ประวัติ ของ ฮาเกียโซเฟีย

มุมมองจากจัตุรัสสุลตานาฮ์เม็ต

โบสถ์ของจักรพรรดิคอนสแตนเชียสที่ 2

โบสถ์หลังแรกถูกสร้างในบริเวณที่มีชื่อว่า มักนา เอ็กเคลเซีย (ละติน: Magna Ecclesia กรีกโบราณ: Μεγάλη Ἐκκλησία)[28][29] โดยเปิดพิธีในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 360 (ในรัชสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนเชียสที่ 2) โดยยูโดเซียสแห่งแอนติออก บิชอปลัทธิเอเรียส[30]

โซกราตีสแห่งคอนสแตนติโนเปิลอ้างว่าโบสถ์ถูกสร้างโดยจักรพรรดิคอนสแตนเชียสที่ 2 ผู้ทรงดำเนินการใน ค.ศ. 346[30] ตามธรรมเนียมที่ว่ามันไม่ได้สร้างนานว่าศตวรรษที่ 7 หรือ 8 มีรายงานว่าคฤหาสน์ถูกสร้างโดยจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช[30] โยอันเนส โซนาราส เขียนว่าจักรพรรดิคอนสแตนเชียสที่ 2 ได้บำรุงคฤหาสน์หลังจากที่มันถล่มแล้ว[30] ยูเซบีอุสเป็นบิชอปแห่งคอนสแตนติโนเปิลมาตั้งแต่ ค.ศ. 339 ถึง 341 และจักรพรรดิคอนสแตนตินสวรรคตใน ค.ศ. 337 จึงมีความเป็นไปได้ว่าโบสถ์แรกถูกสร้างในสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนเชียสที่ 2[30]

จอห์น คริสซอสตอม อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลมีปัญหากับจักรพรรดินีอีเลีย ยูด็อกเซีย พระมเหสีของจักรพรรดิอาร์กาดิอุส และถูกเนรเทศในวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 404 ในช่วงการก่อกบฎ โบสถ์หลังแรกถูกเผา[30] และไม่มีซากหลงเหลืออีกในปัจจุบัน

โบสถ์ของจักรพรรดิเทออดอซิอุสที่ 2

โบสถ์หลังที่สองถูกสั่งให้สร้างโดยจักรพรรดิเทออดอซิอุสที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เปิดพิธีในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 415 ใน Notitia Urbis Constantinopolitanae กล่าวถึงฮาเกียโซเฟียเป็น มักนา เอ็กเคลเซีย (ละติน: Magna Ecclesia) ในขณะที่อดีตอาสนวิหารฮาเกียอิเรเนถูกเรียกเป็น เอ็กเคลเซีย อันติควา (ละติน: Ecclesia Antiqua) ตัวมหาวิหารที่มีหลังคาไม้ถูกสร้างโดยสถาปนิกรูฟีนุส แต่เกิดไฟไหม้ในช่วงการจลาจลนีกะและเผาทำลายฮาเกียโซเฟียหลังที่สองลงไปในวันที่ 13–14 มกราคม ค.ศ. 532

มีบล็อกหินอ่อนบางส่วนจากโบสถ์ของจักรพรรดิเทออดอซิอุสที่ 2 อยู่รอดถึงปัจจุบัน ในบรรดาหินอ่อนเหล่านี้คือภาพสลักแกะ 12 ตัว แสดงถึงอัครทูตทั้ง 12 คน ซึ่งเคยอยู่ที่ทางเข้าด้านหน้า และถูกพบใต้ลานสนามตะวันตกใน ค.ศ. 1935 โดย อัลฟอนส์ มาเรีย ชไนเดอร์ (Alfons Maria Schneider) นักโบราณคดีชาวเยอรมัน แต่ไม่ได้มีการขุดเพิ่มเติม เพราะเกรงว่าจะทำลายความสมบูรณ์ในสมัยยุสติอานิกลงไป

  • ส่วนหลงเหลือของฮาเกียโซเฟียหลังที่สอง

โบสถ์ของจักรพรรดิยุสตินิอานุสที่ 1 (โครงสร้างปัจจุบัน)

รูปร่างเรขาคณิตของฮาเกียโซเฟียเป็นไปตามสูตรคณิตศาสตร์ของเฮโรแห่งอะเล็กซานเดรีย โดยเลี่ยงจำนวนอตรรกยะในการก่อสร้างนี้ฮาเกียโซเฟียการก่อสร้างโบสถ์ใน codex Manasses Chronicle (ศตวรรษที่ 14)

ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 532 ไม่กี่สัปดาห์หลังมหาวิหารที่สองถูกทำลาย จักรพรรดิยุสตินิอานุสที่ 1 ตัดสินใจสร้างอันที่สามให้ดูแตกต่างและอลังการกว่าสองหลังแรก

จักรพรรดิยุสตินิอานุสที่ 1 ทรงจ้างอิซิดอร์แห่งมิเลตุส นักเรขาคณิตและวิศวกร กับแอนเธมุสแห่งทรัลเลส นักคณิตศาสตร์ ไปเป็นสถาปนิก อย่างไรก็ตาม แอนเธมุส เสียชีวิตในช่วงปีแรกของความพยายาม โดยมีการนำเสาหินและหินอ่อนทั่วทั้งจักรวรรดิในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ความคิดเกี่ยวกับเสาหินถูกเปิดเผยจากเมืองต่าง ๆ เช่น โรมและเอฟิซัสว่าเป็นสิ่งที่คิดค้นในภายหลัง[31] ถึงแม้ว่าพวกมันถูกสร้างไว้สำหรับฮาเกียโซเฟีย ขนาดของเสาหินก็มีความหลากหลาย[32]

จักรพรรดิยุสตินิอานุสที่ 1 กับอัครบิดรเมนาส เปิดพิธีในวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 537 – หลังจากสร้างไปเป็นเวลา 5 ปี 10 เดือน – ด้วยพิธีเอิกเกริก[33][34][35] โมเสกในโบสถ์ทำเสร็จในรัชสมัยของจักรพรรดิยุสตีนุสที่ 2 (ค.ศ. 565–578)

ต่อมา เกิดแผ่นดินไหวในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 553 และในวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 557 ทำให้เกิดรอยแยกในโดมหลักและโดมครึ่งฝั่งตะวันออก โดมหลักพังทลายลงในช่วงแผ่นดินไหวในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 558[36] ทำลายทั้งแอมบอน, แท่นบูชา และชิโบเรียม การทลายส่วนใหญ่เกิดจากโดมแบนเกินที่จะรับน้ำหนักมาก[33] องค์จักรพรรดิได้มีรับสั่งบูรณะทันที โดยมอบหน้าที่ให้กับอิซิดอรุสผู้เยาว์ หลานชายของอิซฺดอร์แห่งมิเลตุส ที่ใช้วัสดุที่เบากว่าและยกโดมขึ้น "30 ฟุต"[33] – ทำให้สิ่งก่อสร้างสูงถึง สคริปต์ลูอาผิดพลาด ใน มอดูล:Convert บรรทัดที่ 272: attempt to index local 'cat' (a nil value).[37] ที่มากไปกว่านั้น อิซิดอรุสได้เปลี่ยนประเภทของโดม โดยสร้างโครงโดมแบบเพนเด็นทีฟ ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 32.7 ถึง 33.5 เมตร[33] ภายใต้คำสั่งของจักรพรรดิยุสตินิอานุสที่ 1 มีการนำเสาแบบคอรินเทียน 8 อันมาจากบะอัลบิก, เลบานอน และขนมาทางเรือมาคอนสแตนติโนเปิลในช่วงทศวรรษที่ 560[38]

หลังจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 989 ซึ่งทำให้ซุ้มโดมตะวันตกพังทลาย จักรพรรดิเบซิลที่ 2ทรงเรียกTrdat สถาปนิกชาวอาร์มีเนีย ผู้สร้างอาสนวิหารแห่งอานิกับอาร์กินา เพื่อมาซ่อมแซม[39] เขาจึงสร้างฝั่งตะวันตกของโบสถ์ใหม่ด้วยโครงโดม 15 อัน[40] ซึ่งใช้เวลาซ่อมแซม 6 ปี ตัวโบสถ์เปิดใหม่อีกครั้งในวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 994 ในตอนนั้น ตัวโบสถ์ได้รับการบูรณะใหม่ เช่น เพิ่มเครูบสี่ตน; ภาพพระคริสต์บนโดม; ผ้าคลุมพระศพของพระคริสต์ที่จัดแสดงในวันศุกร์ และภาพพระแม่มารีย์พรหมจารีย์อุ้มพระเยซูแบบใหม่ ซึ่งนั่งอยู่ระหว่างปีเตอร์กับเปาโลอัครทูต[41] บนซุ้มใหญ่มีภาพของศาสดากับพระครูของโบสถ์ด้วย[41]

ในตอนที่คอนสแตนติโนเปิลถูกยึดในช่วงสงครามครูเสดครั้งที่สี่ ตัวโบสถ์ถูกปล้นสดมและถูดูหมิ่นโดยพวกครูเสด ในช่วงที่พวกลาตินครอบครองคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 1204–1261) ตัวโบสถ์กลายเป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก จักรพรรดิบอลด์วินที่ 1 แห่งคอนสแตนติโนเปิล ทรงปราบดาภิเษกเป็นจักรพรรดิในวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1204 ในฮาเกียโซเฟีย เอ็นริโก ดันโดโล (Enrico Dandolo) ดอเจแห่งเวนิสที่ให้โจมตีและปล้นสดมตัวเมือง ถูกฝังในโบสถ์ และตัวสุสานเดิมถูกพวกออตโตมันทำลายในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงจากโบสถ์เป็นมัสยิด[42]

มัสยิด (ค.ศ. 1453–1935)

มิฮ์รอบ ตั้งอยู่ที่ที่เคยมีแท่นเทศน์อยู่ หันหน้าไปทางมักกะฮ์

คอนสแตนติโนเปิลถูกโจมตีโดยกองทัพออตโตมันในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453 โดยที่สุลต่านเมห์เหม็ดผู้พิชิตอนุญาตให้กองทัพและคณะผู้ติดตามของพระองค์ปล้นสะดมในเมืองหลังถูกยึดได้เป็นเวลาสามวัน หลังจากนั้น พระองค์จึงเก็บส่วนที่เหลือเป็นของพระองค์เอง[43][44]ฮาเกียโซเฟียไม่ได้รับการยกเว้นในการปล้นสดม เพราะเป็นจุดที่เชื่อว่ามีสมบัติอันล้ำค่าของเมืองอยู่ในนี้[45] ไม่นานหลังจากการป้องกันของตัวเมืองล่มสลาย และกองทัพออตโตมันเข้ามายังตัวเมือง พวกปล้นสดมได้เดินทางไปที่ฮาเกียโซเฟีย และทำลายประตูก่อนที่จะบุกเข้าไป[46] โดยในช่วงสงคราม ผู้แสวงบุญที่ถูกขังกำลังทำพิธีศีลมหาสนิทและขอพรหลายชั่วโมงในฮาเกียโซเฟีย และผู้ลี้ภัยที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการป้องกันเมือง ซึ่งรวมไปถึงผู้หญิง, เด็ก, คนชรา และคนป่วยกับผู้บาดเจ็บ[47][48] เหล่าสาธุชนกับผู้ลี้ภัยหลายคนกลายเป็นสินทรัพย์ตอนสงครามที่ถูกแบ่งแก่ผู้บุกรุก สิ่งก่อสร้างถูกทำลายและถูกปล้นเป็นจำนวนมาก และผู้ที่อยู่ในนี้ก็กลายเป็นทาส[45] ในขณะที่คนชราและผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่ถูกฆ่า และกลุ่มที่เหลือ (ส่วนใหญ่เป็นชายวัยรุ่นกับเด็กชาย) ถูกล่ามโซ่แล้วขายเป็นทาส[46] นักบวชและบุคลากรทางศาสนายังคงทำหน้าที่ต่อ จนถูกผู้บุกรุกบังคับให้หยุด[46] เมื่อสุลต่านเมห์เหม็ดผู้พิชิตและคณะผู้ติดตามเข้าไปในโบสถ์ พระองค์ยืนยันว่ามันควรเปลี่ยนเป็นมัสยิด หนึ่งในอุละมาอ์ (นักวิชาการอิสลาม) ปีนขึ้นบนแท่นเทศน์และกล่าวชะฮาดะฮ์ด้วยเสียงดัง ("ไม่มีพระเป็นเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์") ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนโบสถ์ให้เป็นมัสยิด[23][49]

น้ำพุ (Şadırvan) สำหรับเอาน้ำละหมาด

มีรายงานจากชาวตะวันตกบางรายที่มาเยี่ยมเมืองนี้ (เช่น Pero Tafur ขุนนางจากกอร์โดบา[50] และCristoforo Buondelmonti ชาวฟลอเรนซ์)[51] ตัวโบสถ์อยู่ในสภาพทรุดโทรม โดยมีบางประตูตกลงบนพื้น; สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ทรงสั่งให้บูรณะพร้อมกับเปลี่ยนแปลง และละหมาดวันศุกร์ครั้งแรกในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1453[52] อายาโซฟยากลายเป็นมัสยิดหลวงแห่งแรกในอิสตันบูล[53]

ก่อน ค.ศ. 1481 มีการสร้างมินาเร็ตขนาดเล็กบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของสื่งก่อสร้างเหนือหอบันได[23] จากนั้น สุลต่านบาเยซิดที่ 2 (ค.ศ. 1481–1512) ทรงสร้างมินาเร็ตอีกอันในบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือ[23] หนึ่งในนั้นพังทลายหลังจากแผ่นดินไหวใน ค.ศ. 1509[23] และช่วงกลางศตวรรษที่ 16 ก็ถูกเปลี่ยนไปสร้างมินาเร็ตสองอันใหม่ในบริเวณตะวันออกและตะวันตกของอาคาร[23]

ในรัชสมัยของสุลต่านเซลิมที่ 2 (ค.ศ. 1566–1574) สิ่งก่อสร้างเริ่มเสื่อมสภาพและถูกเสริมความแกร่งรอบนอกโดยมิมาร์ ซินาน สถาปนิกออตโตมัน[54] เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของโครงสร้างไบแซนไทน์ ซินานได้สร้างมินาเร็ตขนาดใหญ่สองอันในฝั่งตะวันตก เพื่อที่จะทำแบบนั้น บริเวณของอัครบิดรทางตอนใต้ของสิ่งก่อสร้างถูกรื้อถอนไป[23] ที่มากไปกว่านั้น มีการตั้งดวงจันทร์เสี้ยวทองคำไว้บนโดม[23] สุลต่านมูราดที่ 3 (ครองราช ค.ศ. 1574–1595) นำโกศที่ทำมาจากอะลาบาสเทอร์ขนาดใหญ่ 2 อัน จากเพอร์กามอนและตั้งที่สองฝั่งบริเวณกลางโบสถ์[23] ใน ค.ศ. 1594 / ฮ.ศ. 1004 มิมาร์ (ศาลสถาปนิก) Davud Ağa สร้างตืรเบ (สุสาน) ของสุลต่านมูราดที่ 3 ในนี้[23] สุสานรูปแปดเหลี่ยมของสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 3 (ค.ศ. 1595–1603) ถูกสร้างใน ค.ศ. 1608 / ฮ.ศ. 1017 โดยสถาปนิกหลวง Dalgiç Mehmet Aĝa[55] และสุลต่านมุสตาฟาที่ 1 (ค.ศ. 1617–1618; 1622–1623) ได้เปลี่ยนหอล้างบาปไปเป็นตืรเบของพระองค์[55]

การบูรณะใน ค.ศ. 1847

ภาพพิมพ์หินใน ค.ศ. 1857

สุลต่านอับดุล เมจิดที่ 1 ให้บูรณะฮาเกียโซเฟีย และใช้แรงงาน 800 คน ทำงานระหว่าง ค.ศ. 1847 ถึง 1849 ภายใต้การสังเกตการณ์ของพี่น้องสถาปนิกชาวสวิส-อิตาลี Gaspare กับ Giuseppe Fossati โดยได้เสริมความแกร่งของโดมกับโครงสร้างทรงโค้ง, ทำเสาให้ตรง และฟื้นฟูการตกแต่งทั้งด้านนอกและด้านใน มีการเปลี่ยนโคมระย้าเก่าไปเป็นอันใหม่ มีภาพวงกลมหรือเหรียญใหม่ไปแขวนบนเสา ซึ่งมีชื่อของอัลลอฮ์, มุฮัมมัด, เคาะลีฟะฮ์ทั้งสี่ อะบูบักร์, อุมัร, อุษมาน และอะลี และหลานชายสองคนของมุฮัมมัด: ฮะซันกับฮุซัยน์ ที่เขียนโดยนักอักษรวิจิตร Kazasker Mustafa İzzed Effendi (ค.ศ. 1801–1877) ใน ค.ศ. 1850 พี่น้องสถาปนิก Fossati ได้สร้างโรงแรมพำนักรับรองใหม่ในแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูไบแซนไทน์เชื่อมกับพลับพลาหลังมัสยิด บูรณะมินบัรกับมิฮ์รอบ และปรับเสามินาเร็ตให้สูงเท่ากัน[56][57]

พิพิธภัณฑ์ (ค.ศ. 1935–2020)

การบูรณะภายในที่ดำเนินการอยู่ใน ค.ศ. 2007

ใน ค.ศ. 1935 มุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์ค ประธานาธิบดีคนแรกและผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐตุรกี ได้เปลี่ยนฮาเกียโซเฟียไปเป็นพิพิธภัณฑ์ มีการนำพรมออก ทำให้เห็นหินอ่อนบนพื้น ในขณะที่พลาสเตอร์ขาวที่คลุมโมเสกก็ถูกเอาออกด้วย แม้กระนั้น โครงสร้างก็ดูทรุดโทรม และกองทุนโบราณสถานโลก (World Monuments Fund) ยกฮาเกียโซเฟียอยู่ใน1996 World Monuments Watch และอีกครั้งใน1998 หลังคาทองแดงของสิ่งก่อสร้างเริ่มมีรอยร้าว ทำให้มีน้ำหยดลงมาทำลายภาพเฟรสโกกับโมเสก และก่อให้เกิดความชื้น แล้วระดับน้ำบาดาลที่สูงขึ้นทำให้ความชื้นเพิ่มขึ้นด้วย ทำให้เกิดสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อหินและสี ทาง WMF ได้ดำเนินการบูรณะโดมใน ค.ศ. 1997 ถึง 2002 แล้วเสร็จใน ค.ศ. 2006 ถึงแม้ว่าบริเวณอื่นของฮาเกียโซเฟียยังต้องการพัฒนา บูรณะ และป้องกันไว้ก็ตาม[58] ฮาเกียโซเฟียเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้เข้าชมมากเป็นอันดับสอง (ค.ศ. 2014) โดยมีผู้เข้าชมเกือบ 3.3 ล้านคนต่อปี[24]

ถึงแม้ว่าการใช้เป็นสถานที่สักการะ (มัสยิดหรือโบสถ์) เป็นที่ต้องห้าม[59] ใน ค.ศ. 2006 รัฐบาลตุรกีอนุญาตให้การจัดสรรห้องขนาดเล็กสำหรับที่สักการะของเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ที่เป็นชาวคริสต์และมุสลิม[60] และตั้งแต่ ค.ศ. 2013 มีมุอัซซินกล่าวอะซานสองครั้งต่อวันในตอนบ่าย[61]

ใน ค.ศ. 2007 นักการเมืองอเมริกันเชื้อสายกรีก Chris Spirou ริเริ่มองค์การนานาชาติ "ปลดปล่อยสภาอาเกียโซเฟีย" (Free Agia Sophia Council) เพื่อเรียกร้องให้เปลี่ยนฮาเกียโซเฟียให้เป็นโบสถ์อีกครั้ง[62][63][64] ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 2010 มีการเรียกร้องหลายครั้ง โดยครั้งที่โดดเด่นที่สุดคือ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2013 รองนายกรัฐมนตรี Bülent Arınç ได้เรียกร้องให้เปลี่ยนฮาเกียโซเฟียให้เป็นมัสยิดอีกครั้ง[65][66][67] ใน ค.ศ. 2015 ในการตอบโต้เพื่อรับทราบโดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสในเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนีย Mefail Hızlı มุฟตีแห่งอังการา กล่าวว่าเขาเชื่อว่าการเปลี่ยนฮาเกียโซเฟียไปเป็นมัสยิดจะถูกเลี่อนออกไป[68][69]

ในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 มีการละหมาดครั้งแรกในฮาเกียโซเฟีย ซึ่งมีระยะเวลาจากละหมาดครั้งสุดท้ายถึง 85 ปี[70] ในเดือนพฤศจิกายน องค์การนอกภาครัฐตุรกี Association for the Protection of Historic Monuments and the Environment ได้ดำเนินคดีต่อการเปลี่ยนพิพิธภัณฑ์ไปเป็นมัสยิด[71] ท้ายที่สุด ทางสภาตัดสินให้เป็น 'พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์' ต่อไป[72]

ในวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 มีกลุ่มคนที่ควบคุมโดย Anatolia Youth Association (AGD) รวมตัวหน้าฮาเกียโซเฟียและละหมาดตอนเช้า โดยมีการเรียกร้องให้เปลี่ยนพิพิธภัณฑ์ให้เป็นมัสยิด[73] ในวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2017 ประธานฝ่ายศาสนา (Presidency of Religious Affairs; Diyanet) ได้จัดรายการพิเศษ ซึ่งรวมไปถึงการอ่านอัลกุรอานและละหมาดในฮาเกียโซเฟีย เพื่อเป็นเครื่องหมายของลัยละตุลก็อดร์ โดยมีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ด้วย[74]

เปลี่ยนเป็นมัสยิดอีกครั้ง (ค.ศ. 2018–ปัจจุบัน)

ห้องละหมาดมุสลิมขนาดเล็ก (mescit) แถวฮาเกียโซเฟีย ค.ศ. 2020

ตั้งแต่ ค.ศ. 2018 เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน ประธานาธิบดีตุรกีได้กล่าวว่า ตนจะเปลี่ยนสถานะฮาเกียโซเฟียไปเป็นมัสยิดใหม่ ซึ่งได้รับความนิยมจากกลุ่มที่นิยมศาสนา[75] ในวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2018 แอร์โดอันได้อ่านโองการแรกของอัลกุรอานในฮาเกียโซเฟีย และเข้าร่วมละหมาด โดยมีขบวนการทางการเมืองในการเปลี่ยนฮาเกียโซเฟียให้เป็นมัสยิดอีกครั้ง ซึ่งจะทำให้การทำให้เป็นพิพิธภัณฑ์ของอาทาทืร์คเป็นโมฆะ[76]

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2019 แอร์โดอันกล่าวว่า เขาจะเปลี่ยนสถานะฮาเกียโซเฟียจากพิพิธภัณฑ์ไปเป็นมัสยิด[77] โดยกล่าวเพิ่มว่า มันเป็น "ความผิดพลาดอันใหญ่หลวง" ที่เปลี่ยนมันไปเป็นพิพิธภัณฑ์[78] เนื่องจากสถานที่นี้เป็นมรดกโลกของยูเนสโก การเปลี่ยนแปลงสถานะจะต้องได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโกเสียก่อน[79]

ใน ค.ศ. 2020 รัฐบาลตุรกีจัดงานฉลองครบรอบ 567 ปีการเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล โดยการละหมาดในฮาเกียโซเฟีย เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน ประธานาธิบดีตุรกีกล่าวในรายการโทรทัศน์ว่า "จะมีการอ่านซูเราะฮ์อัลฟัตฮ์ตอนละหมาดในฮาเกียโซเฟีย..."[80] ในเดือนพฤษภาคม ในช่วงวันครบรอบ มีการอ่านกุรอานในฮาเกียโซเฟีย ทางกรีซได้ประณามสิ่งนี้ ในขณะที่ตุรกีกล่าวหากรีซว่าได้กล่าว “คำพูดที่ไร้ประโยชน์และไม่มีประสิทธิภาพ”[81]

ในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 คณะรัฐมนตรีได้ตัดสินใจยกเลิกการเป็นพิพิธภัณฑ์ของฮาเกียโซเฟียและแอร์โดอันลงนามว่าการเป็นพิพิธภัณฑ์ของฮาเกียโซเฟียเป็นโมฆะ แล้วเริ่มเปลี่ยนเป็นมัสยิด สร้างเสียงวิจารณ์ทั่งฝ่ายฆราวาสและทั่วโลก[82][83] หลังประกาศไม่นานก็มีเสียงอะซานขึ้น[83] สื่อสังคมของพิพิธภัณฑ์ฮาเกียโซเฟียถูกปิดลงในวันเดียวกัน โดยแอร์โดอันประกาศว่าจะมีการละหมาดในวันที่ 24 กรกฎาคม[83] โฆษกประธานาธิบดีกล่าวว่า มันจะเป็นมัสยิดเปิดที่ทำหน้าที่คล้ายโบสถ์ปารีสสองแห่งคือ มหาวิหารซาเคร-เกอร์กับอาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส และกล่าวอีกว่าการเปลี่ยนนี้ไม่มีผลต่อสถานะแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก และ "สัญลักษณ์คริสเตียน" ข้างในจะถูกป้องกันต่อไป[75] โฆษกประธานาธิบดีอ้างว่าพรรคการเมืองทุกกลุ่มสนับสนุนการตัดสินใจของแอร์โดอัน[84] อย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์ของประชาชนได้ปฏิเสธการตัดสินใจนี้ โดยกล่าวว่า "ไม่สามารถทำตามรากฐานของเกมการเมืองที่เล่นโดยรัฐบาล"[85]ประเทศกรีซประณามการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้และถือว่าเป็นการละเมิดความเป็นมรดกโลกของยูเนสโก[75] ทางสภาคริสตจักรสากลประณามการเปลี่ยนสิ่งก่อสร้างไปเป็นมัสยิด โดยกล่าวว่า "อาจสร้างความไม่เชื่อมั่น, ความสงสัยและความไม่ไว้วางใจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้";[15][16] และได้สั่งให้แอร์โดอันล้มเลิกการตัดสินใจด้วย[16] สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงตรัสว่าพระองค์รู้สึก "เจ็บปวด"[16] และอัครบิดรคีริลล์แห่งมอสโก ผู้นำคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ ประณามการตัดสินใจในการเปลี่ยนสิ่งก่อสร้างไปเป็นมัสยิดว่า "เป็นภัยต่ออารยธรรมคริสเตียนทั้งมวล"[17] ทางยูเนสโกประกาศว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ "น่าผิดหวังอย่างมาก"[86][83] และออร์ฮัน พามุค นักประพันธ์ที่โด่งดังของตุรกี ประกาศต่อสาธารณะว่าตนประณามการตัดสินใจนี้[83]

ในวันที่ 17 กรกฎาคม แอร์โดอันประกาศว่าการละหมาดวันแรกจะรองรับผู้ศรัทธา 1,000 ถึง 1,500 คน และย้ำว่าปัญหาที่ต้องแก้คืออำนาจอธิปไตยของตุรกี และปฏิกิริยาจากนานาชาติไม่สามารถยับยั้งเขาได้[87] และได้เชิญผู้นำต่างชาติมาดูการละหมาดครั้งแรกในวันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 ที่ฮาเกียโซเฟีย[88]

ในวันที่ 22 กรกฎาคม มีการปูพรมทับพื้นหินอ่อน; Ali Erbaş หัวหน้า Diyanet ได้มีส่วนร่วมในการปูด้วย[89] เนื่องจากการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในตุรกี Erbaş กล่าวว่าฮาเกียโซเฟียจะรองรับสูงสุดแค่ 1,000 คน และบอกให้นำ "หน้ากากอนามัย, พรมละหมาด, ความอดทน และความเข้าใจ" มาด้วย[89] ตัวมัสยิดเปิดละหมาดวันศุกร์ในวันที่ 24 กรกฎาคม[89] โดยเป็นโบสถ์ไบแซนไทน์ที่สี่ที่ถูกเปลี่ยนจากพิพิธภัณฑ์เป็นมัสยิดในช่วงการปกครองของแอร์โดอัน[90]