เบื้องหลัง ของ อุบัติการณ์มุกเดน

ความสนใจทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองของญี่ปุ่นที่มีต่อแมนจูเรียนั้นเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่หลังสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น เมื่อปี ค.ศ. 1904-1905 ตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาพอร์ตสมัธ ทำให้ญี่ปุ่นได้เช่าทางรถไฟแมนจูเรียสายใต้ (อังกฤษ: South Manchuria Railway) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟจีนสายตะวันออก (อังกฤษ: China Far East Railway) รัฐบาลญี่ปุ่นอ้างว่าสิทธิการครอบครองทางรถไฟดังกล่าวครอบคลุมถึงสิทธิพิเศษที่รัสเซียได้รับจากจีนในสนธิสัญญาลี-โลบานอฟ แห่งปี ค.ศ. 1896 ซึ่งถูกขยายขอบเขตโดยสัญญาเช่าเขตควันตงในปี ค.ศ. 1898 จึงทำให้ญี่ปุ่นมีอำนาจบริหารอย่างเด็ดขาดในเขตทางรถไฟแมนจูเรียสายใต้ กองทัพญี่ปุ่นได้มียามประจำการอยู่ในพื้นที่เพื่อรักษาความปลอดภัยให้แก่รถไฟและรางรถไฟ อย่างไรก็ตาม ทหารเหล่านี้เป็นเพียงพลทหารธรรมดา และต้องฝึกซ้อมรบนอกเขตดังกล่าวบ่อยครั้ง

ทางด้านประเทศจีน ซึ่งยังคงอ่อนแออยู่ในขณะนั้นต้องเผชิญกับภัยคอมมิวนิสต์จากสหภาพโซเวียตทางทิศเหนือ รวมทั้งอำนาจทางการเมืองและการทหารของกองทัพควันตงแห่งกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งมีความพยายามที่จะผนวกเอาแมนจูเรียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิญี่ปุ่น

พันเอกแห่งกองทัพควันตง เซชิโร อิตะงะกิ และพันโท คันจิ อิชิวะระ ได้คิดวิธีการที่จะรุกรานแมนจูเรีย ต่อมาอิชิวะระได้นำเสนอแผนการของเขาที่กองบัญชาการกองทัพญี่ปุ่นในกรุงโตเกียว และได้รับการอนุมัติ แต่มีข้อแม้คือ ต้องเป็นการกระทำเพื่อตอบโต้ความขัดแย้งที่ฝ่ายจีนเป็นผู้เริ่มก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม จิโร มินะมิ ได้ย้ายพันเอก Yoshitsugu Tatekawa ไปยังแมนจูเรียเพื่อที่จะควบคุมความประพฤติของกองทัพควันตง เซชิโร อิตะงะกิ และ คันจิ อิชิวะระ รู้ว่าการรอคอยการตอบโต้จากจีน หลังจากความพยายามยุยงหลายครั้งแล้วไม่มีประโยชน์ใด ดังนั้น พวกเขาจึงคิดหาวิธีของตัวเอง

แผนที่แสดงอาณาเขตของแมนจูเรียเมื่อปี 1931

แผนการที่ว่าคือ การก่อวินาศกรรมตามแนวรางรถไฟในเขตของจีนใกล้กับทะเลสาบ Liǔtiáo (柳條湖 → liǔtiáohú) ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว พื้นที่บริเวณนี้ไม่มีชื่อทางการ และไม่ได้มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อทั้งฝ่ายจีนและญี่ปุ่นแต่อย่างใด แต่ว่ามันอยู่ห่างจากค่ายทหาร Beidaying (北大營 → bèidàyíng) ซึ่งอยู่ใต้การบังคับบัญชาของ "จอมพลหนุ่ม" จาง เซวเหลียง เพียงแปดร้อยเมตรเท่านั้น แผนการของญี่ปุ่นเป็นการกล่าวหาทหารจีนว่าพวกเขาเป็นผู้ก่อวินาศกรรม ซึ่งญี่ปุ่นจะสามารถใช้เป็นข้ออ้างในการรุกรานอย่างเต็มตัว นอกจากนี้ เพื่อทำให้การก่อวินาศกรรมครั้งนี้ดูเหมือนเป็นแผนการที่จีนวางไว้เพื่อโจมตีเป้าหมายสำคัญ (และทำให้การตอบโต้ของญี่ปุ่นเป็นการป้องกันทางรถไฟอันมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของตน) ญี่ปุ่นจึงตั้งชื่อให้กับบริเวณนี้ว่า "Liǔtiáo Ditch" (柳條溝 → liǔtiáogōu) หรือ "สะพาน Liǔtiáo" (柳條橋 → liǔtiáoqiáo) ทั้ง ๆ ที่พื้นที่นี้เป็นเพียงทางรถไฟเล็ก ๆ ที่อยู่บนพื้นราบเท่านั้น

ใกล้เคียง

อุบัติเหตุนิวเคลียร์เกาะทรีไมล์ อุบัติรักเกาะสวรรค์ อุบัติรักข้ามขอบฟ้า (ละครโทรทัศน์ปี 2562) อุบัติการณ์และอุบัติเหตุบนเที่ยวบินการบินไทย อุบัติการณ์มุกเดน อุบัติรักเทวา อุบัติเหตุ อุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลง อุบัติการณ์ 28 กุมภาพันธ์ อุบัติรักข้ามขอบฟ้า 2