การก่อตัวและชายแดน ของ อาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 843 สามปีหลังสงครามกลางเมืองที่ตามมาหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าหลุยส์ผู้ศรัทธาเมื่อ 20 มิถุนายน ค.ศ. 840 สนธิสัญญาแวร์เดิงถูกลงนามโดยพระโอรสและทายาททั้งสาม คนเล็กสุด ชาร์ลผู้หัวล้าน ได้รับเวสต์ฟรังเกีย

นับตั้งแต่การสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าปิปปินที่ 1 แห่งอากีแตนในเดือนธันวาคม ค.ศ. 838 พระโอรสของพระองค์ได้รับการยอมรับจากเหล่าขุนนางอากีแตนให้เป็นพระเจ้าปิปปินที่ 2 แห่งอากีแตน แม้การสืบทอดต่อจะไม่ได้รับการยอมรับจากจักรพรรดิก็ตาม ชาร์ลผู้หัวล้านทำสงครามกับปิปปินที่ 2 ตั้งแต่เริ่มต้นรัชสมัยของพระองค์ใน ค.ศ. 840 และสนธิสัญญาแวร์เดิงได้ปฏิเสธการอ้างสิทธิ์และการยกอากีแตนให้เป็นของชาร์ล[3] ดังนั้น ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 845 หลังความพ่ายแพ้ทางทหารหลายครั้ง ชาร์ลได้ลงนามในสนธิสัญญาเบอร์นัวต์-ซูร์-ลัวร์และยอมรับการปกครองของพระนัดดา ข้อตกลงนี้คงอยู่มาจนถึง 25 มีนาคม ค.ศ. 848 เมื่อบารอนอากีแตนยอมรับชาร์ลเป็นกษัตริย์ หลังจากนั้นกองทัพของชาร์ลกุมความได้เปรียบ และใน ค.ศ. 849 ก็สามารถรักษาอากีแตนเอาไว้ได้[4] ในเดือนพฤษภาคม ชาร์ลสวมมงกุฎให้ตนเองเป็น "กษัตริย์ของชาวแฟรงก์และชาวอากีแตน" ในเออร์ลียงส์ อาร์ชบิชอปเวนิโลแห่งซ็องส์เป็นผู้ประกอบพิธีในการราชาภิเษก ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการเจิมน้ำมันหลวงในเวสต์ฟรังเกีย

ใกล้เคียง

อาณาจักรอยุธยา อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) อาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรธนบุรี อาณาจักรพระนคร อาณาจักรปตานี อาณาจักรโคตรบูร อาณาจักรฟูนาน