ฮาเกียโซเฟีย
ฮาเกียโซเฟีย

ฮาเกียโซเฟีย

ฮาเกียโซเฟีย[2] (อังกฤษ: Hagia Sophia, /ˈhɑːɡiə sˈfə/; จากกรีกโบราณ: Ἁγία Σοφία; ละติน: Sancta Sophia หรือ ละติน: Sancta Sapientia) มีชื่อทางการว่า มัสยิดใหญ่อายาโซฟยา (ตุรกี: Ayasofya-i Kebir Camii Şerifi)[3] และชื่อเดิมว่า โบสถ์พระปรีชาญาณศักดิ์สิทธิ์[4] เป็นศาสนสถานปลายสมัยโบราณในอิสตันบูล ใช้เป็นอาสนวิหารประจำเขตอัครบิดรคอนสแตนติโนเปิล ถือเป็นโบสถ์คริสต์ที่ใหญ่ที่สุดในจักรวรรดิไบแซนไทน์และนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ยกเว้นสมัยจักรวรรดิละตินระหว่าง ค.ศ. 1204 ถึง 1261 ที่โบสถ์กลายเป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก แล้วเป็นมัสยิดในสมัยจักรวรรดิออตโตมัน และต่อมาเป็นพิพิธภัณฑ์ สร้างเสร็จใน ค.ศ. 537 ในรัชสมัยของจักรพรรดิยุสตินิอานุสที่ 1 ถือเป็นสิ่งที่ดีเลิศของสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์[5] และกล่าวว่า "ได้เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของสถาปัตยกรรม"[6] มันเป็นตัวอย่างสำคัญของการเปลี่ยนศาสนสถานที่ไม่ใช่อิสลามเป็นมัสยิด ซึ่งสร้างข้อขัดแย้งและสงครามศาสนาในบางส่วนของโลก[7][8][9]ถูกสร้างเป็นอาสนวิหารของชาวคริสต์ในคอนสแตนติโนเปิลในช่วง ค.ศ. 532 ถึง 537 ภายใต้คำสั่งของจักรพรรดิยุสตินิอานุสที่ 1 มหาวิหารถูกออกแบบโดยอิซิดอร์แห่งมิเลตุสกับแอนเธมุสแห่งทรัลเลส นักเรขาคณิตชาวกรีก[10] โดยเป็นอาสนวิหารที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นเวลาเกือบพันปี จนกระทั่งอาสนวิหารเซบิยาสร้างเสร็จใน ค.ศ. 1520 ใน ค.ศ. 1204 มันถูกเปลี่ยนเป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกโดยนักรบครูเสดครั้งที่สี่ภายใต้จักรวรรดิละติน ก่อนถูกฟื้นฟูเป็นแบบเดิมใน ค.ศ. 1261 หลังจากเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลให้กับจักรวรรดิออตโตมันใน ค.ศ. 1453[11] มันถูกเปลี่ยนเป็นมัสยิด ใน ค.ศ. 1935 ก็ถูกทำเป็นฆราวาสให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์[12] ในต้นเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2020 ทางสภาแห่งรัฐทำให้การตัดสินเป็นพิพิธภัณฑ์ของคณะรัฐมนตรีใน ค.ศ. 1934 เป็นโมฆะ และมีการออกรัฐกฤษฎีกาภายหลังของประธานาธิบดีตุรกีในการเปลี่ยนฮาเกียโซเฟียให้เป็นมัสยิดอีกครั้ง[13][14] ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากสภาคริสตจักรสากลและผู้นำนานาชาติหลายประเทศ[15][16][17]โบสถ์นี้ถูกอุทิศแก่ พระปรีชาญาณศักดิ์สิทธิ์ คือพระวจนะ ซึ่งเป็นพระบุคคลที่สองในตรีเอกภาพ[18] โดยมีการฉลองในวันที่ 25 ธันวาคม (วันคริสต์มาส) โซเฟีย เป็นการสะกดตามสัทศาสตร์ในภาษาลาตินจากภาษากรีกของคำว่า ปัญญา และบางครั้งหมายถึง ซังก์ตา โซฟีอา (ละติน: Sancta Sophia) ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโซเฟียแห่งโรม[19][20] ใช้เป็นศูนย์กลางของนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มากว่า 1,000 ปี ผ่านช่วงการตัดขาดจากศาสนาของอัครบิดรมีคาเอลที่ 1 เซรูลารีอุส โดยอัมแบร์แห่งซิลวาคันดิดา ผู้แทนทางทูตของสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 9 ใน ค.ศ. 1054, ดยุกแห่งเวนิส ผู้ทำให้เกิดสงครามครูเสดครั้งที่สี่ และการปล้นสดมที่คอนสแตนติโนเปิลใน ค.ศ. 1204ใน ค.ศ. 1453 สุลต่านเมห์เหม็ดผู้พิชิตทรงสั่งให้เปลี่ยนอาสนวิหารเป็นมัสยิด เขตอัครบิดรถูกย้ายไปที่โบสถ์อัครทูต ซึ่งกลายเป็นอาสนวิหารประจำเมือง ถึงแม้ว่าบางส่วนของเมืองพังทลายจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ ตัวอาสนวิหารยังคงทำหน้าที่นี้ต่อไป และมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในการเปลี่ยนแปลงของผู้นำออตโตมันองค์ใหม่[21][22] ระฆัง, แท่นบูชา, ไอโคโนสเตซิส, แอมบอน และหอล้างบาปถูกนำออกไปและเรลิกก็ถูกทำลาย ส่วนโมเสกที่มีภาพพระเยซู, พระแม่มารีย์, นักบุญ และทูตสวรรค์ถูกทำลายหรือใช้ปูนทาทับ[23] แล้วมีการเพิ่มสถาปัตยกรรมอิสลาม เช่น มิมบัร (แท่นเทศน์), มินาเรตสี่อัน และมิฮ์รอบตัวอาคารยังคงเป็นมัสยิด จนถึง ค.ศ. 1931 เมื่อมันถูกปิดต่อสาธารณชนเป็นเวลา 4 ปี และเปิดใหม่อีกครั้งใน ค.ศ. 1935 ในฐานะพิพิธภัณฑ์ จากข้อมูลเมื่อ 2014[update] ฮาเกียโซเฟียเคยเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้เข้าชมมากเป็นอันดับสอง โดยมีผู้เยี่ยมชมเกือบ 3.3 ล้านคนต่อปี[24] รายงานจากข้อมูลของกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ฮาเกียโซเฟียเคยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดใน ค.ศ. 2015[25] และ ค.ศ. 2019[26][27]

ฮาเกียโซเฟีย

ประเภท
ความกว้าง 73 m (240 ft)
ผู้ออกแบบ อิซิดอร์แห่งมิเลตุส
แอนเธมุสแห่งทรัลเลส
ความยาว 82 m (269 ft)
ความสูง 55 m (180 ft)
เริ่มก่อสร้าง 360
ที่ตั้ง อิสตันบูล, ประเทศตุรกี
สร้างเสร็จ 537; 1483 ปีที่แล้ว (537)
วัสดุ แอชลาร์, อิฐ
อุทิศแด่ พระปรีชาญาณศักดิ์สิทธิ์ หมายถึงพระวจนะ พระบุคคลที่สองในตรีเอกภาพ[1]