ประเด็นที่ยังไม่มีข้อยุติ ของ เคซีน

โรคออทิซึม

แม้ว่าจะมีการใช้วิธีรักษาทางเลือกในระดับสูงสำหรับเด็กที่เป็นโรคออทิซึม เช่นการทานอาหารที่เว้นจากกลูเทน[30]และเคซีน แต่ว่า จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 2008 ก็ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงประสิทธิภาพของการทานอาหารเช่นนี้กับโรค[31]

เคซีน A1/A2 beta ในนม

เคซีน A1 beta และ A2 beta เป็นโปรตีนที่เกิดจากความแตกต่างกันทางกรรมพันธุ์ของสัตว์ที่ให้นม โดยมีความต่างกันโดยกรดอะมิโนตัวหนึ่งคือ มี proline ที่ตำแหน่ง 67 ของลูกโซ่กรดอะมิโนที่เป็นส่วนประกอบของเคซีน A2 betaในขณะที่มี histidine ที่ตำแหน่งเดียวกันในเคซีน A1 beta[32][33] เคซีน A1 และ A2 มีปฏิสัมพันธ์กับเอนไซม์ในระบบย่อยอาหารที่ไม่เหมือนกัน จึงให้กรดอะมิโนที่เป็นผลต่างกัน คือ เกิดเพปไทด์ประกอบด้วยกรดอะมิโน 7 ตัว คือ beta-casomorphin-7 (BCM-7) จากการย่อยเคซีน A1-beta[32]ซึ่งก็เป็นประเภทที่พบมากที่สุดในนมวัวในยุโรป (นอกจากประเทศฝรั่งเศส) สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์[34]

ความสนใจในเรื่องความแตกต่างกันของเคซีน A1 และ A2 เริ่มขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1990 เนื่องจากงานวิจัยทางวิทยาการระบาดคือ นักวิทยาศาสตร์ในประเทศนิวซีแลนด์ที่ทำงานศึกษาในสัตว์พบสหสัมพันธ์ระหว่างนมที่มีเคซีน A1 กับโรคเรื้อรังหลายอย่าง[32] ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่งจากกลุ่มสื่อ นักวิทยาศาสตร์บางพวก และนักลงทุน[32] ในต้นทศวรรษที่ 2000 บริษัท A2 ก็ได้เกิดการก่อตั้งขึ้นในนิวซีแลนด์เพื่อที่จะขายวิธีการทดสอบนม A2 และดำเนินการทางการตลาด โดยวางตลาดเป็นนมที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าเนื่องจากไม่เกิดการย่อยเป็นเพปไทด์เช่นเดียวกับนม A1[32] บริษัทมีการดำเนินงานจนกระทั่งถึงกับเรียกร้ององค์กรมาตรฐานอาหารของประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (Food Standards Australia New Zealand) ให้ออกกฎบังคับให้แสดงคำเตือนทางสุขภาพสำหรับนมปกติ[32]

โดยเป็นการตอบสนองต่อทั้งความสนใจของประชาชน ทั้งการวางตลาดของนม A2 และทั้งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีการเผยแพร่แล้วองค์กรความปลอดภัยอาหารของยุโรป (European Food Safety Authority) ได้ทำการปฏิทัศน์สิ่งตีพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์แล้วพิมพ์ผลงานปฏิทัศน์ในปี ค.ศ. 2009 ที่แสดงว่าไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างโรคเรื้อรังและการดื่มนม A1[34]นอกจากนั้นแล้ว ยังมีงานปฏิทัศน์ต่างหากอีกงานหนึ่งที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 2005 ที่ไม่พบความสัมพันธ์กันระหว่างการดื่มนม A1 หรือ A2 กับโรคเรื้อรัง[32] งานปฏิทัศน์ทั้งสองงานได้เน้นความอันตรายที่เกิดจากการสรุปค่าสหสัมพันธ์ที่พบในงานวิจัยทางวิทยาการระบาดโดยความเป็นเหตุและผล และจากการไม่พิจารณาหลักฐานทั้งหมด (คือพิจารณาแต่หลักฐานที่สนับสนุนสมมุติฐานที่เป็นประเด็น ดูความเอนเอียงเพื่อยืนยัน)[32][34]

ภูมิแพ้ต่อเคซีน

ดูเพิ่มเติมที่: ภูมิแพ้

มีจำนวนน้อยที่แพ้เคซีน

[35][36]

งานวิจัยในประเทศจีนเกี่ยวกับโรคมะเร็ง

ดูเพิ่มเติมที่: The China Study

งานวิจัยในประเทศจีนเป็นการศึกษาด้านสุขภาพของประชาชนจีนเป็นจำนวนมากที่ได้รับการสนับสนุนจากทั้งรัฐบาลจีนและทั้งรัฐบาลจีนท้องถิ่น[37]เป็นงานที่นักวิจัยคือ ดร. ที. คอลิน แคมป์เบลล์ สรุปว่า กลุ่มชนที่บริโภคโปรตีนจากเคซีนเกินกว่า 10% มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเพราะเคซีนทำการสนับสนุนเซลล์มะเร็งส่วน น.พ. นีล ดี. บาร์นาร์ด ผู้เป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับงานวิจัยที่ใช้การบริโภคอาหารในการรักษาโรค เน้นไปที่โทษของสารที่เป็นผลจากการบริโภคและการย่อยนม A1 โดยกล่าวว่า

โทษของนมไม่ใช่มีเพียงแค่เคซีน ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เกิดสารฝิ่นคือ[มอร์ฟีน] casomorphin เท่านั้น(แต่) "สารอาหาร" ที่พบในนม คือน้ำตาลเป็นจำนวนมาก (แล็กโทส) โปรตีนและไขมันสัตว์ มีผลให้ร่างกายผลิต[ฮอร์โมน] IGF-I[38]ซึ่งนั่นอาจจะเป็นเหตุที่นมมีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งบางประเภท[39]

ในปี ค.ศ. 2010 หนังสือเกี่ยวกับงานวิจัยในประเทศจีนของ ดร. แคมป์เบลล์ ได้รับคำวิจารณ์จากนักบล็อก ดีนีส มิงเกอร์[40]และเนื่องจากมีความสนใจในข้อความของเธอจากชนเป็นจำนวนมาก ในที่สุดมิงเกอร์ก็ได้รับคำตอบจาก ดร. แคมป์เบลล์เองโดยที่ ดร. แคมป์เบลล์ ในที่สุดก็สรุปเป็นข้อความว่า

ผมอยากจะสรุปโดยให้สังเกตคำแนะนำของนักวิทยาการระบาดมืออาชีพที่กล่าวไว้แล้วข้างบนผู้ได้ให้คำแนะนำว่า ในที่สุดแล้ว ดีนีสควรจะเผยแพร่ข้อมูลของเธอในวารสารที่มีการปฏิทัศน์โดยผู้เชี่ยวชาญในสาขา (เช่นในวารสารวิทยาศาสตร์)แต่เขาเอง (นักวิทยาการระบาด) รู้สึกมั่นใจในตอนนี้ว่า ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันจะไม่ได้รับการยอมรับ (โดยผู้ที่ทำการปฏิทัศน์) ผม (ก็)เห็นด้วย (ในเรื่องนี้)[41]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เคซีน http://www.dentistrytoday.com/hygiene/1164 http://books.google.com/books?id=9HQR0gmvyoMC&lpg=... http://books.google.com/books?id=HhUOI1-hhjYC&lpg=... http://books.google.com/books?id=WnL6RWTLOcQC&lpg=... http://books.google.com/books?id=mkJfbdTS--UC&lpg=... http://autism.HealingThresholds.com/ http://www.nature.com/ejcn/journal/v59/n5/full/160... http://www.nature.com/ejcn/journal/v60/n7/full/160... http://www.ncasein.com/industrial-casein.html http://rawfoodsos.com/2010/07/07/the-china-study-f...