ผลกระทบ ของ เขื่อนคิรีธาร

เนื่องจากตัวโครงการนั้นมีการก่อสร้างครอบคลุมไปยังที่ดินกรรมสิทธิ์ของเอกชนและราษฎรในพื้นที่ สำนักงานพลังงานแห่งชาติและจังหวัดจันทบุรีจึงได้ดำเนินการจ่ายค่าทดแทนให้กับราษฎรที่มีสิทธิได้รับการชดเชยเป็นเงินจำนวน 33.25 ล้านบาท โดยที่ทางราชการไม่ต้องจัดหาที่ทำกินใหม่ให้เพื่อชดเชย[3]

ในขณะที่ผลการศึกษาคุณภาพแหล่งน้ำหลังจากการก่อสร้างเขื่อนคิรีธารในปี พ.ศ. 2540 พบว่าคุณภาพน้ำหลังจากผ่านกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าแล้วนั้นมีคุณภาพที่ไม่แตกต่างจากก่อนผ่านกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งหากเปรียบเทียบกับมาตรฐานแล้วนั้นน้ำที่ผ่านกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้ามาแล้วยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ยังมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้งานในการอุปโภคบริโภค การใช้งานในภาคการเกษตร และการประมง[13]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เขื่อนคิรีธาร //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8265 http://e-lib.dede.go.th/mm-data/Bib10501.pdf http://e-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15165%E0%B9%82%... http://www.efe.or.th/datacenter/banner/banner13655... https://www.ceediz.com/th/travel/chanthaburi/sp/a/... https://news.ch7.com/detail/618760 https://www.thaipost.net/main/detail/15616