อนุกรมวิธาน ของ อีกาโคนปากขาว

อีกาโคนปากขาว หรือ รุค (Corvus frugilegus) ได้รับการขึ้นทะเบียนชื่อทวินาม โดย Carl Linnaeus นักธรรมชาติวิทยาชาวสวีเดนในปี 1758 ในหนังสือ Systema Naturae ชื่อทวินามจาก ภาษาละติน Corvus หมายถึง "กา" และ frugilegus หมายถึง "การเก็บผลไม้" มีที่มาจาก frux หรือ frugis แปลว่า "ผลไม้" และ legere แปลว่า "เลือก"[27] ชื่อสามัญ ในภาษาอังกฤษชื่อสามัญ "rook" มาจากเสียงร้องที่ดังและเกรี้ยวกราดของอีกาโคนปากขาว[28] พฤติกรรมการทำรังในอาณานิคมของพวกมันก่อให้เกิดคำว่า รุคเคอรี (rookeries)[29] ซึ่งมีความหมายสแลงคล้ายคำว่า รังโจร

อีกาโคนปากขาวไม่ใช่นกที่พบในประเทศไทย ยกเว้นที่เป็นนกพลัดหลง ซึ่งพบได้น้อยมาก[30]

2 ชนิดย่อยที่ได้รับการยอมรับ ได้แก่

  • อีกาโคนปากขาวตะวันตก ( Corvus frugilegus frugilegus ) พบได้ตั้งแต่ยุโรปตะวันตก ไปจนถึงรัสเซียตอนใต้ และบางส่วนทางตะวันตกเฉียงเหนือสุดของจีน[31]
  • อีกาโคนปากขาวตะวันออก ( Corvus frugilegus pastinator ) พบได้ตั้งแต่ไซบีเรียตอนกลาง และมองโกเลียตอนเหนือไปทางตะวันออกทั่วเอเชียตะวันออก ได้แก่ จีน เกาหลี เกาะคีวชูของญี่ปุ่น [31]
สายพันธุ์ที่คล้ายกัน
อีกาโคนปากขาว (Rook)อีกากินซาก (Carrion crow)อีกาแจคดอว์ (Jackdaw)นกเรเวน (Common raven)อีกาปากหนา (Large-billed crow)
อีกาโคนปากขาวอีกากินซากอีกาแจคดอว์นกเรเวน หรือ อีกาเรเวนอีกาปากหนา
  • จะงอยปากเรียว
  • ผิวหนังที่เปลือยเปล่ารอบจะงอยปาก
  • ขนปีกที่หลวม ๆ
  • หัวแบน
  • โคนจะงอยปากมีขนสีดำ จะงอยปากสั้นและหนาโค้งลงเล็กน้อย
  • ขนที่แน่น
  • หัวส่วนบน (กระหม่อม) แบน
  • จะงอยปากสีดำ โคนจะงอยปากสั้นและหนา
  • ขนสีเทาขึ้นรอบคอและท้ายทอยอย่างเห็นได้ชัด
  • ตาสีขาว
  • ขนาดตัวค่อนข้างเล็ก
  • หัวส่วนบน (กระหม่อม) แบน, หัวใหญ่
  • จะงอยปากโคนแหลมสีดำ จะงอยปากยาวปลายโค้งงอ
  • ขนที่คอยาวกว่าซึ่งสามารถแยกออก ตั้งชี้เป็นเหมือนเคราได้
  • จะงอยปากใหญ่มาก ยาว และหนา
  • ขนาดตัวค่อนข้างใหญ่
  • ขนสีิิออกเทาขึ้นรอบคอ และลำตัวด้านล่าง
นกพลัดหลง ในประเทศไทย[30]ไม่พบในประเทศไทยไม่พบในประเทศไทยไม่พบในประเทศไทยนกประจำถิ่นของประเทศไทย[32]