟูนัน โดยยกเหตุผลมาสนับสนุนข้อคัดค้านของตนดังได้กล่าวมาแล้ว ในเรื่องพัฒนาการของสังคมเผ่าเป็นสังคมรัฐ และยังมีอีกหลายประเด็นที่ เคนเนธ อาร์.ฮอลล์ กล่าวไว้รวมทั้งตำนานเกี่ยวกับการเข้ามาตั้งฟูนันโดย พราหมณ์โกณธิญญะ มาแต่งงานกับ นางพระยาหลิวเหย่ ว่าเป็นเรื่องของการใช้ตำนานเพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์น่ายินดีและเพื่อสถานภาพของกษัตริย์ ความเห็นนี้ตรงกับ มิสตัน ออสบอร์น ที่กล่าวว่า “เรื่องดังกล่าวเป็นตำนานเล่ากันมา เป็นการบิดเบือน เพื่อหวังผลทางปฏิบัติอย่างสูง สำหรับคนระดับที่เป็นผู้ปกครองของรัฐนี้”

ฟูนันรับวัฒนธรรมอินเดียทั้งรูปแบบการปกครอง สังคม วัฒนธรรม อิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียมีอยู่มากในชนระดับสูง ส่วนชาวบ้านทั่วไปยังยึดมั่นในขนบประเพณีสังคมดั้งเดิมของตนอยู่ ฟูนันมีลักษณะเป็นรัฐชลประทาน มีการชลประทานเพื่อปลูกข้าว โดยการขุดคูคลองทำนบกักเก็บน้ำ แล้วระบายไปยังไร่นาต่าง ๆ ขณะเดียวกัน ก็มีเมืองท่าชื่อเมืองออกแก้ว เป็นแหล่งนำรายได้ผลประโยชน์มาสู่รัฐอีกทางหนึ่ง นำความอุดมสมบูรณ์มาให้ด้วย ฟูนันยั่งยืนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่6 จึงตกอยู่ใต้การปกครองของรัฐเจนละ สาเหตุแห่งความพ่ายแพ้หรือความเสื่อมสลายนี้ ได้มีหลักฐานแน่ชัดจากพงศาวดารราชวงศ์ถัง ซึ่งคณะทูตชาวจีนที่เดินทางไปยังดินแดนแถบฟูนัน ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 กล่าวเพียงว่า ได้พ่ายแพ้แก่พวกเจนละ กษัตริย์ฟูนันต้องหนีไปทางใต้ ฟูนันเป็นรัฐที่เรืองอำนาจแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถรักษาเกียรติภูมิอันยิ่งใหญ่ เป็นที่ระลึกแก่คนรุ่นหลัง เห็นได้จากเหตุการณ์หลังจากที่รัฐเจนละเข้าครอบครองฟูนันแล้ว กษัตริย์ของเจนละทุกพระองค์ได้รับเอาเรื่องราวของราชวงศ์ฟูนันเป็นของตนด้วย และสมัยต่อมา คือ สมัยนครวัด กษัตริย์ทุกพระองค์ที่นครวัดถือว่าพระองค์สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์แห่งเมืองวยาธปุระทั้งสิ้น จึงกล่าวได้ว่า รัฐฟูนันน่าจะมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยแพร่ขยายอารยธรรมอินเดียในอินโดจีน และเป็นรัฐที่เป็นรากฐานของประเทศกัมพูชา

ใกล้เคียง

อาณาจักรอยุธยา อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) อาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรธนบุรี อาณาจักรโคตรบูร อาณาจักรพระนคร อาณาจักรปตานี อาณาจักรแห่งกาลเวลา