ลำดับเหตุการณ์ ของ อุบัติการณ์มุกเดน

รางรถไฟแมนจูเรียสายใต้ใกล้กับเมืองมุกเดน ซึ่งถูกวางระเบิดโดยทหารญี่ปุ่น

การวางระเบิดทางรถไฟ

พันเอก เซชิโร อิตะงะกิ พันโท คันจิ อิชิวะระ พันเอก เคนจิ โดะอิฮะระ และพันตรี ทะกะโยะชิ ทะนะกะ[2] ได้สำเร็จแผนการเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1931 โดยหลักของแผนคือ อุบายการสร้างสระว่ายน้ำตรงที่พักของนายทหารญี่ปุ่น แต่ความจริงแล้วมันคือ บังเกอร์คอนกรีตสำหรับปืนใหญ่ขนาด 9.2 นิ้ว ซึ่งจะถูกนำเข้ามาเก็บไว้อย่างลับ ๆ [3] โดยฝ่ายญี่ปุ่นเริ่มดำเนินการเมื่อร้อยโทซุเอะโมะริ โคะโมะโตะ แห่งกองกำลังทหารประจำการอิสระ (独立守備隊) แห่งกรมทหารราบที่ 29 ซึ่งรักษาทางรถไฟแมนจูเรียสายใต้ ทำการวางระเบิดในระยะใกล้เคียงกับทางรถไฟ แต่ไกลพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายจริง ๆ ในเวลาประมาณ 22.20 น. ของวันที่ 18 กันยายน ทหารญี่ปุ่นจุดระเบิด แต่ระเบิดไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายมากนัก ขนาดที่ว่ารถไฟจากเมืองชางชุนยังสามารถวิ่งผ่านจุดนั้นและไปถึงเสิ่นหยางเมื่อเวลา 22.30 น. ได้ตามปกติ[4]

การรุกรานแมนจูเรีย

ดูบทความหลักที่: การรุกรานแมนจูเรีย

เมื่อตอนเช้าของวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1931 ปืนใหญ่ได้ถูกติดตั้งไว้ที่ที่พักของนายทหารญี่ปุ่นทำการเปิดฉากระดมยิงใส่ที่ตั้งของทหารจีน เพื่อที่จะตอบโต้ทหารจีนตามข้อกล่าวหาในการรุกรานทางรถไฟ กองกำลังทางอากาศเพียงเล็กน้อยของจีนซึ่งนำโดยจาง เซวเหลียงถูกทำลาย ทหารจีนต้องถอนกำลังออกจากค่าย Beidaying ทหารญี่ปุ่นเพียงห้าร้อยนายโจมตีที่ตั้งของทหารจีนจำนวนเจ็ดพันนาย แต่เนื่องจากทหารจีนส่วนมากเป็นทหารใหม่หรือทหารเกณฑ์ จึงไม่อาจต้านทานทหารญี่ปุ่นซึ่งมีประสบการณ์เหนือกว่าได้เลย เมื่อเวลาผ่านไปถึงตอนเย็น ทหารจีนห้าร้อยนายเสียชีวิต ขณะที่ญี่ปุ่นเสียทหารไปเพียงสองนายเท่านั้น[5] ขณะเดียวกันที่เมืองต้าเหลียน ผู้บัญชาการกองทัพควันตง นายพลชิเงะรุ ฮนโจ รู้สึกใจหายที่การรุกรานเกิดขึ้นโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากเขา[6] แต่ว่าเขาถูกโน้มน้าวโดยอิชิวะระและให้อนุญาตในภายหลัง เขาได้ย้ายกองบัญชาการใหญ่กองทัพควันตงไปยังมุกเดน และออกคำสั่งให้นายพลเซ็นจูโร ฮะยะชิ แห่งกองทัพที่ถูกเลือกของญี่ปุ่นในเกาหลีส่งกำลังเสริมมายังพื้นที่ เมื่อถึงเวลา 4.00 น. ของวันที่ 19 กันยายน มุกเดนถูกยึด และเครื่องบินของกองทัพที่ถูกเลือกก็สามารถลงจอดที่มุกเดนได้ จาง เซวเหลียง ซึ่งได้รับคำสั่งจากพรรคก๊กมินตั๋งให้ดำเนินนโยบายไม่ต่อต้าน ได้สั่งห้ามไม่ให้ทหารของเขาต่อสู้และวางอาวุธในกรณีที่ทหารญี่ปุ่นบุกเข้ามา ทหารญี่ปุ่นจึงมุ่งหน้าสู่ชางชุน ตานตองและบริเวณรอบข้างอย่างง่ายดาย และแม้จะมีการต่อต้านจากกองกำลังท้องถิ่นในภายหลัง นครสำคัญในมณฑลเหลียวหนิง มณฑลจี๋หลินและมณฑลเฮย์หลงเจียงก็ถูกกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นยึดได้ในเวลาเพียงห้าเดือนหลังจากกรณีมุกเดนเริ่มต้น

ใกล้เคียง

อุบัติเหตุนิวเคลียร์เกาะทรีไมล์ อุบัติรักเกาะสวรรค์ อุบัติรักข้ามขอบฟ้า (ละครโทรทัศน์ปี 2562) อุบัติการณ์และอุบัติเหตุบนเที่ยวบินการบินไทย อุบัติการณ์มุกเดน อุบัติรักเทวา อุบัติเหตุ อุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลง อุบัติการณ์ 28 กุมภาพันธ์ อุบัติรักข้ามขอบฟ้า 2