ผลที่เกิดขึ้น ของ อุบัติการณ์มุกเดน

ทหารญี่ปุ่นยกธงชาติขึ้นเหนือกองบัญชาการกองทัพจีนในเมืองมุกเดน เมื่อวันที่ 19 กันยายน 1931คณะรัฐมนตรีของแมนจูกัว

ความเห็นของชาวจีนจำนวนมากได้ติเตียนจาง เซวเหลียงที่ล่าถอยโดยไม่ทำการต่อต้าน แม้ว่ารัฐบาลกลางก๊กมินตั๋งมีส่วนรับผิดชอบในทางอ้อมเพราะนโยบายดังกล่าว หลายคนสงสัยว่ากองทัพจีนตั้ง 250,000 นาย กลับไม่สามารถต้านทานกองทัพควันตงเพียง 11,000 นายได้ นอกจากนั้น กองทัพของเขายังมีอาวุธที่ทันสมัยที่สุดในจีน ทั้งกำลังคนและรถถัง เครื่องบินรบ 60 ลำ ปืนกลกว่า 4,000 กระบอก และกองพันปืนใหญ่อีกจำนวนหนึ่งด้วย

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ข้อได้เปรียบดังกล่าวขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ หนึ่งคือ กองทัพญี่ปุ่นสามารถได้รับกำลังเสริมจากเกาหลีทางรถไฟได้ ซึ่งเป็นดินแดนของญี่ปุ่นที่อยู่ประชิดกับแมนจูเรีย สองคือ กองทัพมากกว่าครึ่งหนึ่งของจีนตั้งอย่ทางตอนใต้ของกำแพงเมืองจีน ในมณฑลหูเป่ย ขณะที่กองกำลังทางตอนเหนือวางกำลังอย่างกระจัดกระจายไปทั่วแมนจูเรีย และกองทัพจีนก็ไม่อาจวางกำลังพลได้รวดเร็วพอที่จะหยุดยั้งการบุกของญี่ปุ่นได้ นอกจากนี้ ทหารจีนในพื้นที่ยังเป็นพวกฝึกหัด มีขวัญกำลังใจต่ำ และมีความจงรักภักดีที่คลอนแคลน และที่สำคัญที่สุด คือ สายลับของญี่ปุ่นได้แทรกซึมการบัญชาการของจาง เซวเหลียง เนื่องจากมีประวัติว่าเขามักจะไว้ใจที่ปรึกษาชาวญี่ปุ่น ทำให้ฝ่ายญี่ปุ่นปฏิบัติการได้อย่างง่ายดาย

ทางด้านรัฐบาลจีนต้องประสบกับปัญหาภายในหลายด้าน รวมไปถึงรัฐบาลกว่างโจวที่แยกตัวเป็นเอกราช นำโดยนาย Hu Hanmin แห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน และเหตุการณ์อุทกภัยจากแม่น้ำแยงซี ซึ่งทำให้ประชาชนไม่มีที่อยู่อาศัยหลายหมื่นคน นอกเหนือจากนั้น นายพลจางก็ไม่ได้อยู่ในแมนจูเรียในขณะนั้น แต่ยังอยู่ในโรงพยาบาลในนครปักกิ่ง เพื่อเพิ่มเงินสำหรับช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อย่างไรก็ตาม เหล่าหนังสือพิมพ์ของจีนต่าง ๆ ก็เยาะเย้ยนายพลจางว่าเป็น "นายพลผู้ให้ศัตรูเข้าบ้าน" (不抵抗將軍)

ร้านค้าในเมืองเซี่ยงไฮ้ติดป้ายประกาศต่อต้านญี่ปุ่นหลังกรณีมุกเดนป้ายในเมืองเซี่ยงไฮ้แสดงข้อความ (反日) ที่แปลว่า "ต้านญี่ปุ่น"

จากปัญหาต่าง ๆ ที่เข้ามารุมเร้า รัฐบาลกลางจึงตัดสินใจพึ่งองค์การเพื่อสันติภาพนานาชาติ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีนได้กล่าวประท้วงรัฐบาลญี่ปุ่นอย่างรุนแรง และต้องการให้ญี่ปุ่นถอนทหารออกไปจากแมนจูเรียทั้งหมด ได้ร้องอุทธรณ์ต่อสันนิบาตชาติ เมื่อวันที่ 19 กันยายน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม สันนิบาตชาติได้ผ่านมติให้ญี่ปุ่นถอนทหารออกไปจากดินแดนจีนทั้งหมดภายในวันที่ 16 พฤศจิกายน อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นปฏิเสธที่จะดำเนินการตามมติดังกล่าวและยืนยันที่จะเจรจาโดยตรงต่อรัฐบาลจีนเท่านั้น

การเจรจาระหว่างทั้งสองประเทศมีขึ้นเป็นพัก ๆ แต่ไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน รัฐบาลกลางของจีนได้เปิดการประชุมขึ้น แต่รัฐบาลกว่างโจวได้ออกมาเรียกร้องให้เจียงไคเช็คลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อการเสียดินแดนแมนจูเรีย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม เจียงไคเช็คได้ลาออกจากตำแหน่งประธานรัฐบาลชาตินิยมและตำแหน่งอัครเสนาบดีแห่งสาธารณรัฐจีน

เมื่อวันที่ 7 มกราคม 1932 เลขานุการแห่งรัฐของสหรัฐอเมริกา เฮนรี่ สติมสัน ได้ประกาศลัทธิสติมสันออกมา โดยบอกว่าสหรัฐอเมริกาจะไม่ให้การรับรองแก่รัฐใหม่ที่ตั้งขึ้นจากผลของการรุกรานแมนจูเรียดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 มกราคม ผู้ตรวจการของสันนิบาตชาติ นำโดย Earl of Lytton ชาวอังกฤษ ได้เดินทางมายังเซี่ยงไฮ้เพื่อตรวจสอบสถานการณ์ ในเดือนมีนาคม ญี่ปุ่นได้จัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดแมนจูกัวขึ้น โดยยกให้จักรพรรดิผู่อี๋ขึ้นเป็นประมุขแห่งรัฐ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม รายงานของนาย Lytton ได้รับการตีพิมพ์และปฏิเสธคำแก้ตัวของญี่ปุ่นที่ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นเพื่อการป้องกันตัวเอง รายงานฉบับดังกล่าวยังได้รวบรวมข้อมูลว่าแมนจูกัวเป็นผลมาจากความรุนแรงทางด้านการทหารของญี่ปุ่นในจีน ขณะที่ชี้ให้เห็นว่าญี่ปุ่นนั้นจำเป็นต้องยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่แล้ว เนื่องจากว่าเป็นแหล่งเศรษฐกิจสำคัญของญี่ปุ่น สันนิบาตชาติปฏิเสธที่จะรับรองให้แมนจูกัวเป็นประเทศเอกราช และส่งผลให้ญี่ปุ่นถอนตัวจากการเป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติเมื่อเดือนมีนาคม 1933

พันเอก Doihara ได้ใช้กรณีมุกเดนเพื่อเป็นการปกปิดข้อมูล ตั้งแต่พบว่ากองทัพจีนได้ต้านทานเพียงเล็กน้อยที่เมืองมุกเดน เขาจึงทูลแก่จักรพรรดิผู่อี๋ว่า ประเทศจีนยังคงจงรักภักดีต่อพระองค์อยู่ นอกจากนั้น หน่วยข่าวกรองของญี่ปุ่นยังได้ใส่ร้ายป้ายสีจาง เจาหลินและบุตรชาย จาง เซวเหลียงในฐานะที่แยกแมนจูเรียออกไป และในความเป็นจริงแล้ว แมนจูเรียภายใต้การปกครองของจาง เซวเหลียงก็มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดและการคอร์รัปชั่นอย่างหนัก[7]

ใกล้เคียง

อุบัติเหตุนิวเคลียร์เกาะทรีไมล์ อุบัติรักเกาะสวรรค์ อุบัติรักข้ามขอบฟ้า (ละครโทรทัศน์ปี 2562) อุบัติการณ์และอุบัติเหตุบนเที่ยวบินการบินไทย อุบัติการณ์มุกเดน อุบัติรักเทวา อุบัติเหตุ อุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลง อุบัติการณ์ 28 กุมภาพันธ์ อุบัติรักข้ามขอบฟ้า 2