ประวัติ ของ ฮิเดกิ_โทโจ

เกิดที่เมืองโคจิมาชิชานกรุงโตเกียวในวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1884[3] เป็นบุตรคนที่สามของฮิเดโนริ โทโจ นายทหารในกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น มีตำแหน่งเป็นพลโท พี่ชายสองคนเสียชีวิตก่อนที่เขาจะเกิด ในขณะนั้นญี่ปุ่นอยู่ภายใต้การปกครองในช่วงยุค บากูฟุ ซึ่งเป็นการปกครองโดยโชกุนแบบหนึ่ง สังคมญี่ปุ่นแบ่งออกเป็นสี่วรรณะอย่างเหนียวแน่น พ่อค้า,ชาวนา,ช่างฝีมือและซามูไร หลังการฟื้นฟูเมจิ ระบบวรรณะนั้นถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1871 แต่ความแตกต่างของวรรณะเดิมในหลาย ๆ ด้านยังคงมีอยู่หลังจากนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าพวกวรรณะซามูไรในอดีตยังคงเพลิดเพลินไปกับศักดิ์ศรีดั้งเดิมของตน[4] ตระกูลโทโจมาจากวรรณะซามูไร แม้ว่าตระกูลโทโจนั้นค่อนข้างเป็นนักรบผู้ติดตามชั้นต่ำของ ไดเมียว (ขุนนาง) ที่พวกเขาได้รับใช้มาหลายชั่วอายุคน พ่อของโทโจเป็นซามูไรซึ่งต่อมาเปลี่ยนอาชีพเป็นนายทหารและแม่ของเขาเป็นลูกสาวของพระสงฆ์ในพุทธศาสนาทำให้ครอบครัวของเขาน่านับถือมาก แต่มีฐานะยากจน[4]

ฮิเดกิมีการศึกษาตามแบบฉบับของเยาวชนญี่ปุ่นในช่วงรัชสมัยจักรพรรดิเมจิหรือยุคเมจิ[5] จุดประสงค์ของระบบการศึกษาของเมจิคือเพื่อปลูกฝังฝึกให้เด็กๆเข้าเป็นทหารเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่และข่าวสารโฆษณาชวนเชื่อถูกเจาะอย่างไม่ลดละไปสู่นักเรียนญี่ปุ่นว่าสงครามเป็นสิ่งที่สวยงามที่สุดในโลกว่าองค์พระจักรพรรดิเป็นเทพพระเจ้าที่มีชีวิตและยิ่งใหญ่ที่สุด เกียรติยศสำหรับคนญี่ปุ่นคือการตายเพื่อจักรพรรดิ[6] ส่วนเด็กหญิงชาวญี่ปุ่นได้รับการสอนว่าเกียรติยศสูงสุดสำหรับผู้หญิงคือการมีลูกชายให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อที่จะได้เป็นทหารและตายเพื่อจักรพรรดิในสงคราม ในฐานะที่เป็นเด็กผู้ชาย ฮิเดกิ โทโจเป็นที่รู้จักในเรื่องความดื้อรั้นไม่มีอารมณ์ขันเพราะเป็นเด็กที่มีความคิดดื้อดึงและมักจะหาเรื่องชวนต่อสู้หรือไม่ก็เข้าไปรังแกผู้อื่นอยู่เสมอ[7]

ในปี ค.ศ. 1899 ฮิเดกิเข้าโรงเรียนนายร้อยทหารบกแห่งกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นและสำเร็จการศึกษาระดับที่ 17 จากโรงเรียนนายร้อยแห่งกองทัพกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1915 ในอันดับที่ 42 จากจำนวนนักเรียนนายร้อย 50 คน ได้รับแต่งตั้งยศร้อยตรี สังกัดทหารราบ

ต่อมาในปีเดียวกันเขาได้สำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุดจาก Army War College จากนั้นในปี ค.ศ. 1919 เขาได้เลื่อนยศเป็นร้อยเอก บัญชาการกองร้อยทหารรักษาพระองค์ที่ 3 ต่อมาเขาได้ถูกส่งไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในฐานะทูตทหาร หลังจากกลับมาจากภารกิจ ในปี ค.ศ. 1920

เข้ารับราชการทหาร

ดำรงตำแหน่งพลตรี

ในปี ค.ศ. 1934 ฮิเดกิได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็น พลตรี และทำหน้าที่เป็นหัวหน้าแผนกบุคคลภายในกระทรวงว่าการสงครามแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น[8] โทโจได้เขียนบทความหนึ่งในหนังสือ ฮิโจจิ โคะคุมิน เซ็นชู (บทความในเวลาฉุกเฉินแห่งชาติ), หนังสือที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1934 โดยมีเนื้อหาเสนอและเรียกร้องให้กระทรวงทหารเปลี่ยนแปลงญี่ปุ่นให้กลายเป็นประเทศเผด็จการทหารและมีแนวความคิดลัทธิฟาสซิสต์แพร่ในหนังสือ[9] นอกจากนี้โทโจยังได้มีแนวคิดที่ชื่นชมแสนยานุภาพของจักรวรรดิญี่ปุ่นที่มีชัยชนะเหนือรัสเซียในสงครามปี 1904–05 หรือ สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น เนื่องจากญี่ปุ่นนับถือลัทธิบูชิโดซึ่งมอบเกียรติยศและศักดิ์ศรีที่เหนือกว่าของญี่ปุ่นในขณะที่ญี่ปุ่นไม่กลัวความตายเหมือนชาวรัสเซียที่ขี้ขลาดและต้องการมีชีวิตอยู่ โทโจเห็นว่าญี่ปุ่นยังคงต้องทำสงครามอีกต่อไปที่ ซึ่งจะต้องระดมกำลังพลทั้งประเทศเพื่อทำสงคราม[9]

โทโจได้กล่าวหาโจมตีเหล่าชาติตะวันตก ได้แก่ประเทศอังกฤษ, ฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาที่เป็นคู่แข่งและแอบทำ "สงครามอุดมการณ์" กับญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1919[10] โทโจได้เขียนสนับสนุนจบการเขียนบทความของเขาโดยระบุว่าญี่ปุ่นจะต้องยืนสูง ด้วยวิธีการขยายอำนาจอิทธิพลของจักรวรรดิญี่ปุ่นไปทั่วโลก[9] ความคิดของเขายังทะเยอทะยานไปถึงการที่จักรวรรดิญี่ปุ่นต้องส่งทหารเข้าไปขับไล่เหล่าประเทศอาณานิคมของยุโรปตะวันตกออกไปและปลดปล่อยประเทศอาณานิคมในเอเชียให้เป็นอิสระ โดยแทรกความเป็นจักรวรรดิอาณานิคมญี่ปุ่นในเอเชียเข้าแทนที่ชาติตะวันตก มีการริเริ่มความคิดการก่อตั้งวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพาโดยให้ชาวญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้นำชาวเอเชียปกครองชาวเอเชียด้วยกัน

ทำการรบในจีน

โทโจได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 24 ของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1934[11]

เมื่อเกิดกรณีมุกเดนซึ่งทำให้จักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้าไปแทรกแซงกิจการภายในประเทศจีนและเข้ารุกรานยึดดินแดนแมนจูเรียมาได้สำเร็จ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1935 โทโจเข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการสูงสุดของหน่วยตำรวจลับ "เค็นเปไต" สังกัดกองทัพคันโตของญี่ปุ่นในแมนจูเรีย ในทางการเมืองเขาเป็นฟาสซิสต์ชาตินิยมและนิยมทหารจนได้รับฉายาว่า (ญี่ปุ่น: "ใบมีดโกน" โรมาจิカミソリ ทับศัพท์คะมิโซะริ) สำหรับชื่อเสียงของเขาที่มีจิตใจที่ดุดันโหดร้ายและสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วเฉียบคม โทโจยังสมาชิกของกลุ่มโทะเซะฮะ (ที่มีแนวความคิดแบบควบคุม) ซึ่งเป็นฝ่ายในกองทัพบกที่มีแนวคิดขัดแย้งอย่างรุนแรงกับกลุ่มโคะโดะฮะ ("วิถีจักรวรรดิ")[12]ทั้งกลุ่ม โทะเซะฮะ และ โคะโดะฮะ ในกองทัพมีความเข้มแข็งทางทหารแบบฟาสซิสต์ซึ่งนิยมใช้นโยบายการขยายอำนาจในการทำสงครามรุกรานดินแดนและมีความเป็นเผด็จการภายใต้ระบอบจักรพรรดิญี่ปุ่น แต่ทั้งสองกลุ่มมีความต่างกันในแนวความคิดและวิธีการในการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้[12] โดยที่กลุ่มโคะโดะฮะต้องการทำรัฐประหารเพื่อที่จะบรรลุแผนการฟื้นฟูโชวะ; ซึ่งเน้นย้ำ "จิตวิญญาณ" ในฐานะที่เป็นหลักการที่ชนะสงคราม มีแนวความคิดสนับสนุนการเปลี่ยนระบบอย่างรุนแรงและยืนกรานให้ญี่ปุ่นรุกรานสหภาพโซเวียต[12]

ขณะที่กลุ่มโทะเซะฮะยินดีที่จะใช้การลอบสังหารเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและยังคงเต็มใจที่จะทำงานในระบบแบบเดิมเพื่อให้เกิดการปฏิรูปมากขึ้น; อีกทั้งยังต้องการสร้าง "ความมั่นคงของชาติ" เพื่อระดมพลทั้งชาติก่อนทำสงคราม แม้ว่ากลุ่มโทะเซะฮะจะไม่ปฏิเสธแนวความคิดแบบ "จิตวิญญาณ" ในฐานะที่เป็นปัจจัยที่ชนะสงครามก็เห็นว่าการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ทางทหารเป็นปัจจัยที่ได้รับชัยชนะและมองว่าสหรัฐอเมริกาเป็นศัตรูในอนาคตเช่นเดียวกับสหภาพโซเวียต[12]

ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 1936 กลุ่มทหารโคะโดะฮะได้พยายามทำการก่อรัฐประหารขึ้น โทโจและชิเกะรุ ฮอนโจ ได้ให้การสนับสนุนการกระทำของซะดะโอะ อะระกิ ทั้งสองไม่เห็นด้วยกับการก่อกบฏของกลุ่มโคะโดะฮะที่เป็นคู่แข่งทางการเมือง[13] เมื่อความไปถึงสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ พระองค์เองทรงพิโรธอย่างยิ่งในการที่กลุ่มกบฏโจมตีที่ปรึกษาที่ใกล้ชิดพระองค์และหลังจากเกิดวิกฤติทางการเมืองสั้นๆ ทรงถ่วงเวลาให้ทหารที่เห็นอกเห็นใจพวกกบฏถูกบังคับให้ยอมจำนน โทโจในฐานะที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วย เค็นเปไต เขาสั่งให้จับกุมเจ้าหน้าที่ทั้งหมดในกองทัพคันโตที่สงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องหรือสนับสนุนการรัฐประหารในกรุงโตเกียว[14] หลังจากนั้นกลุ่มโทะเซะฮะได้ทำการกวาดล้างผู้เห็นต่างทางการเมืองในกองทัพและผู้นำการก่อรัฐประหารถูกดำเนินคดีตัดสินประหารชีวิต หลังจากการกวาดล้างทางการเมืองกลุ่มโคะโดะได้ถูกยุบรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวในด้านการเมืองแบบชาตินิยมภายใต้การนำของกลุ่มทหารโทะเซะฮะ โดยมีโทโจเป็นผู้นำ

หลังจากการกวาดล้างกลุ่มโคะโดะฮะ โทโจได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองทัพคันโตในปี ค.ศ.1937[15] ขณะเดียวกันญี่ปุ่นได้ยกสถานะดินแดนยึดครองแมนจูเรียของตนเป็นประเทศอิสระชื่อว่า "ประเทศแมนจู" (แมนจูกัว) แต่ในความเป็นจริงเป็นอาณานิคมหุ่นเชิดของญี่ปุ่นในทุกด้านและหน้าที่ของกองทัพคันโตนั้นเป็นเรื่องทางการเมืองมากเท่ากับด้านการทหาร[16]

การบริหารประเทศในภาวะสงคราม

ฮิเดกิ โทโจขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น ลงปกนิตยสารชาชิน ชูโฮ (2 ธันวาคม ค.ศ. 1942) ครบรอบปีแรกของสงครามมหาเอเชียบูรพา

ฮิเดกิ โทโจ เป็นนายทหารอาชีพที่มีเกียรติประวัติดีเด่น เป็นคนดีซื่อสัตย์และมีคุณสมบัติครบถ้วนของความเป็นสุภาพบุรุษตามมาตรฐาน ของซามูไร เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงทหารบกในรัฐบาลของเจ้าชายโคโนเอะ เมื่อที่ประชุมร่วมกับสมเด็จพระจักรพรรดิของรัฐบาลโน้มเอียงไปในทางการทำสงคราม เจ้าชายฟูมิมาโระ โคโนเอะได้กราบถวายบังคมลาออกจากนายกรัฐมนตรี และ โทโจ ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นสืบต่อมา อันเป็นการเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยการถล่มเพิร์ลฮาเบอร์ พร้อม ๆ บุกเข้าสู่อินโดจีน สยาม มลายู ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ในเวลาต่อ ๆ มา ด้วยชัยชนะติดต่อกันมาระยะหนึ่ง ก่อนจะเริ่มพ่ายแพ้และกลายเป็นฝ่ายรับหลังยุทธนาวีที่มิดเวย์ ในช่วงแรกๆจะมีขบวนการสันติภาพที่ก่อตั้งขึ้นโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ข้าราชสำนัก และแม้กระทั่งเชื้อพระวงศ์บางองค์ ให้ปลดโทโจออกตามคำเรียกร้องของฝ่ายที่ต้องการจะหยุดยั้งสงครามไว้ แต่สมเด็จพระจักรพรรดิก็ไม่ทรงยอดปลดโทโจออกตามคำเรียกร้อง เพราะในระหว่างสงครามยังไงเสียญี่ปุ่นก็ต้องอาศัยโทโจดำเนินการรบ แต่เมื่อชัดเจนว่าญี่ปุ่นกำลังเพลี่ยงพล้ำในสงครามหลังจากยุทธการโอะกินะวะ อันเป็นผลจากการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิ[17] และการประกาศสงครามต่อญี่ปุ่นของสหภาพโซเวียต เมื่อสหรัฐอเมริกาประกาศให้ญี่ปุ่นยอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไข โทโจ จึงลาออกและสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตทรงประกาศยุติสงครามด้วยการยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยหวังว่าทางสหรัฐอเมริกาจะใจกว้างกว่าสหภาพโซเวียต ช่วง 1 วันก่อนจักรพรรดิฮิโรฮิโตทรงประกาศยอมแพ้สงครามอย่างไม่มีเงื่อนไข มีความพยายามจากนายทหารฝ่ายขวาจัดบางกลุ่มพยายามก่อการรัฐประหาร เพื่อให้กองทัพสู้ตายและไม่ยอมแพ้แต่ศัตรู ทหารกบฏบางส่วนก็ฆ่าตัวตายหนีความผิดแต่ไม่ประสบความสำเร็จ หลังจากจักรพรรดิทรงประกาศยอมแพ้ในวันที่ 15 สิงหาคมแล้ว [18]

ชีวิตส่วนตัว

ในปี ค.ศ. 1909 เขาได้สมรสกับคัตสุโกะ อิโตะ มีบุตร 3 คน และธิดา 4 คน

ในระหว่างบริหารประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลานานในช่วงสงคราม เขาเป็นตัวอย่างของนายทหารที่จงรักภักดีต่อสมเด็จพระจักรพรรดิอย่างยิ่งยวด มีหลักฐานหลายครั้งว่าเขาดำเนินนโยบายด้วยความเคารพในแนวทางที่สมเด็จพระจักรพรรดิมีพระประสงค์แม้จะมีเหตุผลด้านอื่นที่ดีกว่า หลังสงครามเขาถูกจับกุมตัวนำขึ้นพิจารณาคดีในศาลอาชญากรสงคราม ในวันที่ถูกจับเขาพยายามยิงตัวตาย แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ คำให้การของเขาต่อศาลอาชญากรสงครามนั้นยืนยันความรับผิดชอบแต่ผู้เดียวในการ ก่อสงคราม รวมไปถึงคำให้การที่ชี้ว่า สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะมิได้ทรงเกี่ยวข้องกับการเริ่มสงคราม

วาระสุดท้าย

ฮิเดกิ โทโจ พยายามกระทำอัตวินิบาตกรรม แต่ไม่สำเร็จ

ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง ฮิเดะกิ โทโจได้ถูกตัดสินลงโทษประหารชีวิตในข้อหาอาชญากรรมสงคราม ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2491 ตามคำพิพากษาของศาลอาชญากรสงครามของฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่ง เถ้ากระดูกของโทโจ อยู่ที่ศาลเจ้ายาซูกูนิ[19]ภายหลังได้มีการสำรวจทรัพย์สินที่ทางสัมพันธมิตรอายัดไว้ และพบว่าไม่มีทรัพย์สมบัติอะไรเหลืออยู่เลยนอกจากบ้านเก่า ๆ หนึ่งหลัง ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตัดสินใจส่งคืนให้กับภรรยาหม้ายของโทโจไป [20][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฮิเดกิ_โทโจ http://changturtle.blogspot.com/2009/12/blog-post_... http://www.brainyquote.com/quotes/authors/h/hideki... http://www.siamintelligence.com/letters-from-iwo-j... http://www.thaifreenews.com/?name=politics&file=re... http://ww2db.com/person_bio.php?person_id=G65 http://www.ashland.edu/~jmoser1/343syl.htm http://www.international.ucla.edu/eas/documents/19... http://www.worldcat.org/identities/lccn-n50-13862 http://www.spartacus.schoolnet.co.uk/2WWtojo.htm https://study.com