พื้นที่ที่มีก๊าซ ของ อุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่อันตราย

ก๊าซ ไอระเหยและฝุ่นที่ไวไฟมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างกันที่ส่งผลต่อโอกาสและความรุนแรงของระเบิดที่ไม่เหมือนกัน คุณสมบัติเหล่านั้นประกอบด้วยอุณหภูมิเปลวไฟ (Flame Point) พลังงานต่ำสุดที่ใช้ในการติดไฟ ขอบเขตสูงสุด/ต่ำสุดในการระเบิด และน้ำหนักโมเลกุล การทดสอบด้วยการสังเกต (Empirical testing) จะถูกกระทำเพื่อพิจารณาตัวแปรอย่างเช่น ระยะห่างปลอดภัยที่สุดในการทดลอง (maximum experimental safe gap) กระแสติดไฟต่ำสุด (minimum ignition current) ความดันการระเบิด (explosion pressure) และเวลาที่ใช้ในการเข้าสู่ความดันสูงสุด (time to peak pressure) อุณหภูมิจุดระเบิดตามธรรมชาติ (spontaneous ignition iemperature) และอัตราการเพิ่มความดันสูงสุด (maximum rate of pressure rise) ถึงแม้ว่าสสารทุกชนิดมีคุณสมบัติในการระเบิดที่แตกต่างกัน แต่พวกมันสามารถถูกจัดลำดับในช่วงที่คล้ายคลึงกันซึ่งทำให้ง่ายต่อการเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับใช้ในพื้นที่อันตราย[2]

ความสามารถในการติดไฟของของเหลวไวไฟถูกจำแนกได้โดยจุดวาบไฟ (flash point)ของมัน โดยจุดวาบไฟหมายถึงอุณหภูมิที่วัสดุสามารถก่อไอระเหยที่มีความสามารถเพียงพอที่จะก่อให้เกิดส่วนผสมที่จุดไฟได้[note 1] นี่เป็นข้อมูลสำคัญในการพิจารณาว่าพื้นที่นี้จำเป็นจะต้องพิจารณาว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงหรือไม่ และเป็นพื้นที่เสี่ยงแบบไหน พื้นที่ที่มีวัสดุที่มีอุณหภูมิจุดระเบิดด้วยตัวเองต่ำมากและมีจุดวาบไฟที่สูงกว่าอุณหภูมิบรรยากาศนั้น อาจจะไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงก็ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าวัสดุนั้นก่อให้เกิดอุณหภูมิที่สูงกว่าบรรยากาศและอุณหภูมิที่เกิดขึ้นนั้นสูงกว่าจุดวาบไฟ พื้นที่ที่มีวัสดุนั้นจะถูกพิจารณาว่าเป็นพื้นที่เสี่ยง

กาซในอุตสาหกรรม สามารถถูกแบ่งออกได้ดังนี้

กลุ่มกาซที่ปรากฏในพื้นที่
Iเหมืองถ่านหินใต้ดินทั้งหมด, มีเทน
IIAมีเทน (ในอุตสาหกรรม), โพรเพน, เชื้อเพลิง และโรงงานอุตสาหกรรมเคมีส่วนใหญ่
IIBเอธีลีน, ถ่านโค้ก และกาซอุตสาหกรรมอื่น ๆ
IIC"ฮโดรเจน, อซิทีลีน, คาร์บอน ไดซัลเฟส
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ใกล้เคียง

อุปกรณ์ถ่ายเทประจุ อุปกรณ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่อันตราย อุปกรณ์ไวน์ อุปกรณ์ลอยน้ำส่วนบุคคล อุปกรณ์รวมส่งสัญญาณ อุปกรณ์สังเกตการณ์ดาราศาสตร์ในวงโคจร อุปกรณ์กรองอากาศ อุปกรณ์เก็บเสียงปืน อุปกรณ์การเกษตร