ภาคใต้ ของ อุทกภัยในประเทศไทย_พ.ศ._2554

จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ได้แก่

พังงา

วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 สมเกียรติ อินทรคำ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพังงา เปิดเผยว่า สถานการณ์โดยร่วมทั้งจังหวัดพังงา มี 36 ตำบล 220 หมู่บ้าน 4,070 ครัวเรือน ราษฎร 18,712 คน ได้รับความเดือดร้อน[103]

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ระนอง

ที่จังหวัดระนอง เกิดฝนตกหนักในพื้นที่อำเภอสุขสำราญ ตั้งแต่คืนวันที่ 24 สิงหาคม ทำให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือน และโรงเรียนดำรงค์ศาสน์ที่อยู่ริมคลองกำพวน พื้นที่หมู่ที่ 2, 3 และหมู่ที่ 5 รวมทั้งตลาดกำพวน และวัดสถิตย์ธรรมมาราม ด้านองค์การบริหารส่วนตำบลกำพวน ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้น

ชาสันต์ คงเรือง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า หลายอำเภอในจังหวัดเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากหลายพื้นที่ ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ซึ่งได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้เตรียมความพร้อมอพยพไปอยู่ในที่ปลอดภัยแล้ว[104]

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ชุมพร

พินิจ เจริญพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย ดินและหินถล่มจังหวัดชุมพร ได้มีหนังสือด่วนที่สุดถึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดชุมพร ประกาศเตือนภัย ช่วงวันที่ 27-30 ตุลาคม 2554 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติดังนี้ 1. แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้ทราบ เตรียมการป้องกันระมัดระวังอันตราย ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ในช่วงเวลาดังกล่าว และให้ติดตามประกาศเตือนภัย จากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด 2. แจ้งเตือนชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือในช่วงดังกล่าว และห้ามเรือเล็กออกจากฝั่งในระยะนี้[105]

นครศรีธรรมราช

วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554 หลังฝนตกหนักในหลายพื้นที่นานกว่า 3 วัน ทำให้เกิดน้ำท่วมขังแล้วในบางพื้นที่ อย่างเช่น ที่โครงการหมู่บ้านจัดสรรจามจุรี บ้านหนองตะลุมปุ๊ก หมู่ที่ 10 ตำบลหนองบัวศาลา อำเภอเมือง ที่เป็นพื้นที่ถูกน้ำท่วมซ้ำซากนานกว่า 4 ปี ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักตลอดทั้งวานนี้ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมภายในหมู่บ้านแล้วประมาณ 10 เซนติเมตร ขณะที่บริเวณถนนปากทางเข้าหมู่บ้านและพื้นที่โดยรอบมีน้ำท่วมขังสูงกว่า 35 เซนติเมตร โดยทางองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวศาลาใช้รถกระจายเสียงออกประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนที่อาศัยภายในหมู่บ้านเตรียมอพยพข้าวของไว้บนที่สูง และให้นำรถยนต์ขนาดเล็กออกมาจอดไว้ที่ริมถนนด้านหน้าหมู่บ้าน[106]

สตูล

วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554 น้ำท่วมสตูลขยายวงกว้าง 4 อำเภอ ชาวบ้านเดือดร้อนกว่า 2 พันครัวเรือน อำเภอควนโดนประสบภัยหนักที่สุด บางหลังท่วมถึงหลังคาบ้าน ทหารและองค์การบริหารส่วนตำบลเร่งให้ความช่วยเหลือ สถานการณ์น้ำท่วมต่อมาได้ขยายวงกว้างแล้วเป็น 4 อำเภอ คือ อำเภอควนกาหลง ควนโดน ท่าแพและละงู โดยอำเภอควนโดนน้ำได้เข้าท่วมพื้นที่หมู่ 1, 2, 4, 5, 7 และ 9 โดยเฉพาะหมู่ 7 บ้านบูเก็ตยามู ระดับน้ำสูงเกือบ 2 เมตร บางจุดท่วมถึงหลังคาบ้าน ได้รับความเดือดร้อนกว่า 100 ครัวเรือน ทางทหารกองร้อย 5 พัน 2 และอส.ควนโดนได้นำเต้นท์ไปกางข้างถนนเพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้อาศัยชั่วคราวขณะที่น้ำยังไหลทะลักเข้ามามากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนที่อำเภอท่าแพ น้ำได้ท่วมพื้นที่ตำบลท่าแพ หมู่ 2, 3, 4, 5, 6 และ 9 ชาวบ้านกว่า 700 ครัวเรือนได้รับความเดือนร้อน[107]

สงขลา

วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ทางจังหวัดสงขลาได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเพิ่มเป็น 8 อำเภอ 42 ตำบล 276 หมู่บ้าน จากที่เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ได้ประกาศ 5 อำเภอ[108] โดยมีราษฎรได้รับความเดือดร้อน 20,078 ครัวเรือน 4,983 คน อพยพ 459 คน แต่ระดับน้ำเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง[109]วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ที่พื้นที่บ้านคลองปอม ต.บ้านพรุ พื้นที่บ้านทุ่งลุง ต.พะตง ซึ่งอยู่ในเขต อ.หาดใหญ่ปรากฏว่าฝนตกกระหน่ำอย่างหนักและต่อเนื่องในช่วงบ่ายวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554จนถึงขณะนี้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ก็ยังคงมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมจนบ้านเรือน ทรัพย์สิน และภาคการเกษตรของประชาชนได้รับความเสียหายชนิดไม่ทันตั้งตัว[110]

กระบี่

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกระบี่ออกประกาศเตือนให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนัก อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มได้ และงดเรือเล็กออกจากฝั่ง หลังฝนตกหนักในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 [111] ทำให้ปริมาณน้ำในคลองกระบี่ใหญ่ ซึ่งเป็นคลองที่รับน้ำจากน้ำตกห้วยโต้ อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา ตำบลทับปริก อำเภอเมืองกระบี่ เพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว น้ำเป็นสีโคลน พัดเอากิ่งไม้ ต้นไม้มาเป็นจำนวนมาก เรือประมงกว่า 100 ลำงดเดินเรือ[112] ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในจังหวัดกระบี่

ภูเก็ต

ชัยรัตน์ สุขบาล รองนายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ว่า ฝนที่ตกสะสมมาตั้งแต่ช่วงเย็นวานนี้ ต่อเนื่องมาจนถึงช่วงเช้าของวันที่ 25 สิงหาคม ส่งผลให้ถนนหลายสายของป่าตองประสบปัญหาน้ำท่วมขัง ประกอบกับน้ำทะเลหนุน ทำให้การระบายน้ำทำได้ยาก ทางเทศบาลฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปแก้ปัญหาในการขุดลอกคลองและระบายน้ำในจุดต่าง ๆ มีน้ำไหลเข้าท่วมบ้านเรือน รวมถึงโรงพยาบาลป่าตองด้วย สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ นับว่าหนักสุดในรอบ 8 ปี หลังเหตุการณ์สึนามิ พ.ศ. 2547 นอกจากนี้ ในพื้นที่ยังมีปัญหาดินสไลด์ ที่บริเวณถนน 50 ปี นอกจากนี้มีรายงานว่า ที่บริเวณหมู่ที่ 5 บ้านหัวควน ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ น้ำท่วมขังบ้านเรือนประมาณ 10 หลัง น้ำท่วมสูงประมาณ 50 เซนติเมตร ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพ[113]

ฝนตกหนักตั้งแต่คืนวันที่ 4 ตุลาคม ถึง 5 ตุลาคม ส่งผลให้หลายพื้นที่เกิดน้ำท่วมขังหลายจุด อาทิ ตำบลรัษฎา ตำบลฉลอง อำเภอเมือง และเขตเทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ โดยที่หมู่บ้านพร้อมพันธ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง มีน้ำท่วมขัง ประชาชนในหมู่บ้านเกือบ 200 หลังคาเรือนได้รับความเดือดร้อน น้ำท่วมสูง 50 เซนติเมตร เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลรัษฎา นำกระสอบทรายไปกั้น[114]

ตรัง

วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554 ได้เกิดน้ำท่วมในอำเภอปะเหลียนและอำเภอย่านตาขาว หลังฝนตกหนักติดต่อกันนาน 2-3 วัน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 337 ครัวเรือน[115]

วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดตรัง ปริมาณน้ำยังท่วมสูงขึ้นในหลายหมู่บ้าน เพราะมีฝนตกลงมาเป็นระยะ เช่น หมู่ 7 ตำบลนาโยงใต้ ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น 20 เซนติเมตร ทำให้พื้นที่น้ำท่วมขยายวงกว้าง ชาวบ้านเดือดร้อนนับร้อยหลังคาเรือน บางจุดระดับน้ำสูงถึง 2 เมตร จนต้องอพยพไปอาศัยเต็นท์ริมถนนแทน ส่วนพื้นที่การเกษตร ตำบลนาโยงใต้และนาบินหลาถูกน้ำท่วมไปแล้วกว่า 500 ไร่[116]

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง สรุปสถานการณ์น้ำท่วมหลังจากที่เกิดฝนตกลงมาอย่างหนักติดต่อกัน ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน รวมระยะเวลา 5 วัน ว่า มีรายงานน้ำท่วมขังในพื้นที่ตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด ระดับน้ำโดยเฉลี่ยสูงประมาณ 20-70 เซนติเมตร ส่วนใหญ่เป็นบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มติดกับคลองลำภูรา ซึ่งเชื่อมต่อกับแม่น้ำตรัง

สรุปสถานการณ์น้ำท่วมขังในจังหวัดตรังล่าสุด พบว่า มีพื้นที่ได้รับผลกระทบแล้ว 7 หมู่บ้าน 3 ตำบล 2 อำเภอ คือ อำเภอห้วยยอด จำนวน 129 ครัวเรือน และอำเภอเมืองตรัง จำนวน 55 ครัวเรือน รวมชาวบ้านประสบภัย 184 ครัวเรือน[117]

ปัตตานี

วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 น้ำท่วมใน 12 อำเภอของจังหวัดปัตตานี รวม 219 หมู่บ้าน 59 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 3,000 ครัวเรือน จังหวัดปัตตานีได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติ 1 อำเภอ คือ อำเภอเมือง[118] ในหลายพื้นที่ ประชาชนต้องอพยพขึ้นไปอาศัยในเต็นท์บนถนนที่ทางหน่วยราชการจัดไว้ให้ ทั้งนี้ระดับน้ำได้ท่วมสูงเกือบ 2 เมตร [119] หลายโรงเรียนต้องปิดการเรียนการสอน

วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปัตตานี ประกาศให้พื้นที่ทั้งจังหวัดเป็นพื้นที่เกิดภัยพิบัติ เพราะน้ำเหนือจากจังหวัดยะลายังไหลลงสูงแม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำสายบุรีอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำได้ล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ราบลุ่ม ประชาชนได้รับความเดือดร้อนหลายพันครัวเรือน ซึ่งขณะนี้หลายหน่วยงานเร่งเข้าให้ความช่วยเหลือ สรุปพื้นที่เกิดภัยพิบัติทั้ง 12 อำเภอ รวมทั้งสิ้น 60 หมู่บ้าน 247 ตำบล ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 59,784 คน 14,125 ครัวเรือน ส่วนพื้นที่ติดแม่น้ำทั้งสองสายยังมีระดับน้ำอยู่ที่ 1-2 เมตร[120]

ยะลา

วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ในพื้นที่จังหวัดยะลา ฝนตกหนักติดต่อกันทำให้น้ำเอ่อล้นหลายพื้นที่ ทำให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อนกว่า 200 ครัวเรือน และมีผู้เสียชีวิตจากการถูกน้ำพัดแล้วจำนวน 2 ราย[121]

วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 แวโรจน์ สายทองแท้ หัวหน้างานปกป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา กล่าวว่า ระยะนี้ เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก ทำให้น้ำในแม่น้ำปัตตานีและสายบุรีเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนที่อยู่ริมชายฝั่งและเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ราบลุ่มในเขตเทศบาลนครยะลา และในพื้นที่ หมู่ 3 ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนเพิ่มเป็น 1,000 ครัวเรือน[122] วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาอุทกภัย จังหวัดยะลา สรุปมี 5 อำเภอประสบปัญหาน้ำท่วมแล้ว ขณะที่ประชาชนเดือดร้อนกว่า 2 หมื่นคน[123]

นราธิวาส

วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ธนน เวชกรกานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่มจังหวัดนราธิวาส ได้ประกาศให้พื้นที่ทั้งจังหวัดเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ อย่างไรก็ตาม ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ รายงานสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสว่า มีพื้นที่เดือดร้อน 63 ตำบล 221 หมู่บ้าน มีผู้ประสบภัย 48,583 คน รวม 13,473 ครัวเรือน เจ้าหน้าที่ได้อพยพชาวบ้าน 82 ครัวเรือน 388 คน นอกจากนี้ ในพื้นที่อำเภอจะแนะ มีผู้เสียชีวิตเนื่องจากมีโรคประจำตัวและยืนแช่น้ำเป็นเวลานานอีก 1 ราย[124]

พัทลุง

วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 จังหวัดพัทลุงยังมีฝนตกหนักทั้งจังหวัด ทำให้น้ำป่าจากเทือกเขาบรรทัดไหลเข้าท่วมบ้านเรือนอย่างต่อเนื่อง ระดับน้ำสูง 0.8-1 เมตร ถนนหลายสายรถเล็กไม่สามารถผ่านได้ บางเส้นเฉพาะเรือเท่านั้นที่ผ่านได้ ขณะที่พื้นที่โซนล่างริมทะเลสาบสงขลาในอำเภอเขาชัยสน, บางแก้ว, ปากพะยูน และควนขนุน ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำเหนือจากเทือกเขาบรรทัด หลายหมู่บ้านน้ำท่วมสูงจนชาวบ้านต้องใช้เรือสัญจร[125] เวลา 13.00 น. ธนกร ตะบันพฤกษ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพัทลุง ได้สรุปรายงานสภาพน้ำท่วมในจังหวัด พบว่าทุกพื้นที่ยังมีฝนตกหนักต่อเนื่องและมีน้ำท่วมเป็นวงกว้างทุกอำเภอ ทางจังหวัดประกาศให้ทุกอำเภอเป็นเขตภัยพิบัติฉุกเฉินแล้ว[126]

วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 น้ำได้เข้าท่วมถนนเอเซียขาขึ้นพัทลุง-หาดใหญ่ โดยน้ำท่วมถนนระยะทางประมาณ 700 เมตร และมีชาวบ้านจมน้ำเสียชีวิต 1 คน ขณะที่ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูนถูกระบุว่าเป็นพื้นที่ประสบอุทกภัยบริเวณกว้างและร้ายแรง[127]

วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 กันภัย พลพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลฝาละมี กล่าวว่า พื้นที่ตำบลฝาละมี มี 11 หมู่บ้าน 3,170 ครัวเรือน ประชากร 10,585 คน และในวันที่ 21-24 พฤศจิกายน มีฝนตกหนักน้ำได้ไหลเข้าท่วมในพื้นที่หมู่ 3, 4, 6, 7 และ 8 ทางสำนักงานฯ ได้รับรายงานมีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย[128]

วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554 สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพัทลุงยังคงน่าเป็นห่วง โดยฝนที่ตกลงมาอย่างหนักและต่อเนื่อง ทำให้น้ำป่าจากเทือกเขาบรรทัดได้ไหลทะลักท่วมในพื้นที่อำเภอกงหรา, อำเภอตะโหมด, อำเภอศรีบรรพต, อำเภอเมือง, อำเภอเขาชัยสน, อำเภอศรีนครินทร์, อำเภอบางแก้ว และอำเภอป่าพะยอม ทำให้บ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตร สวนยางพาราและนาข้าวจมอยู่ใต้น้ำ ถนนหลายสายมีน้ำท่วมสูง ชาวบ้านกว่า 30,000 ครัวเรือนได้รับความเดือดร้อน[129]

สุราษฎร์ธานี

ธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลากและคลื่นลมแรง ตั้งแต่วันที่ 20-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 มีพื้นที่ประสบความเสียหายทั้งสิ้น 6 อำเภอ โดยทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี สรุปความเสียหายล่าสุด มีชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน 26 ตำบล 143 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 18,979 ครัวเรือน 56,168 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 259 ไร่ ถนนชำรุด 35 สาย คอสะพาน 14 แห่ง ท่อระบายน้ำ 60 แห่ง วัดเสียหาย 3 แห่ง บ่อปลา 5 บ่อ มูลค่าความเสียหายในเบื้องต้น 27 ล้านบาท[130]

วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ผู้ประกอบการบริเวณชายหาดเฉวงได้ติดธงแดงห้ามนักท่องเที่ยวลงเล่นทะเลเพราะคลื่นลมแรง และเตือนห้ามเรือเล็กออกจากฝั่ง ประเสริฐ จิตมุ่ง นายอำเภอเกาะสมุย ได้สั่งการให้ปลัดอำเภอร่วมกับศูนย์อนุรักษ์จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังดูนักท่องเที่ยวบริเวณเกาะเฉวง และจัดตั้งศูนย์เตรียมการป้องกันอุทกภัย ณ ที่ว่าการอำเภอ เกาะสมุย[131]

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ใกล้เคียง

อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2553 อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2555 อุทกภัยและดินถล่มในภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2554 อุทกภัยในประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2561 อุทกภัยในประเทศปากีสถาน พ.ศ. 2553 อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2563 อุทกภัยในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา พ.ศ. 2566 อุทกภัยในรัฐควีนส์แลนด์ พ.ศ. 2553-2554 อุทกภัยและโคลนถล่ม 5 จังหวัดในเขตภาคเหนือตอนล่าง พ.ศ. 2549

แหล่งที่มา

WikiPedia: อุทกภัยในประเทศไทย_พ.ศ._2554 http://119.46.91.70/attach/files/%E0%B8%A3%E0%B8%B... http://61.19.100.58/public/Group3/datagroup3/2554/... http://61.19.100.58/public/Group3/datagroup3/2554/... http://www.theage.com.au/national/thailand-floods-... http://asiancorrespondent.com/66695/bangkok-arrang... http://asiancorrespondent.com/67306/thailand-why-w... http://asiancorrespondent.com/67603/tearful-thai-p... http://asiancorrespondent.com/67621/how-much-water... http://asiancorrespondent.com/67677/is-the-thai-go... http://asiancorrespondent.com/68854/bhumipol-dam-w...