นิยาม ของ อินเตอร์เซกชัน

สมมติให้วงกลมสองวงเป็นเซต A กับ B พื้นที่สีม่วงคือการอินเตอร์เซกชันของเซตทั้งสอง

สมมติว่าเอกภพสัมพัทธ์ U ได้นิยามแล้ว กำหนดให้เซตสองเซต A และ B เป็นเซตย่อยของ U การอินเตอร์เซกชันจะให้ผลเป็นเซตใหม่ที่มีสมาชิกทั้งหมดที่ปรากฏอยู่ใน A และ B โดยไม่มีสมาชิกอื่นนอกเหนือจากนี้ นั่นคือ

A ∩ B = { x ∈ U | x ∈ A ∧ x ∈ B } {\displaystyle A\cap B=\{x\in \mathbf {U} \,|\,x\in A\land x\in B\}}

ตัวอย่างเช่น กรณีที่มีสมาชิกบางส่วนเหมือนกัน ดังนั้นผลของการอินเตอร์เซกชันจึงเป็นเซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เหมือนกันเหล่านั้น

A = { 1 , 2 , 3 } B = { 2 , 3 , 4 } A ∩ B = { 2 , 3 } {\displaystyle {\begin{aligned}A&=\{1,2,3\}\\B&=\{2,3,4\}\\A\cap B&=\{2,3\}\\\end{aligned}}}

หากทั้งสองเซตมีสมาชิกที่แตกต่างกัน คือไม่มีสมาชิกตัวใดเหมือนกันเลย ผลของการอินเตอร์เซกชันจะได้เซตว่าง เราจะกล่าวว่าทั้งสองเซตนั้น ไม่มีส่วนร่วม (disjoint) ต่อกัน

A = { 1 , 2 , 3 , 4 } B = { 5 , 6 , 7 , 8 } A ∩ B = ∅ {\displaystyle {\begin{aligned}A&=\{1,2,3,4\}\\B&=\{5,6,7,8\}\\A\cap B&=\varnothing \\\end{aligned}}}

ใกล้เคียง

อินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ อินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลก อินเตอร์เนชันแนลแชมเปียนส์คัพ ฤดูกาล 2016 อินเตอร์เนชันแนลแชมเปียนส์คัพ ฤดูกาล 2015 อินเตอร์เนชันแนลแชมเปียนส์คัพ ฤดูกาล 2013 อินเตอร์นิวรอนไขสันหลัง อินเตอร์เนชันแนลแชมเปียนส์คัพ ฤดูกาล 2018 อินเตอร์เนชันแนลแชมเปียนส์คัพ ฤดูกาล 2017 อินเตอร์ซิตี-เอ็กซ์เพรส