เคมีของอำพัน ของ อำพัน

อำพันมีองค์ประกอบเป็นสารเนื้อผสม แต่เนื้อของมันก็ประกอบไปด้วยสารมีชันหลายชนิดที่ละลายได้ในเอทานอล ไดเอตทิลอีเทอร์ และคลอโรฟอร์ม รวมถึงสารที่ละลายไม่ได้จำพวกบิทูเมน อำพันประกอบไปด้วยสารโมเลกุลขนาดใหญ่จากการเกิดพอลิเมอร์ด้วยการเติมอนุมูลอิสระของสารดั้งเดิมในกลุ่มของแลบเดน กรดคอมมูนิก คัมมูนอล และไบโฟร์มีน[4] สารแลบเดนนี้เป็นไดเทอร์ปีน (C20H32) และไทรอีนซึ่งหมายความว่าเป็นโครงร่างทางอินทรีย์สารของอัลคีน 3 กลุ่มที่ยอมให้เกิดพอลิเมอร์ เมื่ออำพันมีอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะมีการเกิดพอลิเมอร์มากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกันพร้อม ๆ ไปกับปฏิกิริยาไอโซเมอร์ การเชื่อมโยงข้าม และการจัดเป็นวง องค์ประกอบเฉลี่ยทั่ว ๆ ไปของอำพันเขียนเป็นสูตรทางเคมีได้ว่า C10H16O

อำพันมีความแตกต่างไปจากโคปอล การเกิดพอลิเมอร์ระหว่างโมเลกุลภายใต้ความกดดันและอุณหภูมิทำให้ยางไม้เปลี่ยนไปเป็นโคปอลก่อน จากนั้นเมื่อโคปอลมีอายุมากขึ้นไปอีกสารเทอร์ปีนในเนื้อของมันจะค่อย ๆ ระเหยออกไปตามกาลเวลาก็จะทำให้โคปอลเปลี่ยนไปเป็นอำพัน

อำพันบอลติกมีความแตกต่างไปจากอำพันชนิดอื่น ๆ ของโลกด้วยเนื้อของมันมีกรดซักซินิก[ต้องการอ้างอิง] ที่ทำให้อำพันบอลติกเป็นที่รู้จักกันในนามของซัคคิไนต์

แหล่งที่มา

WikiPedia: อำพัน http://science.enotes.com/how-products-encyclopedi... http://www.farlang.com/gemstones/amber http://www.farlang.com/gemstones/king-gems-decorat... http://www.msnbc.msn.com/id/17168489/ http://query.nytimes.com/gst/fullpage.html?sec=hea... http://www.patent-invent.com/electricity/invention... http://www.saudiaramcoworld.com/issue/196806/worry... http://www.stringsmagazine.com/instruments/Back_Is... http://www.webmineral.com/data/Amber.shtml http://www.ucmp.berkeley.edu/museum/171online/PB17...